ตารางสารเคมีป้องกันโรคกล้วยไม้
*คำเตือน การฉีดพ่น หรือ จับต้องสารเคมีจำเป็นต้องมีเครื่องมือป้องกันเสมอ
ลำดับ | ชื่อโรค | ชื่อสารกำจัดโรค |
1 | โรคเน่าดำ หรือ เน่าเข้าไส้ | แมนโคแซบ เช่น ไดเทนเอ็ม 45 , แมนเซท 2000 , มาเน็บ(Maneb)ซีเนบ (Zineb) หรือ สารประกอบทองแดงอื่น ๆ |
2 | โรคใบปื้นเหลือง | แมนโคแซบ เช่น ไดเทนเอ็ม 45 , แมนเซท 2000 , เอซิน-แมก เบนโนมิล เช่น เบนเลท , เบนโนมิล 50 , คาร์เบนดาซิม (Carbendazim) |
3 | โรคแอนแทรคโนส | โปรปิเน็บ เช่น แอนทราโซล คาร์เบนดาซิม (Carbendazim) เช่น เดอโรซาล , บา-วิสติน 60 wl , เบนโนมิล เช่น ฟัลคาโซล 50 เบนด้า (ชื่อการค้า) , มัยซิน (ชื่อการค้า) |
4 | โรคขี้กลาก หรือ โรคราชบุรี | เดลซีน เอ็มเอ็กซ์200 ( ชื่อการค้า) + ผสมสารจับใบ แมนโคเซบ ผสมคาร์เบนดาซิม เช่น เบนเลท 75 + ผสมไดเทน แอลเอฟ หรือ บาวิสติน เอฟแอล +ผสมไดแทนเอ็ม -45 |
5 | โรคเหี่ยว หรือ โรคเน่าแห้งที่เกิดจากเชื้อราผักกาด | แคปแทน เช่น ออร์โธไซด์ , แคปแทน 50 (สารป้องกัน) , คาร์บ๊อกซิน เช่น ไวตาแวกซ์ (สารกำจัด) |
6 | โรคดอกสนิม หรือ โรคดอกมีจุดสนิม | แมนโคแซบ เช่น ไดเทนเอ็ม 45 |
7 | โรคราดำ | เบนโนมิล เช่น เบนเลท , ฟัลคาโซล คาร์เบนดาซิม (Carbendazim) เช่น บาวิสติน 60 wl |
8 | โรคใบจุดดำ | เดลซีน เอ็มเอ็กซ์ 200 หรือ บาวิสติน เอฟแอล ผสม กับ เมนโคเซบ |
9 | โรคเน่าเละ | ยาปฏิชีวนะ เช่น แอกริมัยซิน , ไฟโตมัยซิน , แอลกริลเตรป ฟายแซน 20 แนตริฟีน |
ตารางสารเคมีป้องกันโรคกล้วยไม้ โรคเน่าดำ หรือ ยอดเน่า
ตารางสารเคมีป้องกันโรคกล้วยไม้ โรคเน่าดำ หรือ ยอดเน่า หรือ โรคเน่าเข้าไส้ สาเหตุเกิดจากเชื้อรา สามารถแพร่ระบาดได้ง่าย และ รวดเร็ว โดยเฉพาะช่วงฤดูฝน หรือ ช่วงที่มีความชื้นสูง
ลักษณะอาการ
ทำลายได้ทุกส่วนของกล้วยไม้ ส่วนราก รากจะเน่าแห้ง มีผลทำให้ใบเหลือง ร่วง และ ตายในที่สุด ส่วนยอด ทำให้ยอดเน่าเป็นสีน้ำตาล เมื่อจับจะหลุดติดมือได้ง่าย ขั้นรุนแรง เชื้อราจะเข้าไปในลำต้น ถ้าผ่าดูจะเห็นเป็นสีดำ หรือ น้ำตาลเข้มตามแนวยาวของต้น
การป้องกัน และ กำจัด
- ปรับสภาพเรือนกล้วยไม้ให้โปร่ง ไม่มีกล้วยไม้หนาแน่นเกินไป
- หากพบการแพร่ระบาดในระยะเป็นลูกกล้วยไม้ ให้แยกกระถางที่เป็นโรคออกไปเผาทำลาย ถ้ากล้วยไม้ที่โตแล้วควรตัดส่วนที่เป็นโรคออกจนถึงเนื้อดี แล้วใช้ยาฉีดพ่น
- ใช้ยาป้องกันกำจัดเชื้อราชนิดที่สามารถป้องกันเชื้อราโรคนี้โดยตรง เช่น ไดโพลาแทน , ริโดมิล , เทอราโซล
สำหรับการใช้ยาประเภทดูดซึมมีข้อควรระวัง คือ อย่าให้ติดต่อกันเป็นเวลานานเพราะจะทำให้เชื้อราดื้อยา ควรผสมกับยาชนิดอื่น เช่น แมนโคเซป หรือ ใช้ยาสูตรที่ผสมมาให้เรียบร้อยแล้ว เช่น ริไดมิล เอ็มแซด หรือ ใช้สลับกันระหว่างยาดูดซึมจะทำให้การป้องกันกำจัดได้ผลดียิ่งขึ้น เพราะสารเคมีแต่ละตัวมีประสิทธิภาพในการทำลายเชื้อราได้แตกต่างกัน
ตารางสารเคมีป้องกันโรคกล้วยไม้ โรคดอกสนิม หรือ จุดสนิม สาเหตุเกิดจากเชื้อรา
