การตัดสินและรางวัลเกียรตินิยมของกล้วยไม้ เพื่อค้นหาความ “เหนือกว่า” ของกล้วยไม้แต่ละชนิด

การตัดสินและรางวัลเกียรตินิยมของกล้วยไม้

การตัดสินและรางวัลเกียรตินิยมของกล้วยไม้ การตัดสินให้คะแนนกล้วยไม้ ครั้งแรกของโลกได้เริ่มขึ้นเมื่อ ค.ศ.1859 (พ.ศ.2402) โดย สมาคมพฤกษชาติหลวงแห่งประเทศอังกฤษ Royal Horicutural Society (R.H.S) ในครั้งนั้น กล้วยไม้ที่ได้รับการตัดสินให้ได้ รับประกาศนียบัตรชั้น 1 (F.C.C.- First Class Certificated) ก็คือ แคทลียา โดมิเนียน่า Cattleya Dawminiana ซึ่งเป็นลูกผสมของ ระหว่าง แคทลียา อินเตอร์มีเดีย กับ แคทลียา แม็กซิมา (C. intermedia x C. maxima ) หลังจากครั้งนั้นได้มีอีกหลาย ๆ สมาคมในทวีปยุโรป ได้เจริญรอยตาม ทางด้านสหรัฐอเมริกานั้น ได้เริ่มให้มีการจัดประกวด และ ให้รางวัลกล้วยไม้ขึ้นเป็นครั้งแรกในเดือน กันยายน ค.ศ. 1849 แต่การตัดสินรางวัล ครั้งนั้นมิได้มีกฎเกณฑ์ที่แน่นอน ต่อมาอีก 83 ปี สมาคมกล้วยไม้อเมริกัน (AOS – American Orchid Society) จึงได้เริ่มจัดให้มีการให้รางวัลแก่กล้วยไม้ ที่นำมาจัดแสดงในงานของสมาคมที่ได้จัดขึ้นเป็นประจำ หลังจากนั้นต่อมาสมาคมได้ ตั้งคณะกรรมการขึ้นชุดหนึ่ง จากผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อทำหน้าที่ วางระเบียบกฎเกณฑ์ สำหรับใช้ตัดสินกล้วยไม้โดยเฉพาะ ซึ่งก็ได้มีการปรับปรุงแก้ไข ระเบียบวิธีการตัดสินอยู่เสมอมาจนปัจจุบัน การตัดสินให้คะแนนกล้วยไม้เป็นศิลปะอย่างหนึ่งมีจุดมุ่งหมาย ที่จะค้นหาความ “เหนือกว่า” ของกล้วยไม้แต่ละชนิดเป็นสำคัญ มิได้มุ่งหวังที่จะประเมินลักษณะรวม ๆ ว่ากล้วยไม้ชนิดนี้กว่าชนิดนั้น หรือ สวยงามกว่า ชนิดอื่น ๆ แต่ประการใด

กระบวนการ การตัดสินและรางวัลเกียรตินิยมของกล้วยไม้ โดยหลักใหญ่ มักจะพิจารณา ดังนี้

การตัดสินและรางวัลเกียรตินิยมของกล้วยไม้ กระบวนการตัดสินโดยหลักใหญ่ มักจะพิจารณา อยู่สามกระบวนการ ซึ่งมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันอยู่

  1. กระบวนการแรก เกี่ยวข้องกับ ความรู้พื้นฐานของกรรมการ ในด้าน มาตรฐาน และ ความดีเด่นที่อาจพบได้ ในกล้วยไม้ที่กำลังตัดสินให้คะแนน
  2. กระบวนการที่สอง คือการพิจารณา รายละเอียดต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับรายละเอียดของดอก รูปร่างดอก สีสัน เนื้อหา และ ความสัมพันธ์ของส่วน ต่าง ๆ ที่ประกอบขึ้นเป็นดอก ช่อดอก ทั้งองค์ประกอบในช่อเดียวกัน หรือ หลาย ๆ ช่อรวมกัน ในแต่ละต้น ซึ่งหมายรวมถึงความสมดุล ความสม่ำเสมอ และ ความตัดกัน อันจะทำให้เกิดความสวยงามขึ้น
  3. กระบวนการขั้นที่สาม ผู้ตัดสินจะพยายามเปรียบเทียบ ดอกกล้วยไม้ ที่อยู่ข้างหน้าตน กับดอกกล้วยไม้ชนิดเดียวกันนี้ที่เคยได้เห็น โดยเฉพาะที่เคยได้รับการตัดสินมาแล้ว และ วัดดูคุณภาพ เพื่อประกอบการให้คะแนน 

เกณฑ์มาตรฐาน ประกาศนียบัตรหลักใหญ่ ๆ การตัดสินและรางวัลเกียรตินิยมของกล้วยไม้

การตัดสินและรางวัลเกียรตินิยมของกล้วยไม้ แน่นอนว่าการจะประกวดกล้วยไม้นั้น ก็จะต้องมีองค์กรหรือสมาคมกล้วยไม้ที่เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปในระดับสากล เป็นผู้รับรองหรือร่วมกับหน่วยงานอื่น ๆ ในการประกวดกล้วยไม้นั้น ๆ โดยทั่วไปการให้คะแนนของสมาคมกล้วยไม้ต่าง ๆ ทั่วโลกรวมทั้งในประเทศไทยมักใช้เกณฑ์การตัดสินโดย แบ่งเป็นเกณฑ์มาตรฐานประกาศนียบัตรหลักใหญ่ ๆ ดังนี้

