กล้วยไม้ดิน Spathoglottis

กล้วยไม้ดิน Spathoglottis

กล้วยไม้ดิน สปาโตกลอสติส เป็นกล้วยไม้ดินสกุลหนึ่งที่นิยมปลูกเลี้ยงกันอย่าง แพร่หลาย กล้วยไม้สกุลนี้มีจำนวนมากกว่า  40 ชนิด ( species ) ถิ่นกำเนิดอยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีการแพร่กระจายตั้งแต่ทางตอนเหนือของอินเดีย ศรีลังกา ทางตอนใต้ของจีน มาเลเซีย ไทย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย ปาปัวนิวกินี ออสเตรเลีย และ หมู่เกาะแปซิฟิก กล้วยไม้สกุลนี้มีความสำคัญในประเทศไทยและ เป็นที่รู้จักในวงการกล้วยไม้ทั่ว โลก กล้วยไม้สกุลนี้หลายชนิดมีถิ่นกำเนิดในประเทศไทย เช่นเหลืองพิสมร ( Spathoglottis lobii ) มีถิ่นกำเนิด และ กระจายพันธุ์ทางภาคเหนือ ภาคอีสาน ภาคตะวันออก ขาวพิสมร ( Spathoglottis pubescens ) มีถิ่นกำเนิดทาง ภาคอีสาน กล้วยไม้ดินใบหมาก ( Spathoglottis plicata ) มี ถิ่นกำเนิดทางภาคใต้

พันธุ์ และ ลักษณะประจำพันธุ์ กล้วยไม้ดิน

กล้วยไม้ดิน Spathoglottis plicata พันธุ์นี้พบมากทางภาคใต้ของประเทศไทย กลีบนอกทั้งสามกลีบดูคล้ายกัน และ กางทำมุมอย่างเป็นระเบียบกลีบดอกคู่ในกว้างกว่า กลีบคู่นอกเล็กน้อยโคนปาก แคบ หูปากทั้งสองข้างแบน และ โค้งขึ้นปลายแผ่นปากกว้างส่วนโคนปากมีเขี้ยวสั้น ๆ ข้างละอัน ด้านบน มีติ่งสีเหลืองสองติ่ง และ มีจุดเล็ก ๆ ขึ้นประปราย ที่เขี้ยวทั้งสองข้างมี ขนอ่อน ๆ กลีบดอกสีม่วง หูปากทั้งสองข้างมีสีม่วงเข้ม ปุ่มกลางแผ่นปากมี สีเหลือง เนื่องจาก พันธุ์นี้มีความหลากหลายของสีต่าง ๆ มากจึงได้ถูกแบ่งแยกออกเป็นสายพันธุ์ย่อย ต่าง ๆ หลายสายพันธุ์ ก็คือ

  • กลุ่มที่ดอกสีม่วงสด
      1. var. aureicallus ปุ่มกลางปากทั้งสองปุ่มมีสีม่วงสด หูปากทั้งสองข้าง สีม่วงเหลือบด้วยสีเหลือง
      2. var. moluccana เป็นพันธุ์ที่มีต้นใหญ่กว่าพันธุ์ธรรมดา ปุ่มที่ปากสีเหลืองเข้ม
  • กลุ่มที่มีดอกสีขาว
      1. var. penangwhite หรือเรียกว่าขาวปีนัง ดอกสีขาวบริสุทธิ์ หูปาก และ ปุ่มที่ปากทั้งสองข้าง มีสีเหลืองเข้ม
      2. var. alba ลักษณะดอกคล้ายกับพันธุ์ธรรมดา แต่ดอกมีสีขาว หูปากทั้งสองข้างสีเหลืองอ่อน ปุ่มที่โคนปาก สีเหลือง
      3. var. pallidissima แผ่นปากมีสีเหลืองเจือสีม่วงอ่อน ๆ จน เกือบมองไม่เห็น ปุ่มที่ปากสีเหลือง เข้ม หูปากทั้ง สองข้าง สีเหลืองจางมาก กลีบดอกกลีบในปลายเรียวแหลม
  • กลุ่มสีม่วงอ่อนหรือสีชมพู
    1. var. vieillardii เป็นพันธุ์ที่มีลำต้นใหญ่โตมาก ช่อดอกยาว กลีบดอกสีม่วงชมพูจาง ๆ หูปากทั้งสองข้างสีส้ม ปนน้ำตาล ปุ่มปากทั้งสองข้างสีเหลืองสดมีประจุดเล็ก ๆ สีส้มเข้มแผ่นปากหักงอชัดเจน และ ปลายปากสีส้ม เข้มเท่ากลีบดอก
    2. var.purpureolobus ทรงต้นใหญ่โตเหมือนพันธุ์แรกแต่กลีบดอกสีม่วงเข้มกว่า หูปากสีม่วงเข้มปุ่มที่ปากสี เหลืองจาง ปลายแผ่นปากสีม่วง ชมพูเข้ม
    3. var. pallidilobus ทรงต้นพอ ๆ กับพันธุ์ธรรมดา กลีบนอกกว้างกว่ากลีบคู่ในหูปากทั้งสองข้าง มีสีม่วงชมพู มี แต้มสีเหลืองอ่อน ปุ่มที่ปากสีเหลืองจาง

๏ Spathoglottis lobii ( เหลืองพิสมร ) เป็นกล้วยไม้พื้นเมืองของไทยพบมากทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ ภาคตะวันออก ดอกมีสีเหลืองก้านช่อดอกยาวประมาณ 30 – 50 ซม. ปากมีสี เหลืองโคนปากมีสีเหลืองอมส้มดูเด่นชัด ทิ้งใบในฤดูแล้ง

๏ Spathoglosttis pubescens ( ขาวพิสมร ) พันธุ์นี้พบมากทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ดอกสีขาวกลีบคู่ในมีลักษณะใหญ่กว่ากลีบคู่นอก โคนปากมีปุ่มสีเหลืองเข้ม ปลายปากเว้าเล็กน้อย ทิ้งใบในช่วงฤดูแล้ง

๏ Spathoglottis kimballiana ( เหลืองฟิลิปปินส์ ) ดอกมีขนาดใหญ่สีเหลืองมีถิ่นกำเนิดในแถบบอร์เนียวก้านช่อดอกมีขนาดเล็ก ก้านช่อโค้ง ใบของหน่อที่แตกใหม่สีเขียว อมม่วง ใบแคบ และ ยาวหัวมีขนาดเล็ก

๏ Spathoglottis parsonii ดอกขนาดใหญ่ กลีบนอกสีเหลืออ่อน ปลายกลีบประสีม่วง กลีบคู่ในมีสีม่วงปลายกลีบมีแต้มสีขาวเป็นวง ปากสีม่วงโคนปากสีเหลือง เมื่อดอกตูมมีสีอมม่วง

๏ Spathoglottis vanoverberghii ดอกสีเหลืองมีถิ่นกำเนิดในฟิลิปปินส์ กลีบคู่ในกว้างกว่ากลีบคู่นอกมากดอกมีขนาดเล็ก มักทิ้งใบในฤดูแล้ง

ลักษณะนิสัยของ กล้วยไม้ดินสกุล Spathoglottis

ลักษณะนิสัยของ กล้วยไม้ดิน สกุล Spathoglottis

  1. สามารถเจริญเติบโตได้ดีในสภาพที่มีแสงตลอดวันไปจนถึงร่มแต่จะดีที่สุดเมื่อมีการพรางแสง 30 – 70%
  2. อุณหภูมิที่เหมาะสม อยู่ระหว่าง 25 – 25 องศาเซลเซียส ถ้าอุณหภูมิต่ำมากจะทิ้งใบ และ พักตัว
  3. ชอบวัสดุปลูกระบายน้ำได้ดี เก็บความชื้นได้พอสมควร มีธาตุอาหารอุดมสมบูรณ์
  4. ชอบที่โปร่งอากาศถ่ายเท และ ไม่มีลมโกรกมากนัก
  5. ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก และ ปุ๋ยละลายช้าเหมาะสมที่สุด การใช้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์มาก จะทำให้ใบไหม้ และ ลำต้นเน่าได้

การดูแลรักษา กล้วยไม้ดิน

กล้วยไม้ดิน การดูแลรักษามีดังนี้ 

การให้น้ำ ควรใช้น้ำสะอาด ระยะเวลาที่เหมาะสมในการให้น้ำก็คือเช้า และ เย็นก่อนพระอาทิตย์ตกดินทั้งนี้ ก็เพราะว่าจะทำให้ต้นกล้วยไม้แห้งก่อนมืด เพื่อลดปัญหาโรค ลำต้นเน่าได้ ควรใช้บัวรดน้ำที่มีฝอยละเอียด เพื่อป้องกันมิให้ใบเสียหาย ในช่วงฤดูร้อนควรฉีดพ่นน้ำที่พื้นโรงเรือน เพื่อเพิ่มความชื้น และ ช่วยลดอุณหภูมิในโรงเรือนสำหรับช่วงฤดูฝนให้สังเกตวัสดุปลูกว่า ยังมีความชื้นอยู่หรือไม่ ในช่วงฝนตกมากอาจไม่จำเป็น ต้องรดน้ำเลยก็ได้

การกำจัดวัชพืช สำหรับวัสดุปลูกที่ใช้ดินจะมีปัญหามาก กับเรื่องวัชพืชที่อาจติดมา กับปุ๋ยคอก กำจัดโดยใช้มือถอน การใช้แกลบดิบ เปลือกถั่ว หรือ มะพร้าวสับคลุมดิน จะช่วยลด ปัญหานี้ได้

การจัดวางกระถาง ในฤดูฝนความชื้นในอากาศสูง ควร ตั้งกระถางให้ห่างกันเป็นการลดการสะสมความชื้นป้องกันการเกิดโรคเน่าได้ กล้วยไม้ดิน ชอบความชื้นแต่ไม่แฉะ ควรทำชั้นวางโดยยกให้สูงจากพื้น 30 – 50 ซม. ชั้นวางอาจทำจากไม้ไผ่ตีเป็นซี่ ๆ หรือ ตะแกรงเหล็กก็ได้เพื่อให้อากาศถ่ายเทได้ดีบริเวณก้นกระถาง

การใส่ปุ๋ย

  • ไม่ควรใช้ปุ๋ยกับกล้วยไม้ที่แยกหน่อใหม่ ๆ หรือ เพิ่งออกจากขวด
  • การใช้ปุ๋ยเกร็ดละลาย น้ำฉีดพ่นควรใช้ในอัตราส่วนที่เจือจาง
  • การให้ปุ๋ยเม็ดละลายช้า สามารถกระทำได้หลังจากย้ายปลูกจนกล้วยไม้ตั้งตัวดีแล้ว
  • เมื่อต้นไม้สมบูรณ์พร้อมที่จะออกดอก สามารถใช้ปุ๋ยเม็ดละลายช้าสูตรเร่งดอก เช่น สูตร 13 – 26 – 7
  • ควรงดปุ๋ยวิทยาศาสตร์ชนิดเม็ดทุกชนิดเช่น ยูเรีย เพื่อป้องกันกล้วยไม้ดินเน่าที่โคนได้
  • การใส่ปุ๋ยอินทรีย์ ทุก ๆ 2 – 3 เดือน กระถางละ 1 – 2 ช้อนจะทำให้กล้วยไม้โตเร็ว

กล้วยไม้ดิน กล้วยไม้สกุลสปาโตกลอสติสนี้ปรกติเราเรียกว่า “กล้วยไม้ดิน” แต่ที่จริงแล้วเป็นเพียงสกุลหนึ่งของกล้วยไม้ดินเท่านั้น ยังมีกล้วยไม้ดิน สกุลอื่นอีกหลายชนิด สปาโตกลอสติส มีการเจริญเติบโตแบบ Sympodial มีลำลูกกล้วยป้อม และ มีข้อถี่ ๆ ลักษณะใบเป็นใบยาวปลายเรียวแหลมโค้ง นอกจากนี้ยังมีรอยจีบ ตามแนวความยาวของใบคล้ายต้นอ่อนของพวกปาล์ม ช่อดอกออกจากฐานของแกนใบก้านช่อยาว และ ผอมเรียวมีดอกออกเป็นกลุ่มที่ปลายช่อ กลีบดอก มีขนาดเท่า ๆ กัน ดอกบานผึ่งผายหูปากทั้งสองค่อนข้างแคบ และ โค้งขึ้นทั้งสองข้าง แผ่นปากจะแคบ และ มีเขี้ยวเล็ก ๆ ข้างละอัน และ ส่วนบน ของโคนปากมีปุ่มสองปุ่มอยู่คู่กัน บางชนิดที่ปุ่มจะมีขนปกคลุมที่ปลายแผ่นกลีบ ปากผายกว้างออก และ บางชนิด ปลายกลีบปากจะเว้า เส้าเกสรจะผอมด้านปลาย จะกว้าง และ โค้งลงเล็กน้อย เกสรตัวผู้มีสองชุด ชุดละ 4 เม็ด สปาโตกลอสติสเป็นกล้วยไม้ ที่สามารถออกดอกได้ตลอดทั้งปี พบว่าต้นที่มีความสมบูรณ์ และ แข็งแรง ในหนึ่งหัวสามารถ ออกดอกได้ 1-3 ก้านช่อดอกก้านช่อยาว เฉลี่ย 30 – 120 ซม. (ในชนิดพันธุ์ใหญ่) มีดอกประมาณ 30 ดอกขึ้นไป ต่อช่อดอกทยอยบานพร้อมกันเป็นชุด ๆ ตั้งแต่ 3 – 10 ดอก และ บานติดต่อกันได้นาน 3 – 6 เดือน แล้วแต่ชนิดพันธุ์

Facebook
Twitter
LinkedIn