กล้วยไม้ลูกผสม (interspecific hybridization หรือ intergeneric hybridization)

กล้วยไม้ลูกผสม

กล้วยไม้ลูกผสม คือ กล้วยไม้ที่เกิดจากการสร้างชนิดกล้วยไม้ใหม่ ๆ ขึ้นมา ที่มีลักษณะต่างไปจากพ่อ และ แม่ เป็นการผสมข้ามอีกแบบหนึ่ง แต่วิธีการนี้ เป็นการผสมข้ามชนิด หรือ ข้ามสกุล (interspecific hybridization หรือ intergeneric hybridization) กล้วยไม้เป็นไม้ดอกที่มีความสามารถในการผสมข้ามสกุลได้มากที่สุด

ตัวอย่างของการผสมข้ามชนิด

  • Dendrobium formosum (เอื้องเงินหลวง) XDen. cruentum (เอื้องปากนกแก้ว) = Den. Dawn Maree 
  • Rhynchostylis gigantea var. alba (ช้างเผือก) XRhyn. coelestis (เขาแกะ)

ตัวอย่างของการผสมข้ามสกุล

  • Vanda XAscocentrum = Ascocenda
  • Cattleya XLaelia = Laeliocattleya

การเรียกชื่อ กล้วยไม้ลูกผสม กรณีผสมข้ามชนิด และ ผสมข้ามสกุล

กล้วยไม้ลูกผสม การเรียกชื่อในกรณีที่เป็นการผสมข้ามชนิด สามารถทำได้ง่าย เนื่องจากชื่อสกุลยังคงเหมือนเดิม โดยชื่อสกุลเขียนเป็นตัวเอน ตามด้วยชื่อลูกผสมที่ตั้งขึ้นมาใหม่ โดยชื่อลูกผสมที่ตั้งขึ้นมาใหม่ เขียนขึ้นต้นชื่อด้วยตัวพิมพ์ใหญ่ตามด้วยตัวพิมพ์เล็ก เช่น ลูกผสมที่ได้มาจาก Den. gouldii X Den. phalaenopsis มีชื่อว่า Den. Jacquelyn Thomas

ในกรณีของการผสมข้ามสกุล ถ้าเป็นการผสมระหว่าง 2 สกุล ชื่อสกุลใหม่ที่ได้ เป็นการนำชื่อสกุลของพ่อ และ แม่มาเชื่อมเข้าด้วยกัน เหมือนกับการทำคำสมาสของไทย เช่น

  • Arachnis XVanda ได้สกุลใหม่มีชื่อว่า Aranda
  • Phalaenopsis XDoritis ได้สกุลใหม่มีชื่อว่า Doritaenopsis

นอกจากนั้นแล้ว ในกล้วยไม้ยังมีการผสมข้ามสกุลได้มากกว่า 2 สกุลได้อีกด้วย และ ในกรณีที่มีการผสมข้ามมากกว่า 3 สกุลขึ้นไป สามารถที่จะตั้งชื่อสกุลขึ้นมาใหม่ได้ เช่น 

  • genus Kirchara ได้มาจากการผสมพันธุ์ของ Epidendrum X Sophonitis X Laelia X Cattleya
  • genus Mokara ได้มาจากการผสมพันธุ์ของ Arachnis X Ascocentrum X Vanda เป็นต้น

กล้วยไม้ลูกผสม กับ หลักการผสมพันธุ์กล้วยไม้

กล้วยไม้ลูกผสม โดยทั่วไปแล้ว ต้องมีการเลือกพ่อ และ แม่พันธุ์ก่อน ต้นที่ใช้เป็นพ่อ และ แม่พันธุ์ควรเป็นต้นที่มีลักษณะดี อย่างไรก็ตาม การใช้พ่อแม่พันธุ์ที่ดี ไม่ได้เป็นการประกันว่า ลูกที่ได้ต้องมีลักษณะดีทั้งหมด การคัดเลือกต้น นอกจากจะมีลักษณะที่ต้องการแล้วต้องมีการพิจารณาปัจจัยอื่น ๆ ควบคู่กันไปด้วย เพื่อให้การผสมพันธุ์ประสบความสำเร็จ ขั้นตอนในการผสมพันธุ์กล้วยไม้มีดังนี้

