การให้ปุ๋ยกล้วยไม้ การดูแล และสิ่งสำคัญที่ผู้ปลูกต้องศึกษา

การ-ให้-ปุ๋ย-กล้วยไม้

กล้วยไม้นับว่าเป็นพรรณพืชที่อยู่ในธรรมชาติ และหลาย ๆ สายพันธุ์ในปัจจุบันก็ยังสามารถพบได้เป็นจำนวนมากในแหล่งธรรมชาติ เช่น ป่าทั่วไป หรือเขตอุทยาน เป็นต้น ดังนั้นกล้วยไม้เหล่านั้นจึงจะมีวิธีการหาสารอาหารจากแหล่งธรรมชาติอื่น ๆ มาหล่อเลี้ยงตนเอง แต่สำหรับกล้วยไม้ที่มาจากฟาร์ม หรือเราทำการปลูกในภาชนะต่าง ๆ จะไม่สามารถทำอย่างนั้นได้ ดังนั้นผู้ที่ปลูกกล้วยไม้ไว้ประดับในสวน หรือบ้านจำเป็นที่ต้องดูแล และใส่ใจในเรื่องการให้ปุ๋ยกับกล้วยไม้เป็นพิเศษ

ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับ “ ปุ๋ย ” ที่เหมาะสมกับกล้วยไม้

ปุ๋ย ” นับว่าเป็นอาหารสำหรับพืชที่เราใช้เรียกแทนอาหารของพืช  ซึ่งมีแร่ธาตุหลายชนิดมีคุณค่าแก่การเติบโตของพืช ซึ่งกล้วยไม้ทั้งที่เจริญเติบโตในธรรมชาติ และที่ถูกเพาะพันธุ์ในฟาร์มต่าง ๆ ต่างต้องการปุ๋ย เพื่อนำมาหล่อเลี้ยงลำต้นของตัวเอง โดยปุ๋ยมีอยู่ 2 ชนิดหลัก ๆ ด้วยกันได้แก่

  • ปุ๋ยธรรมชาติ หรือ ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยที่ได้จากธรรมชาติ และจากสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ เช่น มูลหมู มูลวัว มูลไก่ มูลควาย และปุ๋ยที่เกิดจากใบไม้ หญ้า หรือผักหมัก เป็นต้น
  • ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ หรือ ปุ๋ยอนินทรีย์ ปุ๋ยที่ได้มาจากการนำแร่ธาตุอาหาร 3 ชนิดที่พืชต้องการมากที่สุดมาประกอบได้แก่ ไนโตรเจน (N) , ฟอสฟอรัส (P) และโพแทสเซียม (K) ซึ่งแร่ธาตุทั้ง 3 ชนิดนี้ ถือเป็นอาหารหลักที่ต้องใช้เป็นประจำ และใช้เป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ในปุ๋ยอนินทรีย์เหล่านี้ยังมีการนำแร่ธาตุรองชนิดอื่น ๆ มาใช้ร่วมด้วยเพื่อให้พืชพรรณได้รับสารอาหารที่เพียงพอ

รูปแบบ การให้ปุ๋ยกล้วยไม้ ก็มีปุ๋ยอยู่ 3 แบบ คือ 

  • ปุ๋ยเกร็ด ละลายน้ำ: ปุ๋ยเกร็ดกล้วยไม้เป็นรูปแบบของปุ๋ยที่เป็นเม็ดหรือผงที่สามารถละลายน้ำได้ เมื่อใช้งานจะใช้ช้อนตวงตามอัตราส่วนที่แนะนำแล้วผสมกับน้ำ เพื่อให้ธาตุอาหารละลายออกมาและพืชสามารถนำไปใช้ได้ง่าย ปุ๋ยเกร็ดส่วนมากจะมีข้อมูลอัตราการใช้งานที่ระบุบนบรรจุภัณฑ์หรือขวดที่บรรจุอยู่ แต่บางครั้งสำหรับกล้วยไม้อาจใช้ปุ๋ยเกร็ดเจือจางกว่าที่ระบุ เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่อาจเกิดจากคราบเกลือหรือสารอื่นที่อาจเป็นอันตรายต่อรากกล้วยไม้
  • ปุ๋ยเม็ด: ปุ๋ยเม็ดกล้วยไม้มีรูปแบบเป็นเม็ดสีเหลืองๆ โดยใช้วิธีการโรยที่โคนต้นกล้วยไม้ โดยใช้จำนวนไม่มากเกินไป (ประมาณ 5-6 เม็ดหรือเพียงหยิบมือเดียว) ปุ๋ยเม็ดจะละลายช้าๆเมื่อสัมผัสความชื้นหลังจากการรดน้ำ และจะปลดปล่อยธาตุอาหารออกมาให้เร็วๆน้อยๆ โดยปรกติเมื่อโรยปุ๋ยเม็ดครั้งเดียว จะอยู่ได้ 2-3 เดือนจนกว่าปุ๋ยเม็ดจะหมดสภาพคือเวลาบีบดู จะเป็นเปลือกเหลืองๆเพราะเนื้อปุ๋ยในเม็ดหมดแล้ว แต่เป็นทางเลือกที่ดีที่จะเสริมกับปุ๋ยเกร็ดหรือใช้ในการฉีดพ่นพืชด้วย เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีกว่า
  • ปุ๋ยน้ำ: ปุ๋ยน้ำเป็นปุ๋ยที่ออกแบบมาให้มีรูปแบบเป็นสารละลายที่เข้มข้น ซึ่งการใช้งานจะต้องตวงด้วยภาชนะที่มีปริมาตรตามที่กำหนด แล้วนำมาผสมกับน้ำก่อนฉีดพ่นกล้วยไม้ เช่น ปุ๋ยน้ำเข้มข้น 1 ลิตรต่อ น้ำ 200 ลิตร เป็นต้น ปุ๋ยน้ำสามารถใช้ได้หมดและไม่มีสารตกค้างในเครื่องปลูก

สำหรับปุ๋ยกล้วยไม้ สามารถเลือกใช้ตามความต้องการและเหมาะสมกับสภาพของกล้วยไม้ที่ปลูกได้ครับ แต่ควรระวังในการใช้ปุ๋ยที่เป็นปุ๋ยปลอมหรือปุ๋ยที่มีความเสี่ยงในเรื่องคุณภาพและความปลอดภัยต่อกล้วยไม้

กล้วยไม้แต่ละชนิดเหมาะกับปุ๋ยประเภทใดบ้าง

  • กล้วยไม้อากาศ (Epiphyte) การให้ปุ๋ยกล้วยไม้ประเภทนี้ควรเป็นปุ๋ยที่นำมาผสมน้ำเพื่อนำไปฉีดพ่น เนื่องจากกล้วยไม้อากาศจะไม่มีดินที่จะมาช่วยรักษาแร่ธาตุต่าง ๆ ซึ่งปุ๋ยจะมีทั้งสูตรที่เป็น ปุ๋ยอนินทรีย์ และปุ๋ยอินทรีย์  ซึ่งปุ๋ยบางสูตรจะมีการใส่สารเร่งโต เร่งดอกเข้าไปด้วย ซึ่งจะทำให้ต้นไม้ของเราโตได้เร็วขึ้น แต่ควรศึกษาข้อมูลของการใช้ผลิตภัณฑ์ให้ละเอียด
  • กล้วยไม้ดิน (Terrestrial) ปุ๋ยที่เหมาะสมกับกล้วยไม้ดินส่วนก็จะเป็นปุ๋ยชนิดเป็น ซึ่งจะมีทั้งปุ๋ยอินทรีย์ และปุ๋ยเคมี เนื่องจากกล้วยไม้ชนิดนี้จะมีดินเป็นตัวช่วยในการกักเก็บแร่ธาตุ ดังนั้นการให้ปุ๋ยชนิดเม็ดจึงค่อนข้างที่จะเหมาะสม

อย่างไรก็ตามปุ๋ยชนิดน้ำ หรือปุ๋ยที่ต้องนำมาผสมน้ำเพื่อฉีดพ่นกล้วยไม้ของคุณนั้น นอกจากจะสามารถนำไปฉีดให้กับกล้วยไม้อากาศแล้ว ยังสามารถนำมาฉีดพ่นให้กับกล้วยไม้ดินด้วย ดังนั้นการเลือกปุ๋ยให้กับกล้วยไม้ของคุณ จึงควรเลือกประเภทที่เหมาะสม และชนิดของปุ๋ยที่มีสารอาหาร หรือแร่ธาตุที่เหมาะสมกับชนิดกล้วยไม้ที่คุณปลูกอยู่จึงจะเป็นผลดีมากที่สุด

REF : https://www.orchidtropical.com/articleid05.php

Facebook
Twitter
LinkedIn