ต้นไม้กับกล้วยไม้ ต้นไม้-กับ-กล้วยไม้

ความสัมพันธ์ของต้นไม้กับกล้วยไม้ คือมิตรภาพที่เกื้อกูลให้กัน

ต้นไม้กับกล้วยไม้ มีความสัมพันธ์ในรูปแบบของการอิงอาศัย หรือ ภาวะเกื้อกูลกัน กล้วยไม้นั้นเหมือนเพื่อนที่มาขอติดรถกลับบ้านด้วย เราก็ให้ขึ้นรถโดยไปส่งที่ป้ายรถเมล์ทางผ่าน เพื่อนไม่ต้องจ่ายค่าน้ำมัน ค่าเดินทาง แต่เราก็ไม่ได้เสียหายอะไรเพราะยังไงก็ต้องขับรถกลับบ้านอยู่แล้ว เป็นการเกื้อกูลเพื่อนไปในตัว แต่ตัวเพื่อนนั้นได้กำไรด้วยการประหยัดเงินไปเต็ม ๆ

กล้วยไม้กับต้นไม้เป็นภาวะอะไร

ความสัมพันธ์ระหว่างต้นไม้กับกล้วยไม้

กล้วยไม้จะยึดเกาะอยู่ที่ลำต้น หรือ กิ่งของต้นไม้ซึ่งได้รับความชื้น และ แร่ธาตุจากต้นไม้ โดยที่ต้นไม้ไม่ได้รับประโยชน์อะไร แต่กล้วยไม้ก็ไม่ได้ชอนไชรากเข้าไปทำอันตรายกับลำต้นของต้นไม้ ดังนั้นผู้ให้อาศัยก็ไม่เสียประโยชน์ เรียกได้ว่า กล้วยไม้กับต้นไม้ใหญ่ ภาวะ อิงอาศัย คงเป็นคำอธิบายง่าย ๆ ความสัมพันธ์ของกล้วยไม้กับต้นไม้ จึงเป็นแบบอิงอาศัยนั่นเอง

กาฝากกับต้นไม้ใหญ่ ภาวะ ปรสิต

กาฝากกับต้นไม้ใหญ่ ภาวะ ที่อธิบายความสัมพันธ์ ระหว่าง กาฝาก กับ ต้นไม้ใหญ่นั้น เรียกได้ว่าเหมือนกับภาวะปรสิต เนื่องจากแท้จริงแล้ว ต้นไม้ใหญ่ต้องเสียผลประโยชน์ ในการ ได้รับสารอาหารด้วยนั่นเอง

กล้วยไม้ กับ กาฝาก เกาะต้นไม้

กล้วยไม้ กับ กาฝาก นั้น มีที่อยู่อาศัยเหมือนกัน คือต้องเกาะต้นไม้ใหญ่ เป็นที่อิงอาศัย แต่กาฝากจะทำการชอนไชเพื่อรับสารอาหารจากต้นไม้ใหญ่ แตกต่างจาก กล้วยไม้ที่ไม่ได้ดึงสารอาหารใด ๆ จากต้นไม้ใหญ่

ต้นไม้กับกล้วยไม้

ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศ

  • ภาวะพึ่งพาอาศัย (Mutualism +,+)

    ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิต 2 ชนิดที่อยู่ร่วมกันเป็นระยะเวลานานจนไม่สามารถแยกออกจากกันได้ โดยที่ทั้งสองฝ่ายต่างได้ประโยชน์ซึ่งกันและกัน
  • ภาวะได้ประโยชน์ร่วมกัน (Protocooperation +,+)

    ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิต 2 ชนิด ที่อยู่ร่วมกันโดยที่ต่างฝ่ายต่างได้ประโยชน์ซึ่งกันและกัน แต่สามารถแยกออกจากกันได้
  • ภาวะอิงอาศัยหรือภาวะเกื้อกูล (Commensalism +,0)

    ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิต 2 ชนิดที่อยู่ร่วมกัน โดยที่ฝ่ายหนึ่งได้รับประโยชน์ ส่วนอีกฝ่ายไม่ได้และไม่เสียประโยชน์ใด ๆ ได้แก่ “ ต้นไม้ และ กล้วยไม้ ”
  • ภาวะปรสิต (Parasitism +,-)

    ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิต 2 ชนิดที่อยู่ร่วมกัน โดยที่จะมีฝ่ายหนึ่งเสียประโยชน์จากการเป็นผู้ให้อาศัย เรียกว่า โฮสต์ (Host) และจะมีอีกฝ่ายหนึ่งที่ได้ประโยชน์จากการไปอาศัยอยู่กับโฮสต์ เรียกฝ่ายที่ได้ประโยชน์ว่า ปรสิต (Parasite)
  • ภาวะล่าเหยื่อ (Predation +,-)

    ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิต 2 ชนิดที่อยู่ร่วมกัน โดยฝ่ายที่เป็นผู้ล่า (Predator) จะเป็นฝ่ายได้รับประโยชน์ ส่วนผู้ถูกล่าหรือเหยื่อ (Prey) จะเป็นฝ่ายเสียประโยชน์
  • ภาวะแก่งแย่ง (Competition -,- )

    ทั้งสองฝ่ายจำเป็นต้องใช้ทรัพยากรเดียวกันในการดำเนินชีวิต จึงมีความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตที่อยู่ร่วมกันแต่ต้องมาแก่งแย่งแข่งขันเพื่อให้ได้แหล่งทรัพยากรนั้นมาเป็นของตน

ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศเป็นเรื่องที่ศึกษาและทฤษฎีในวิทยาศาสตร์นิเวศ โดยสังเกตและศึกษาวิวัฒนาการและประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากรและส่วนประสมอื่น ๆ ในระบบนิเวศที่ส่งผลต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตทั้งหมดภายในระบบนั้น ๆ

ทำความรู้จักกับกล้วยไม้ให้มากยิ่งขึ้น คลิกอ่านเลย

กล้วยไม้เพื่อนรัก กาฝากเพื่อนร้าย

กาฝากกับกล้วยไม้ พืชทั้งสองชนิดต่างก็เป็นพืชที่อาศัยเกาะอยู่ตามต้นไม้ใหญ่เหมือนกัน แต่ต่างกันตรงที่กาฝากเป็นพืชเบียน มีความสัมพันธ์กับต้นไม้ใหญ่แบบสภาวะปรสิต เพราะกาฝากจะแทรกรากเข้าไปในต้นไม้ใหญ่เพื่อแย่งอาหาร ส่วนกล้วยไม้เป็นพืชอิงอาศัย กล้วยไม้เกาะต้นไม้ใหญ่ แบบสภาวะอิงอาศัย กล้วยไม้จะไม่แทรกรากเข้าไปในต้นไม้ใหญ่เพื่อแย่งอาหาร เพียงแต่แค่เกาะอาศัยอยู่เท่านั้น

ผู้ให้อาศัยในภาวะอิงอาศัยกับภาวะปรสิตแตกต่างกันหรือไม่ อย่างไร

  • ภาวะอิงอาศัย ( +, 0 )

    เป็นภาวะที่เจ้าบ้านหรือ Host ไม่ได้ประโยชน์อะไร แต่ผู้อิงอาศัยได้ประโยชน์ ซึ่งจะแตกต่างกันกับภาวะปรสิตที่ Host จะเสียผลประโยชน์
  • ภาวะปรสิต ( +, - )

    Host หรือเจ้าบ้านเป็นฝ่ายเสียประโยชน์ ส่วน ผู้ที่อาศัย ได้ประโยชน์เพียงฝ่ายเดียว

กล้วยไม้กับต้นไม้ใหญ่ ความสัมพันธ์ แบบการอิงอาศัยและเกื้อกูลกันโดยไม่ทำร้ายกัน ต้นไม้คือผู้มีบุญคุณต่อกล้วยไม้ แต่ก็ไม่ได้ทำให้การทำบุญนั้นเสียเวลาหรือเสียเงินแต่อย่างใด กล้วยไม้เองก็เพียงแต่ขอบคุณ โดยไม่ได้หักหลังหรือเสียอะไรไปให้ผู้มีบุญคุณ ซึ่งถือเป็นความสัมพันธ์ที่ดี

เรื่องราวอื่น ๆ ของกล้วยไม้ที่น่าสนใจ

Facebook
Twitter
LinkedIn