  1. ดอกที่จะใช้เป็นแม่พันธุ์ ควรมีอายุการบานอยู่ในช่วงที่เหมาะสม ดอกมีสีสันสดใส และ ตรวจดูว่าดอกพร้อมที่จะรับเกสรตัวผู้ หรือ ไม่ โดยดูจากแอ่งของเกสรตัวเมีย (stigma) ควรมีน้ำเมือกเหนียว ๆ อยู่ (stigmatic fluid) และ สังเกตดูด้วยว่ายังไม่มีเกสรตัวผู้เข้าไปปนเปื้อนอยู่
  2. เกสรตัวผู้ที่จะนำมาใช้ในการผสมพันธุ์ ไม่ควรแก่เกินไป สังเกตได้จากฝาปิดเกสรตัวผู้ ควรมีสีขาว สดใส ไม่เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล หรือ ดำ
  3. การถ่ายละอองเกสร ควรทำในตอนเช้า ช่วง 8:00 – 9:00 น. หรือ อาจทำได้ในช่วงที่อากาศไม่ร้อนจัด เพราะอากาศที่ร้อนจัด จะทำให้เกสรตัวผู้ และ เมียแห้งได้
  4. เมื่อสามารถเลือกดอกที่จะใช้เป็นพ่อ และ แม่พันธุ์ได้แล้ว และ ระยะเวลาเหมาะสมที่จะทำการถ่ายละอองเกสร ก็สามารถทำการถ่ายละอองเกสรได้ โดยใช้ไม้จิ้มฟันสะอาด เขี่ยฝาเปิดเกสรตัวผู้ ให้เกสรตัวผู้หลุดออกมา แล้วแตะเกสรตัวผู้ ไปวางบนเกสรตัวเมีย ในบางครั้ง ถ้าเกสรตัวผู้เขี่ยติดได้ยาก แนะนำให้เอาปลายไม้จิ้มฟันไปแตะที่แอ่งเกสรตัวเมียก่อน แล้วนำมาแตะที่เกสรตัวผู้ ทำให้เกสรตัวผู้ยึดติดกับปลายไม้จิ้มฟันได้ดีขึ้น ดอกกล้วยไม้บางชนิด ส่วนของปากเกะกะมาก ก็สามารถเด็ดส่วนของปากทิ้งได้ และ เป็นการบอกด้วยว่าดอกนี้มีการผสมเกสรแล้ว ในบางครั้งถ้าเกสรตัวผู้มีขนาดใหญ่มาก สามารถตัดแบ่งได้ โดยใช้มีดสะอาด และ ในกรณีที่เกสรตัวผู้มีขนาดเล็กมาก อาจใช้เกสรตัวผู้จากหลายดอกจากต้นเดียวกันมาใช้ได้
  5. ทำป้ายแขวนไว้ที่ก้านดอกย่อย โดยเขียนชื่อ แม่พันธุ์ X พ่อพันธุ์ วันที่เดือนปี ที่ทำการผสม

หลังจากการผสมเกสรไปได้ประมาณ 3 – 4 วัน สามารถตรวจสอบได้ว่า การผสมพันธุ์กล้วยไม้ทำได้สำเร็จ หรือ ไม่ โดยดูจากการขยายขนาดของเส้าเกสร ถ้าการผสมเกิดขึ้นได้ เส้าเกสรจะมีการขยายขนาด และ ต่อมาจะสังเกตเห็นว่าส่วนของรังไข่ (ก้านดอกย่อย หรือ pedicel) มีการเปลี่ยนสีจากขาวเป็นเขียว และ มีการขยายขนาดไปเรื่อย ๆ ในกล้วยไม้ โดยทั่วไปแล้ว การปฏิสนธิจะใช้เวลาค่อนข้างนาน เนื่องมาจากการงอกของละอองเกสรตัวผู้ใช้เวลานานมาก ในสกุล Vanda ระยะเวลาการงอกของละอองเกสรตัวผู้ใช้เวลาประมาณ 2 เดือน และ ใช้เวลาในการพัฒนาของฝักอีกประมาณ 7 – 10 เดือน ฝักถึงจะแก่ พร้อมที่จะเก็บเกี่ยวฝัก และ นำเมล็ดไปเพาะได้ กล้วยไม้บางชนิดเช่นเอื้องดินใบหมาก (Spathoglosttis) ใช้เวลาตั้งแต่การถ่ายละอองเกสรจนกระทั่งฝักแก่เพียง 30 – 45 วันเท่านั้น