ตารางสารเคมีป้องกันโรคกล้วยไม้ โรคดอกสนิม หรือ จุดสนิม สาเหตุเกิดจากเชื้อรา ชาวสวนกล้วยไม้นิยมเรียกว่า ‘โรคราสนิม’ เป็นโรคที่รู้จักกันดีในชาวสวนกล้วยไม้ตัดดอกเพื่อส่งออก บางครั้งจะแสดงอาการระหว่างการขนส่ง เป็นมากกับกล้วยไม้สกุลหวาย โดยเฉพาะหวายมาดาม หวายขาว หวายชมพู และ หวายซีซาร์
ลักษณะอาการ
กลีบดอกกล้วยไม้ จุดขนาดกลมเล็กสีน้ำตาลเหลือง ถ้าขยายโตขึ้นจะเข้มเป็นสีสนิม ลักษณะดังกล่าวจะปรากฎชัดเจนบนดอกหวายมาดาม แต่อาการบนหวายขาวจะเป็นแผลสีน้ำตาล หวายมาดามจะเห็นเป็นแผลสีสนิมชัดเจน ระบาดติดต่อกันได้ดีทั่วทั้งสวนกล้วยไม้ และ บริเวณใกล้เคียง ช่วงฤดูฝนโดยเฉพาะถ้าฝนตกติดต่อกัน หรือ มีน้ำค้างลงจัด
การป้องกัน และ กำจัด
- หมั่นสำรวจ กล้วยไม้ที่ปลูกเลี้ยง และ บริเวณรอบ ๆ ให้สะอาดเป็นประจำ อย่าปล่อยให้ดอกกล้วยไม้บานโรยคาต้น จะเป็นแหล่งให้เชื้อราเข้าทำลายได้ง่าย เก็บดอกที่เป็นโรคนำไปเผาทำลาย เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งสะสมเชื้อโรค หลังจากนั้นจึงฉีดพ่นสารเคมี เช่น ไดเทนเอ็ม 45 , ไดเทนแอลเอฟ หรือ มาเน็กซ์ ฤดูฝนควรฉีดพ่นให้บ่อยขึ้น
ตารางสารเคมีป้องกันโรคกล้วยไม้ โรคแอนแทรกโนส สาเหตุเกิดจากเชื้อรา
ตารางสารเคมีป้องกันโรคกล้วยไม้ โรคแอนแทรกโนส สาเหตุเกิดจากเชื้อรา พบมากในกล้วยไม้สกุลออนซิเดี้ยม สกุลแคทลียา สกุลแวนด้า สกุลหวาย สกุลแมลงปอ ปอมปาดัวร์ และ ลูกผสมของกล้วยไม้สกุลต่าง ๆ ระบาดโดยการแพร่กระจายไปกับลม ฝน หรือ น้ำที่ใช้รด
ลักษณะอาการ
แผลวงกลมสีน้ำตาลอมแดง หรือ สีน้ำตาลไหม้เกิดขึ้นที่ใบ ขยายออกไปเป็นแผลใหญ่ ซึ่งจะเห็นเป็นวงกลมซ้อนกันหลายชั้น เนื้อเยื่อที่เป็นแผลลึกลงไปต่ำกว่าระดับผิวใบเล็กน้อย กล้วยไม้บางชนิดมีขอบแผลเป็นเนื้อเยื่อสีเหลืองล้อมรอบแผล เช่น ลักษณะแผลของพวกแมลงปอ ฯลฯ บางชนิดแผลมีขอบสีน้ำตาลเข้มกว่าภายใน และ ไม่มีขอบแผลสีเหลืองเลย เช่น แผลของกล้วยไม้ดินบางชนิด
หากปล่อยไว้เนื้อเยื่อของแผลจะแห้งบางผิดปกติ ขนาดของแผลแตกต่างกันแล้วแต่สภาพแวดล้อม บางแห่งมีเชื้อราอื่นมาปะปนภายหลังทำให้แผลขยายกว้างออกไปจนมีลักษณะที่เป็นแผลวงกลม กล้วยไม้ที่มีใบอวบอมน้ำมาก เช่น แคทลียา ลูกผสมแมลงปอ และ กล้วยไม้ดินบางชนิดใบ อาการเริ่มแรก คือ ถ้าฝนตกชุกใบจะเน่าเปื่อย แต่โดยปกติจะเป็นแผลแห้งติดอยู่กับต้น
การป้องกัน และ กำจัด
- ตัดใบที่เป็นโรคไปเผาทำลาย ไม่ให้แพร่เชื้อต่อ และ ฉีดยาป้องกันกำจัดเชื้อราทุก ๆ 7 ถึง15 วัน ต่อครั้ง ส่วนฤดูฝนต้องฉีดพ่นเร็วกว่ากำหนด เช่น 5 ถึง 7 วัน ต่อครั้ง เป็นต้น
ตารางสารเคมีป้องกันโรคกล้วยไม้ โรคกล้วยไม้ เป็นทั้งปัญหาที่สำคัญ และ ขั้นตอนที่สำคัญในการดูแลกล้วยไม้หลังการปลูก โรค และ แมลงศัตรูกล้วยไม้ มีหลายชนิด บางชนิดทำให้กล้วยไม้ตายภายในระยะเวลาอันรวดเร็ว เชื้อโรค และ แมลงศัตรูที่เข้าทำลายกล้วยไม้ส่วนใหญ่จะมีขนาดเล็กมาก มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น และ ขยายพันธุ์รวดเร็ว หากปล่อยทิ้งไว้ จะทำการป้องกัน และ กำจัดได้ยาก ทั้งยังสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายสูง