กล้วยไม้วันครู ความหมายแฝงของความพยายามและความอดทน

กล้วยไม้-วัน-ครู

กล้วยไม้วันครู เริ่มต้นขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2539 โดยเป็นสัญลักษณ์ของความเป็นครู ซึ่งตรงกับวันที่ 16 มกราคม ของทุกปี เด็ก ๆ ในโรงเรียนจะมีกิจกรรมการไหว้ครู ทั้งนี้ก็มีการไหว้ด้วยดอกไม้อื่น ๆ เช่นกัน ได้แก่ ดอกมะเขือ หญ้าแพรก ดอกเข็ม และข้าวตอก เป็นต้น

ความหมายของกล้วยไม้ในวันครู

กล้วยไม้วันครู มีจุดเริ่มต้นมาจากกล้วยไม้นั้นเป็นไม้ที่ออกดอกยาก กว่ากล้วยไม้แต่ละช่อจะผลิดอกออกผลอย่างสวยงาม ต้องใช้ความอดทนสูง ใช้เวลานานและต้องการดูแลเอาใจใส่ไม่น้อย และเป็นพืชที่อยู่ในที่สูง ทนต่อสภาพดินฟ้าอากาศ ไม่ร่วงโรยง่าย เหมือนกับชีวิตของคนเป็นครู ที่ต้องใช้ความอดทนกับนักเรียน แต่ก็ต้องใส่ใจทุกการกระทำ อบรมสั่งสอน ต้องเหนื่อยทั้งกายและใจ ความพยายามของครูเปรียบเสมือนกล้วยไม้ จึงทำให้ดอกกล้วยไม้คือตัวแทนของความเป็นครู จนกลายเป็นสัญลักษณ์ประจำวันครูที่เสียสละและลงแรงเพื่อประโยชน์ของเด็กซึ่งเป็นอนาคตของชาติ

กลอนดอกไม้วันครูจากศิลปินแห่งชาติ

กลอนดอกไม้วันครูของ หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ศิลปินแห่งชาติว่าไว้ดังนี้

” กล้วยไม้มีดอกช้า ฉันใด การศึกษาเป็นไป เช่นนั้น แต่ดอกออกคราวไร งามเด่น งานสั่งสอนปลูกปั้น เสร็จแล้วแสนงาม “

กิจกรรมวันไหว้ครู

วันไหว้ครูในประเทศไทยกำหนดให้มีการจัดกิจกรรมในวันพฤหัสบดีที่สองของเดือนมิถุนายนของทุกปี เป็นการรำลึกถึงพระคุณครูในโรงเรียนที่เราทุกคนเคยร่ำเรียนกันมา โดยมีสิ่งที่ต้องเตรียมในการไหว้ครู ดังนี้

  1. พานไหว้ครู มีกิจกรรมให้เด็กนักเรียนทำพานไหว้ครู โดยมีการประกวดแต่ละห้อง ด้วยการนำดอกไม้มาจัดแต่งใส่พาน โดยในพานไหว้ครูมีการกำหนดดอกไม้อันถือเป็นสัญลักษณ์สำคัญอยู่ 4 อย่าง ที่จะต้องใช้ประดับตกแต่งพานเพื่อบูชาครู คือ ดอกมะเขือ หญ้าแพรก ดอกเข็ม และข้าวตอก เป็นต้น และต้องมีธูปเทียนจัดวางไว้ในพานร่วมกับดอกไม้ด้วย
  2. บทสวดสรรเสริญครู

กล้วยไม้วันครูนั้นเป็นสัญลักษณ์ที่มีความหมายลึกซึ้ง กล้วยไม้นั้นยากกว่าจะออกดอกเปรียบเหมือนครูกว่านักเรียนจะเป็นคนดีในสังคมก็ต้องมีการอบรมสั่งสอนจนแรงกายอ่อนล้า กลอนจากศิลปินแห่งชาตินั้นได้เปรียบเทียบกล้วยไม้กับความเป็นครูอย่างไพเราะ ทั้งนี้ในปัจจุบันเด็กรุ่นใหม่ยุคเทคโนโลยีมักจะมีความคิดที่สร้างสรรค์มากขึ้น มีความกล้าหาญมากขึ้นในการลุกขึ้นสู้กับความไม่เป็นธรรม และการใช้ไอเดียขำขัน มีความหมายแฝง และแหวกแนวจากความเรียบง่ายเดิม ๆ บางทีจะใช้การสื่อสารโดยส่งผ่านการทำพานไหว้ครู ในประเทศไทยมักจะมีข่าวดัง ๆ ว่านักเรียนทำพานไหว้ครูที่เกี่ยวกับการเมือง การ์ตูน และอื่น ๆ บ่งบอกถึงความสร้างสรรค์แต่ผู้หลักผู้ใหญ่บางท่านอาจจะมองว่ามันคือการต่อต้าน อย่างไรก็ตามกล้วยไม้นั้นยังคงเหมือนความพยายามของครูแต่ละท่าน ไม่ว่าจะผ่านไปกี่ยุคขึ้นชื่อว่าครู ย่อมเป็นผู้มีพระคุณอยู่เสมอ

Facebook
Twitter
LinkedIn