กล้วยไม้ลูกผสม กับวิธีการเขียนชื่อ และ ตั้งชื่อกล้วยไม้ที่ถูกต้อง

กล้วยไม้ลูกผสม วิธีการเขียนและตั้งชื่อกล้วยไม้ที่ถูกต้อง มีดังนี้

  1. กล้วยไม้พันธุ์แท้

การเขียนชื่อเป็นไปตามระบบสากลคือใช้ สกุลตามด้วยชนิด อย่างที่ใช้ใน ICBN ถ้าหากสายพันธุ์ในธรรมชาติการเขียนก็จะเติมชื่อ สายพันธุ์เข้าไปเช่น Cymbidium lowianum var. concolor โดยแต่ละชื่อมีความหมายดังนี้ Cymbidium คือ ชื่อสกุล (generic name) lowianum คือชื่อชนิด (specific epithet) และ concolor คือชื่อสายพันธุ์ (varietal epithet) และถ้าในกรณีที่มีการคัดเลือกสายพันธุ์มาเป็นสายต้น ก็สามารถเขียนได้ดังนี้ Cymbidium lowianum var. concolor ‘Picardy’ โดยมีชื่อสายต้น (cultivar epithet) เพิ่มต่อท้ายอีกหนึ่งชื่อ การเขียนสายพันธุ์ที่เป็นสายพันธุ์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ สามารถเขียนโดยใช้ระบบเดียวกันกับการเขียนชื่อชนิด แต่ถ้าเป็นสายต้นนั้น การเขียนต้องขึ้นต้นด้วยตัวพิมพ์ใหญ่แล้วตามด้วยตัวพิมพ์เล็ก พร้อมกับการใส่เครื่องหมายจุลภาคกำกับด้วย

  1. กล้วยไม้ลูกผสมที่เกิดในธรรมชาติ

ในบางครั้งมีการพบลูกผสมที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ การเขียนชื่อให้เขียนเช่นเดียวกับการเขียนชื่อวิทยาศาสตร์ เพียงแต่ให้เติมเครื่องหมาย X ไว้หน้าชื่อชนิด เช่น Cymbidium Xballianum โดยมีความหมายของลำดับชื่อดังนี้ Cymbidium คือ ชื่อสกุล (generic name) Xballianum คือชื่อลูกผสมที่ได้มาจากการผสมข้ามของกล้วยไม้ในสกุล Cymbidium ในธรรมชาติ

ในขณะที่ถ้าการผสมข้ามในธรรมชาติเกิดจาก 2 สกุลผสมข้ามต้นกัน วิธีการเขียนจะเขียนให้เครื่องหมาย X อยู่ด้านหน้าชื่อสกุลที่เกิดใหม่ เช่น X Laeliocattleya leeana

  1. กล้วยไม้ลูกผสม

การเขียนชื่อกล้วยไม้ลูกผสมมีหลักการเขียนดังนี้ ชื่อแรกให้เป็นชื่อสกุล ตามด้วยชื่อลูกผสม (grex epithet) การเรียกชื่อลูกผสมโดยรวม จะเรียกว่า grex name เช่น Dendrobium Icy Pink โดยมีความหมายของลำดับชื่อดังนี้ Dendrobium คือ ชื่อสกุล และ Icy Pink คือชื่อลูกผสมที่ตั้งขึ้น (grex epithet) และในบางครั้งอาจมีชื่อสายต้นตามชื่อลูกผสมอีกก็ได้ เช่น Dendrobium Icy Pink ‘Sakura’ โดย ‘Sakura’ คือชื่อสายต้นของลูกผสมพันธุ์นี้

กล้วยไม้ลูกผสม ระบบการตั้งชื่อกล้วยไม้ การตั้งชื่อกล้วยไม้ มีหน่วยงานที่ทำหน้าที่รับผิดชอบการตั้งชื่อกล้วยไม้อยู่ หน่วยงานนั้นมีชื่อว่า International Orchid Commission ซึ่งได้แบ่งออกเป็น 3 หน่วยงานย่อย ทำหน้าที่ในการจำแนกพันธุ์กล้วยไม้ การตั้งชื่อกล้วยไม้ และ การขึ้นทะเบียนพันธุ์กล้วยไม้ ในการตั้งชื่อกล้วยไม้ โดยทั่วไปแล้วทำได้อยู่ 2 ระบบด้วยกันคือ

  1. ICBN (International Code of Botanical Nomenclature)

เป็นการตั้งชื่อกล้วยไม้ในระบบทางพฤกษศาสตร์ ที่ใช้กันเป็นระบบสากล มีชุดชื่อประกอบด้วย ชื่อสกุล (genus) ตามด้วยชื่อชนิด (species) โดยชื่อสกุลเขียนขึ้นต้นด้วยตัวพิมพ์ หรือ เขียนใหญ่ ตามด้วยชื่อชนิดเขียนด้วยตัวเล็กแล้วขีดเส้นใต้กำกับ หรือ พิมพ์โดยใช้ตัวเอน หรือ ที่รู้จักกันในชื่อวิทยาศาสตร์ (Latin name) เช่น Dendrobium lindleyi

  1. ICNCP (International Code of Nomenclature for Cultivated Plant)

เป็นการตั้งชื่อกล้วยไม้ที่มนุษย์ได้ทำการคัดเลือก หรือ ได้มาจากการผสมพันธุ์

Facebook
Twitter
LinkedIn