โรคกล้วยไม้ ปัญหาสำคัญ และ ขั้นตอนสำคัญในการดูแลกล้วยไม้

โรคกล้วยไม้

โรคกล้วยไม้ เป็นทั้งปัญหาที่สำคัญ และ ขั้นตอนที่สำคัญในการดูแลกล้วยไม้หลังการปลูก โรค และ แมลงศัตรูกล้วยไม้ มีหลายชนิด บางชนิดทำให้กล้วยไม้ตายภายในระยะเวลาอันรวดเร็ว เชื้อโรคและแมลงศัตรูที่เข้าทำลายกล้วยไม้ส่วนใหญ่จะมีขนาดเล็กมาก มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น และขยายพันธุ์รวดเร็ว หากปล่อยทิ้งไว้ จะทำการป้องกันและกำจัดได้ยาก ทั้งยังสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายสูง

โรคกล้วยไม้ โรคแอนแทรคโนส (Anthranose)

โรคกล้วยไม้โรคแอนแทรคโนส เป็นโรคหนึ่งที่พบเสมอในกล้วยไม้สกุลแคทลียา ออนซีเดียม แวนด้า หวาย แมงปอ สาเหตุ เกิดจากเชื้อรา Colletorichumsp เชื้อราชนิดนี้จะสร้างสปอร์เป็นรูปโค้งพระจันทร์เสี้ยวและมีเส้นใยสีดำแข็ง หรือ สร้างสปอร์เป็นรูปไข่ไม่มีสี หรือ สีใส อาการของโรค แอนแทรคโนส อาการส่วนใหญ่เกิดที่ใบเป็นแผล รูปวงกลม หรือ วงรีสีน้ำตาลไหม้ ซึ่งขยายออกเป็นวงใหญ่เห็นเป็นวงกลมซ้อนกันหลายชั้น ถ้าเป็นที่กลางใบจะเห็น แผลค่อนข้างกลมถ้าเกิดที่ปลายใบ แผลจะลามมาที่โคนใบกล้วยไม้ที่ใบอวบน้ำมากเช่น แคทลียาใบจะเน่าเปลือยถ้าฝนตกชุกโดยปรกติจะเป็นแผลแห้งติดกับลำต้น บางคนเรียกโรคนี้ว่า “โรคใบไหม้” การแพร่ระบาด โรคแอนแทรกโนส มักเกิดบนแผลใบกล้วยไม้ ที่ถูกแดดจัด เชื้อสาเหตุอาจลุกลามไปยังดอกได้ด้วยเชื้อนี้ชอบความชื้นสูงพบระบาดมากใน ช่วงฤดูฝน และ ในสภาพรังกล้วยไม้ที่ได้รับแดดจัด

การป้องกันและกำจัด

  1. อย่าให้กล้วยไม้ถูกแดดจัดเพราะจะทำให้ใบไหม้ สุก และทำให้เกิดแผล ควรทำร่มเงาขึ้นปกคลุมและ ระวังการให้ น้ำขณะแดดจัด จะทำให้เซลล์พืชอ่อนแอ เชื้อเข้าทำลายได้ง่าย
  2. พยายามตัดใบที่เป็นโรคเผาทำลายทิ้งให้มากที่สุด เพื่อลดจำนวนเชื้อ และป้องกันการลุกลาม
  3. ฉีดพ่นด้วย ยา แอนทราโคล , เดอโรซาล , บาวิสติน60 WL,ฟัลคาโซล 50, เบนด้า มัยซิน

โรคกล้วยไม้ โรคใบขี้กลาก ,โรคราชบุรี ,โรคขี้กลากราชบุรี

โรคกล้วยไม้ สาเหตุของโรค : เกิดจากเชื้อรา Phyllosticta sp.

