เข็มแสด ascocentrum miniatum

เข็มแสด ascocentrum miniatum

เข็มแสด ascocentrum miniatum ชื่อวิทยาศาสตร์ Ascocentrum miniatum (Lindl.) Schltr. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Ascocentrum miniatum (Lindl.) Schltr. ex J.J. Sm., Gastrochilus miniatus (Lindl.) Kuntze, Saccolabium miniatum Lindl.) จัดอยู่ในวงศ์กล้วยไม้ (ORCHIDACEAE) เป็นกล้วยไม้สกุลเข็ม เป็นกล้วยไม้อีกชนิดหนึ่งที่ให้ ดอกสีจัดจ้าน และ ยังแทงดอกเก่งอีกด้วย ในกลุ่มกล้วยไม้เหล่าพันธุ์ส่วนตัวบอกได้เลยว่า ไม่มีกล้วยไม้อะไรที่ ให้ดอกเก่ง และ แทงช่อดอกเก่งไปมากกว่ากล้วยไม้สกุลเข็มอีกแล้ว อย่างเจ้า เอื้องเข็มแสด เป็นต้น เข็มแสดเป็นกล้วยไม้ทนร้อน มาก ๆ ตามชื่อ กล้วยไม้นี้มีดอกเป็นสีแสดแสบทรวงมาก สีของมัน พอตกกลางวันจะสะท้อนแสงแดดได้เจ็บแสบมากทีเดียว ด้วยรวงดอกที่ให้ดอกจนถี่ยิบ หากอยู่ไกล ๆ คุณจะเห็นสี ของเข็มแสด เด่นสะดุดตามาก่อนใครเลยก็ว่าได้

ลักษณะของ เอื้องเข็มแสด ascocentrum miniatum

ลักษณะของเอื้องเข็มแสด ascocentrum miniatum มีดังนี้

  • ต้นเอื้องเข็มแสด จัดเป็นกล้วยไม้อิงอาศัยที่อยู่ในสกุลเข็ม มีความสูงได้ประมาณ 10 – 20 เซนติเมตร ลำต้นเรียว รากเป็นแบบรากอากาศ มีเขตการกระจายพันธุ์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อินโดจีน มาเลเซีย อินโดนีเซีย และ ฟิลิปปินส์ ส่วนในประเทศไทยพบได้ทั่วทุกภาค ยกเว้นทางภาคตะวันออก โดยมักขึ้นตามป่าผลัดใบ ป่าดิบแล้ง และ ตามป่าเบญจพรรณ ทั้งในลักษณะภูมิประเทศที่ราบ และ ที่เป็นภูเขา จึงสามารถปลูกเลี้ยงได้ดีในทุกภาคของประเทศ
  • ใบเอื้องเข็มแสด ใบออกเรียงสลับในระนาบเดียวกัน และ ซ้อนกัน ลักษณะของใบเป็นรูปขอบขนาน ปลายใบตัดเป็นจักแหลม ด้านล่างเป็นสันเหลี่ยม ใบมีขนาดกว้างประมาณ 1 – 1.5 เซนติเมตร และ ยาวประมาณ 10 – 12 เซนติเมตร แผ่นใบหนาแข็งเป็นสีเขียวแก่ ใบพับเป็นร่อง และ อาจมีสีม่วงบ้างเล็กน้อยเมื่ออยู่ในสภาพอากาศแห้งแล้ง
  • ดอกเอื้องเข็มแสด ออกดอกเป็นช่อตั้งตามซอกใบ ยาวประมาณ 12 – 15 เซนติเมตร มีดอกประมาณ 20 – 50 ดอกต่อช่อ ช่อดอกมีลักษณะเป็นรูปทรงกระบอก กลีบดอกหนา กลีบเลี้ยง และ กลีบดอกเป็นมันสีส้ม หรือ สีเหลืองอมส้ม กลีบปากเป็นสีแสด ฝาปิดกลุ่มเรณูเป็นสีน้ำตาลเข้มเกือบดำ เมื่อดอกบานเต็มที่จะมีขนาดกว้างประมาณ 1.5 เซนติเมตร โดยจะออกดอกในช่วงประมาณเดือนกุมภาพันธ์ ถึงเดือนเมษายน

การปลูกเลี้ยง เอื้องเข็มแสด ascocentrum miniatum กรณีไม้ออกขวด

เข็มแสด ascocentrum miniatum เข็มแสด เป็นกล้วยไม้เลี้ยงง่ายมาก ๆ ขอแค่อย่าลืมรดน้ำยังไงก็รอด เนื่องจาก เข็มแสดเป็นกล้วยไม้ชอบแสงมาก ดังนั้น วิธีการเลี้ยง จึงต้องให้ เข็มแสด ได้ปริมาณแสงมาก ๆ จึงควรต้องจับผึ่งตากแดดทั้งวัน มีร่มรำไรเพียงนิด เดียวเท่านั้น มาดูวิธีปลูกเลี้ยง ดังต่อไปนี้

กรณีเป็นไม้ออกขวด

– หากเป็นกล้วยไม้ออกขวด ให้นำลูกไม้ผึ่งในตะกร้าก่อน หรือ จะทิ้งไว้ในตะกร้าจนโตเลยก็ได้ ไม่ต้องหนีบนิ้ว เลี้ยงง่าย มาก ๆ หากต้องการหนีบนิ้ว ก็ให้ผึ่งเข็มแสดในตะกร้า จนกว่าจะมีรากใหม่ เครื่องหนีบเป็นโฟมก็ได้ เพราะว่า เข็มแสด ไม่ชอบเครื่องปลูกแฉะ ชอบแห้ง ๆ และ แสงเยอะ ๆ ไม้นิ้วส่วนใหญ่ เลี้ยงไม่ถึงปี ไม่ก็ 1 ปี ก็มีดอกให้ชมแล้ว

การปลูกเลี้ยง เข็มแสด ascocentrum miniatum กรณีไม้ที่ได้มาเป็นต้นโตแล้ว

กรณีไม้ที่ได้ เข็มแสด ascocentrum miniatum มาเป็นต้นโตแล้ว

– ให้นำเข็มแสด ที่ท่านได้มา แช่ยากันราก่อนสัก 30 นาที แล้วค่อยนำไปปลูก การปลูกมีดังนี้

๏ กรณีติดขอนไม้ ให้นำ เข็มแสดมามัดกับขอนไม้ได้เลย ไม่ต้องหาอะไรมารองระหว่างขอนไม้กับ เข็มแสด ก็ได้ มัดให้แน่นที่สุดเท่าที่แน่นได้ เพราะถ้ามัดแน่นแล้วละก็ รากใหม่จะมาเร็วมาก หลังจากติดขอนแล้วให้ นำต้น เข็มแสด นี้ พักฟื้นในร่มรำไรเสียก่อน หลังจากรากเดินดีแล้วจึงค่อย ๆ ขยับออกแดด อย่าสุ่มสี่สุ่มห้า รากเดินปุ๊บ จับย้ายออกแดดเลย แบบนั้น เจ้าเอื้องแสดอาจตายได้ง่าย ๆ 

๏ กรณีปลูกลงกระเช้า ให้นำต้น เข็มแสด บรรจงวางลงกับกระถางที่หามาได้ ไม่ต้องหาอะไรเป็นเครื่องปลูก จับมัดดิบติด กระถางพลาสติก หรือ กระถางไม้ได้เลย รดน้ำเช้าเย็น ประมาณ 3 – 4 อาทิตย์ เข็มแสด จะแทงรางใหม่ รอให้แตกรากดี ก่อน แล้วค่อย ค่อย ๆ ย้าย ออกบริเวณที่มีแสงมาก หากกลัวว่า เข็มแสด จะแห้งไป ก็หาสเฟกนั่มมอส ไม่ก็มะพร้าว มาทับรากสักหน่อยก็ได้เช่นกัน

เข็มแสด ascocentrum miniatum เป็นกล้วยไม้ที่มีในบ้านเรา ด้วยลักษณะที่ทนร้อนแบบ พิเศษสุด ๆ มันจึงเป็นกล้วยไม้ที่สามารถเลี้ยงในบ้านเราได้ ทุกภูมิท้องถิ่น ไม่ว่าจะกิ่งอำเภอไหนสภาพแวดล้อมโหดร้ายเพียงใด เข็มแสด ก็ไม่สะทกสะท้าน ขอแค่มีคนคอยรดน้ำให้ทุกวัน ๆ เจ้าเข็มแสดก็จะผลิช่อดอกบานให้ชมกันทุกปี มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า พุ่มสุวรรณ เอื้องไข่เหลือง เอื้องมันปู เอื้องฮางคาง (เชียงใหม่) เอื้องฮ่องคำ (ลำปาง) เอื้องเหลืองพระฝาง (กรุงเทพฯ) เข็มเหลือง เข็มแสด สุขสำราญ เป็นต้น

Facebook
Twitter
LinkedIn