  • FCC ย่อมาจาก First Class Certificate ลำดับคะแนน ตั้งแต่ 90 คะแนน ขึ้นไป
  • AM ย่อมาจาก Award of Merit ลำดับคะแนน ตั้งแต่ 80 คะแนน ขึ้นไป
  • HCC ย่อมาจาก High Commendation Certificate ลำดับคะแนน ตั้งแต่ ๗๕ คะแนน ขึ้นไป
  • CBM ย่อมาจาก Certificated of Botanical Merit ลำดับคะแนน ตั้งแต่ ๘o คะแนน ขึ้นไป
  • CCM ย่อมาจาก Certificated of Culture Merit ลำดับคะแนน ตั้งแต่ 80 คะแนน ขึ้นไป

การตัดสินและรางวัลเกียรตินิยมของกล้วยไม้

การตัดสินและรางวัลเกียรตินิยมของกล้วยไม้ รางวัลจากสมาคม DOG (Deutsche Orchideen – Gesellschaft) ซึ่งเป็นสมาคมกล้วยไม้หลักของประเทศเยอรมัน การให้รางวัลไม่ทราบกฎการแบ่งเกณฑ์คะแนนอย่างแน่นอน มีสามลำดับดังนี้

  1. GM ย่อมาจาก Gold Medal เป็นรางวัลสูงสุดจากสมาคม DOG (Deutsche Orchideen – Gesellschaft)
  2. SM ย่อมาจาก Silver Medal รางวัลลำดับสองจาก DOG (Deutsche Orchideen – Gesellschaft)
  3. BM ย่อมาจาก Bronze Medal รางวัลลำดับสามจาก DOG (Deutsche Orchideen – Gesellschaft)

รางวัลอื่น ๆ

  1. AQ ย่อมาจาก Award of Quality
  2. AD ย่อมาจาก Award of Distinction
  3. JC ย่อมาจาก Judges’s Commendation
  4. CR ย่อมาจาก Certificate of Recognition
  5. CBE ย่อมาจาก Certificate of Botanical Excellence
  6. CCC ย่อมาจาก Certificate of Cultural Commendation รางวัลจากสมาคม RHS
  7. CBR ย่อมาจาก Certificate of Botanical Recognition
  8. CHM ย่อมาจาก Certificate of Horticultural Merit (รางวัลจากสมาคมกล้วยไม้อเมริกัน)

ตัวอย่างอักษรย่อสมาคมหรือสถาบันที่ได้รับการยอมรับตามแบบสากล

  1. BOC ย่อมาจาก Bang khen Orchid club
  2. BOS ย่อมาจาก Bang khen Orchid Society
  3. COS ย่อมาจาก Chiang Mai Orchid Society
  4. OST ย่อมาจาก Orchid Society of Thailand
  5. RSPC ย่อมาจาก Royal Society of Plant Culture
  6. CST ย่อมาจาก The Cattleya Society of Thailand
  7. AOS ย่อมาจาก American Orchid Society
  8. RHS ย่อมาจาก Royal Horticulture & Society
  9. HOS ย่อมาจาก Hawii Orchid Society
  10. WOC ย่อมาจาก World Orchid Conference
  11. DOG ย่อมาจาก Deutsche Orchideen-Gesellschaft
  12. SFOS ย่อมาจาก South Florida Ochid Society
  13. JOGA ย่อมาจาก Japan Orchid Grower Society
  14. TOGA ย่อมาจาก Taiwan Orchid Grower Society

ชื่อประกาศนียบัตรเกียรตินิยมระดับต่าง ๆ เขียนตัวนำ (ตัวใหญ่) ทั้งหมดเช่น

  1. Vlc. Norman’s Bay “ Gothic ” AM / RHS / AOS
  2. AM ตัวแรกจะหมายถึง กล้วยไม้ได้รางวัลเกียรตินิยม AM (Award of Merit) หรือได้คะแนน 80 คะแนน ขึ้นไป
  3. RHS ในตัวที่สอง หมายถึง ได้รับรางวัล AM จาก สมาคมกล้วยไม้อังกฤษ
  4. AOS ในตัวที่สาม หมายถึง ได้รับรางวัล AM จาก สมาคมกล้วยไม้อเมริกัน (หมายถึงได้เกียรตินิยม AM ของสมาคมกล้วยไม้อังกฤษ และ สมาคมกล้วยไม้อเมริกัน)

อ้างอิง

ดร. พิศิษฐ์ วรอุไร , วารสาร สมาคมกล้วยไม้เชียงใหม่ ปี 2519

การตัดสินและรางวัลเกียรตินิยมของกล้วยไม้ การประกวดพันธุ์กล้วยไม้ต่าง ๆ และ การตัดสินนั้น เป็นคำที่กว้างมาก หมายความถึงรวมพันธุ์กล้วยไม้ทุกชนิดทำไมจึงต้องมีการประกวดกันขึ้น ดูเหมือนจะเป็นปัญหาธรรมดา ไม่ว่าจะนิยมเลี้ยง หรือ เล่นอะไรกันขึ้น ก็ต้องมีการประกวด เพื่อให้รู้ว่าของใครดีกว่ากัน ที่ไหนก็ที่นั่น ต่างก็นิยมกันมากขึ้น จนกลายเป็นหลักสากลทั่ว ๆ ไป หลักเกณฑ์ที่ถือเป็นหลักปฏิบัติจึงเกิดขึ้น วิธีการตัดสินโดยการให้คะแนนนี้ เป็นที่นิยมแพร่หลายไปทั่วโลก แต่การกำหนดคะแนน การให้รางวัลตามลำดับนั้น แล้วแต่จะได้กำหนด เพื่อเป็นแนวทางไว้พิจารณาตัดสิน และ เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่าเป็นการกำหนดคะแนนที่ให้ความเหมาะสม และ ใกล้เคียงต่อความเป็นจริงที่สุด

Facebook
Twitter
LinkedIn