อาการของโรค

  1. เป็นจุดแผลสีน้ำตาลดำรูปกระสวย หรือ ยาวรีอยู่กระจัดกระจายบนใบ ต่อมาแผลจะขยายใหญ่ขึ้น แล้วติดต่อกันเป็นแผลกลุ่มใหญ่
  2. ใบจะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ร่วงจากต้น เร็วกว่าปรกติ
  3. ลูบดูที่แผล จะรู้สึกสากมือ

การแพร่ระบาด แพร่ระบาดได้เร็วมาก ในฤดูฝนจนถึงฤดูหนาว โดยสปอร์ปลิวไปตามลม และ ฟุ้งกระจายไปกับละอองน้ำขณะฉีดพ่นกล้วยไม้

การป้องกัน และ กำจัด

  1. เก็บใบที่เป็นเด็ดออกมา ทำลายทิ้งให้หมดโดยการเผา
  2. ใช้สารเคมีฉีดพ่น กันเชื้อสาเหตุควบคู่ไปด้วย ใช้สารแมนโคเซบ เช่น ไดเทนเอ็ม 45 , แมนแซท 200 , เอซินแมก , หรือ สารเบนโนมิล เช่น เบนเลท เบนโนมิล 50 ฉีดพ่นทั้งด้านบน และ ใต้ใบ

โรคกล้วยไม้ โรคเน่าดำ หรือ โรคเน่าเข้าไส้

โรคกล้วยไม้ โรคเน่าดำ หรือ โรคเน่าเข้าไส้ (Black rot or Phytophthora rot)

เป็นโรคที่เกิดกับกล้วยไม้แทบทุกพันธุ์ โดยเฉพาะกล้วยไม้กลุ่มแวนด้า สาเหตุเกิดจาก เชื้อรา Phytophthora palmivora ระบาดได้ง่ายในช่วงฤดูฝนในสภาพอากาศที่มีความชื้นสูงสปอร์ของเชื้อราจะแพร่ กระจายไปกับน้ำที่ใช้รดต้นไม้ ควรปรับสภาพเรือนโรงให้โปร่งเว้น ระยะให้ทางลมให้พัดผ่าน ได้สะดวก อาการของโรค ได้แก่ จากที่ยอดใบเริ่มแรก จุดใส ชุ่มน้ำ สีเหลือง ต่อมาสีจะเปลี่ยนเป็นน้ำตาล แล้วเป็นสีดำ ในที่สุดแผลขยายลุกลามอย่างรวดเร็ว แพร่กระจายไปยังต้นอื่น ๆ อาการที่ต้นที่ถูกเชื้อเข้าทำลาย ทางยอดลงมา หรือ โคนต้นเมื่อดมดูจะมีกลิ่น เปรี้ยว คล้ายกลิ่นน้ำส้มสายชูใบเหลือง และ เน่าดำ หลุดจากต้นโดยง่ายหรือเรียกว่าเป็น “โรคแก้ผ้า”

การป้องกันและกำจัด

  1. เผาทำลายต้นที่เป็นโรคทิ้ง
  2. ตัดแยกส่วนที่ยังไม่ติดเชื้อ ควรฆ่าเชื้อกรรไกรที่ใช้ตัด ด้วยการลนไฟ หรือจุ่มแอลกอฮอล์ เมื่อตัดแล้วก็ทาด้วยปูน แดง เพื่อกันเชื้อโรคเข้า
  3. ใช้ยาป้องกันเชื้อรารด อาทิตย์ละหนึ่งครั้ง เป็นพวก เมนโคเซบ เช่น แมนเซบ 200 , ไดแทนเอ็ม 45
  4. ควรฉีดพ่นยาช่วงเย็นหลังพระอาทิตย์ตก จนถึงค่ำ

โรคกล้วยไม้ การใช้สารป้องกันกำจัดโรคที่สำคัญของกล้วยไม้

โรค

สารป้องกันกำจัดโรค

(ชื่อสามัญ)

อัตราการใช้ /

น้ำ 20 ลิตร

วิธีการใช้

โรคเน่าดำ

 

โรคยอดเน่า

โรคเน่าเข้าไส้

ฟอสