แนะนำ กล้วยไม้ต่างประเทศ ดอกสวย ทนร้อน

กล้วยไม้ต่างประเทศ

กล้วยไม้ต่างประเทศ กล้วยไม้มีชื่อเรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า “orchid” น่าแปลกที่ทั้งในภาษาไทย และ อังกฤษต่างก็มีความหมายใกล้เคียงกัน เราเรียกพืชชนิดนี้ว่ากล้วยไม้ เพราะมีลักษณะคล้ายกล้วย ได้แก่ เอื้องต่าง ๆ เช่น เอื้องผึ้ง หรือ เอื้องคำ ซึ่ง มีมากในแถบภาคเหนือของประเทศ ส่วนของกล้วยไม้บางตอนมีลักษณะคล้ายผลกล้วยเราเรียกว่า ลำลูกกล้วย คำว่า “orchid” นั้นมาจากภาษากรีก หมายความถึง ลักษณะโป่งเป็นกระเปาะคล้ายต่อม ชื่อนี้ก็คงจะได้มาจากการพิจารณาจากลำลูกกล้วยที่เป็นส่วนของกล้วยไม้บางชนิดเช่นเดียวกัน แต่ลักษณะพื้นฐานทางพฤกษศาสตร์ที่บรรยายลักษณะพืชในวงศ์กล้วยไม้ ได้ยึดถือรายละเอียดต่าง ๆ ของดอกเป็นหลักสำคัญ พันธุ์ไม้ที่ไม่มีลำลูกกล้วยอีกหลายชนิด จึงถูกจัดรวมเข้ามาอยู่ในขอบข่ายของพืชในวงศ์กล้วยไม้ด้วย

แนะนำ กล้วยไม้ต่างประเทศ สิงโตพัดแดง (Cirrhopetalum curtisii)

กล้วยไม้ต่างประเทศ สิงโตพัดแดง Cirrhopetalum curtisii (เซอ โร เพีท ทา ลั่ม เคอ ทิส ซิไอ) เป็นกล้วยไม้ที่ได้ถูกศึกษาจำแนก และ ตั้งชื่อโดย นายโจเซฟ ฮุกเคอร์ ตีพิมพ์ลงในวารสารทางพฤกษศาสตร์ ชื่อ โบทานิคั่ล แมกกาซีน ในปี พ.ศ. 2440 โดย อ้างอิงจากแบบต้นตัวอย่างที่เก็บได้จากทางภาคใต้ของประเทศไทย เขาได้ตังชื่อกล้วยไม้ชนิดนี้เพื่อเป็นเกียรติแก่ นาย ชาร์ล เคอทิส ซึ่งเป็นนักสะสมพันธุ์ไม้จากสวน แมสวิทช์ และ บุตร ซึ่งในช่วงปี พ.ศ. 2427 – 2446 นายชาร์ล เคอทิส ได้ทำงานเป็นผู้ดูแลสวนพฤกษศาสตร์ แห่งปีนัง และ เป็นคนเก็บกล้วยไม้ สิงโตชนิดนี้ ให้กับสวนพรรณไม้ วิชช์ เนสเซอรี่ นั่นเอง ลักษณะกล้วยไม้ สิงโตพัดแดง มีลำลูกกล้วยขนาดเล็ก รูปไข่ยอดแหลม ซึ่งเกิดระหว่างไหลช่วงระยะห่าง 0.5 – 1 ซ.ม.ขนาดลำลูกกล้วยมีขนาดโดยเฉลี่ย สูงประมาณ 1.5 ซ.ม. กว้างประมาณ 1.3 ซ.ม. มีใบเดี่ยวยาวรี กว้าง 2 – 3 ซ.ม. ใบยาวประมาณ 9 – 13 ซ.ม. ก้านดอกเล็กเรียวยาว 7 – 14 ซ.ม. ก้านดอกสีม่วงอมแดง เกิดจากตาดอกที่โคนลำลูกกล้วย มีดอกขนาดเล็ก สีตั้งแต่ม่วงแดงอ่อน ๆ ไปจนถึงสีเข้มจัด มีดอกในช่อจำนวน  12 ดอก หรือ อาจมากกว่านั้น ที่กลีบปากมีสีเหลืองสด ขาดของดอกแต่ละดอกมีกลีบกว้างประมาณ 1 – 1.5 ซ.ม. ในสายพันธุ์ ย่อย ลูเทสเซ็นส์ (var. lutescens) กลีบดอกจะมีสีเหลืองครีมอ่อนทั้งดอก และ มีกลีบปากสีเหลืองส้มเข้ม ดอกบานนาน ประมาณ 5 – 7 วัน ที่กลีบดอกล่างรูปพัด จะมี เมือกเหลวใส ๆ ลักษณะคล้ายไข่ขาว เคลือบอยู่ทั่วผิวหน้าของกลีบ การกระจายพันธุ์ของ สิงโตพัดแดงพบทางภาคใต้ ของไทย มาเลเซีย เกาะสุมาตรา และ เกาะบอร์เนียว ของประเทศอินโดนีเซีย โดยมาก เราจะพบ กล้วยไม้ สิงโตพัดแดง ชนิดนี้ ขึ้นอยู่ในป่าดิบชื้นระดับต่ำ ตามคาคบไม้

แนะนำ กล้วยไม้ต่างประเทศ เอื้องเข็มชมพูเวียดนาม

กล้วยไม้ต่างประเทศ Ascocentrum christensonianum Haager1993

กล้วยไม้พันธุ์แท้ ดอกสีชมพูหวาน ขนาดดอกประมาณ 1.5 ซ.ม. จากข้อมูลพบว่า กล้วยไม้ชนิดนี้ พบในประเทศเวียดนาม บริเวณป่าเบญจพรรณ ตามกิ่งต้นไม้ใหญ่ ที่ระดับความสูงจากน้ำทะเลประมาณ 700 เมตร เป็นกล้วยไม้เจริญทางยอด ลำต้นตั้งตรง จากที่นำมาปลูกเลี้ยงแล้ว พบว่าเป็นกล้วยไม้ที่แข็งแรง เจริญเติบโตได้ดี ในเขตร้อน และ เขตอบอุ่น สามารถปลูกกระถาง หรือ เกาะขอนไม้ก็ได้ ชอบแสงมาก ให้ดอกปีละครั้ง ช่วงเดือน กุมภาพันธ์ ถึงเมษายน ดอกสีหวาน หากปลูกจนต้นใหญ่สมบูรณ์ จะให้ดอกครั้งละหลายช่อ สวยงามมาก การปลูกเลี้ยง : พรางแสงประมาณ 50-60% เครื่องปลูกไม่อมน้ำ หรือ นิยมเกาะขอนไม้ รดน้ำ และ ให้ปุ๋ยปกติ เป็นหนึ่งในรายการกล้วยไม้น่าสะสมเป็นอย่างมาก

แนะนำ กล้วยไม้ต่างประเทศ กล้วยไม้นางระบำ

กล้วยไม้ต่างประเทศ มีชื่อเรียกเป็นทางการว่า ออนซีเดียม โกลเดียนา (Oncidium Goldiana) เป็นลูกผสมระหว่าง เฟล็กซูโอซัม (Oncidium flexuosum) กับสฟาซิลาตัม (Oncidium sphacelatum) เป็น “กล้วยไม้สกุลออนซิเดียม” มีถิ่นกำเนิดในอเมริกา มีรูปทรงของต้นทั้งที่เป็นแบบมีลำลูกกล้วย และไม่มีลำลูกกล้วย ส่วนของลำต้นเล็ก ๆ สั้น ๆ และ มีกาบใบหุ้มจนมิด ส่วนของยอดลำต้นสั้น ๆ จะมีใบขนาดใหญ่มากติดอยู่ 1 – 3 ใบ บางชนิดใบมีขนาดใหญ่หนา บางชนิดก็มีใบกลมยาว มีจุดเด่น ตรงปลายปากมีขนาดใหญ่มาก เมื่อเทียบกับส่วนอื่น ๆ ของดอก และ ดอกส่วนมากจะมีสีเหลือง หรือ มีพื้นสีเหลืองลายสีน้ำตาล สีแดง สีขาว หรือ สีชมพู เส้าเกสรมีปีกยื่นออกไปทั้ง 2 ข้าง มีตุ่มที่โคนปาก พบในธรรมชาติหลายร้อยชนิด และ มีพวกลูกผสมอีกมากกว่า 1,000 ชนิด

กล้วยไม้ต่างประเทศ กล้วยไม้ เป็นอีกหนึ่งพรรณไม้ ที่คนจัดสวนชอบนำไปปลูกกันบ่อย ๆ เพราะเป็นดอกไม้ที่ให้ดอกนาน มีสีสันสวยงาม แถมบางชนิดยังมีกลิ่นหอมอ่อนๆ ด้วย กล้วยไม้ถูกจำแนกประเภทตามระบบราก แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ รากกึ่งดิน รากกึ่งอากาศ และ รากอากาศ เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวขนาดเล็ก ที่มีลำต้นเป็นข้อปล้องอวบน้ำ ดอกกล้วยไม้มีรูปทรง สีสัน และ กลิ่นหอมที่แตกต่างกันไป

Facebook
Twitter
LinkedIn