ทำความรู้จักกับ เอื้องกุหลาบแดง aerides crassifolia

เอื้องกุหลาบแดง aerides crassifolia

เอื้องกุหลาบแดง aerides crassifolia เมื่อเรามาลองเอ่ยถึงคำว่า กุหลาบแดง หลาย ๆ คนคงนึกโยงไปถึงกุหลาบสีแดงที่เป็นเครื่องหมายแห่งของวันความรักในวันวาเลนไทน์ ผิดแล้ว วันนี้เราจะมาเอ่ยถึงกล้วยไม้ชนิดหนึ่ง ที่ใช้ชื่อว่า กุหลาบแดง กัน Aerides crassifolia เป็นชื่อวิทยาศาสตร์สกุลกุหลาบของกล้วยไม้ชนิดนี้ เรารู้จักกันในนาม เอื้องกุหลาบแดง หรือ เรียกกันห้วน ๆ ว่า กุหลาบแดง กล้วยไม้ชนิดนี้เติบโต และ กระจายสายพันธุ์เกือบทุกภาคพื้นที่ของป่าในประเทศไทยเรา เอื้องกุหลาบแดง มักขึ้นตามคาคบไม้สูง แต่บางครั้งเราก็พบว่ามันชอบเติบโตบนกิ่งก้านต้นไม้ที่ต่ำเพียงมือเอื้อมถึงเช่นกัน ด้วยสีสันที่แดงจัดจ้านสมชื่อของมัน เอื้องกุหลาบแดง จึงเป็นกล้วยไม้สกุลกุหลาบอีกชนิดหนึ่งที่เป็นที่ชื่นชอบของนักนิยมกล้วยไม้มากมายทั้งในประเทศไทย และ ต่างประเทศ แต่ด้วยลักษณะทรงช่อที่ตีห่างไม่สมส่วนกับจำนวนดอกบนก้านช่อ เอื้องกุหลาบแดง จึงไม่เป็นที่นิยมในด้านการพัฒนาสายพันธุ์

ลักษณะพิเศษประจำสกุลของ เอื้องกุหลาบแดง aerides crassifolia

เอื้องกุหลาบแดง aerides crassifolia ลักษณะพิเศษประจำสกุลของ เอื้องกุหลาบแดง คือ มีเดือยดอกเรียวแหลม หรือ ปลายงอนออกมาทางด้านหน้าของดอก ลำต้นเตี้ยล่ำ ใบใหญ่สั้นหนาสีเขียวปนแดง สีแดงจะเข้มขึ้นในช่วงแห้งแล้ง ใบกว้างราว 1.5-2.0 เซนติเมตร ยาวราว 10-18 เซนติเมตร ผิวใบอาจย่นตามขวางของใบ ใบเรียงสลับระนาบเดียว ลำต้นเจริญทางปลายยอด ช่อดอกโค้งลงยาวใกล้เคียงกับใบ มีดอกช่อละ 10-20 ดอก ขนาดดอกกว้าง 2-3 เซนติเมตร กลีบดอกสีชมพู-ม่วงแดง ส่วนปากดอกสีเข้ม กลีบในบิดไปด้านหลัง ดอกมีกลิ่นหอม 

ฤดูออกดอก และ เขตกระจายพันธุ์ของ เอื้องกุหลาบแดง aerides crassifolia

เอื้องกุหลาบแดง aerides crassifolia บานช่วงเดือนเมษายน – พฤษภาคม ลักษณะเด่น คือกลีบดอกนอกคู่ล่างกว้าง ปากแบะยื่น เดือยดอกยาว เห็นชัดเจน ปลายเดือยงอนขึ้น และ ไม่อยู่ใต้ปลายปาก เอื้องกุหลาบแดง พบตามธรรมชาติ ในป่าแล้งภาคเหนือ ภาคอีสาน และ ภาคตะวันออกของไทย รวมทั้งจังหวัดนครนายก และ กาญจนบุรี นอกจากนี้ยังพบในประเทศ พม่า ลาว และ เวียดนาม

วิธีปลูกเลี้ยง เอื้องกุหลาบแดง aerides crassifolia

วิธีปลูกเลี้ยง เอื้องกุหลาบแดง aerides crassifolia

– เมื่อเราได้รับต้นของ เอื้องกุหลาบแดง มาแล้วเราสามารถปลูกลงในกระเช้าแขวน หรือ นำแปะติดขอนไม้ก็ได้ โดยจับลำของ เอื้องกุหลาบแดง แขวนไว้ในที่ร่มรำไรรดน้ำเช้า หรือ เย็นเพียงเวลาเดียว ในช่วงที่รากยังไม่แตกดีให้เรานำ บี 1 มาผสมกับน้ำในปริมาณที่เหมาะสม และ ฉีดพ่นสัปดาห์ละหนึ่งครั้ง เอื้องกุหลาบแดง จะแตกรากง่ายขึ้น

– เมื่อ เอื้องกุหลาบแดง เริ่มตั้งตัวได้ดีแล้ว จากมีรากพันรอบกระเช้า หรือ รากพันแน่นบนขอนไม้ที่เราปลูก ให้เราลองค่อย ๆ ขยับ เอื้องกุหลาบแดง ของเราออกมาให้ได้รับแสงบ้าง โดยให้ได้รับแสงในช่วงเช้าตรู่ราว ๆ 6 โมง – 9 โมง เช้า หรือ ให้ได้รับแสงเย็นช่วง 4 – 6 โมงเย็น เพื่อให้ เอื้องกุหลาบแดง ได้สังเคราะห์แสง และ กับเก็บอาหารได้มากขึ้นเพื่อใช้ในการผลิดอกครั้งต่อไป

– เอื้องกุหลาบแดง ที่ได้รับแสงเหมาะสมจะให้ดอกตรงฤดูกาลทุกปี หาก เอื้องกุหลาบแดง ของคุณไม่ยอมให้ดอกให้ลองพิจารณาว่าบริเวณที่เราแขวน เอื้องกุหลาบแดง ไว้นั้นได้รับแสงเพียงพอ หรือ ไม่

– การให้ปุ๋ย จะให้ปุ๋ยทุกสัปดาห์โดยใช้สูตรปุ๋ยเสมอ 21 – 21 – 21 เป็นหลัก หากหมั่นให้ปุ๋ยทุกสัปดาห์แล้ว เอื้องกุหลาบแดง จะแตกกอให้ใบ และ ดอกย้อยเป็นพวงสวยงามเลยทีเดียว

– การให้น้ำ เอื้องกุหลาบแดง เรามักให้เพียงเวลาเดียวคือช่วงเช้าตรู่ หรือ ช่วงเย็นจัด เท่านั้น ควรหลีกเลี่ยงรดน้ำช่วงเวลา หลัง 8 โมงเช้า เพราะน้ำที่รด จะไปขังอยู่ในกาบใบของกล้วยไม้เรา และ เมื่อเจอกับแดดร้อน ๆ ในบ้านเราเข้าไป น้ำที่ขังจะเริ่มอุ่น และ ทำให้ใบของ เอื้องกุหลาบแดง หรือ กล้วยไม้ที่เราเลี้ยงใบช้ำเหลือง และ เน่าเสียได้

เอื้องกุหลาบแดง aerides crassifolia เป็นกล้วยไม้สกุลกุหลาบที่มีดอกขนาดใหญ่กว่ากล้วยไม้กุหลาบชนิดอื่น ๆ ชาวยุโรปนิยมชมชอบ เอื้องกุหลาบแดง มากเป็นพิเศษ จนให้สมญานามว่า “ราชาแห่งสกุลกุหลาบ” แม้แต่ในกรุงเทพฯ ก็ยังปลูกได้ เจริญเติบโตดีมาก เอื้องกุหลาบแดง สามารถผสมข้ามสกุลกับกล้วยไม้สกุลแวนด้า และ สกุลช้างได้อีกด้วย

Facebook
Twitter
LinkedIn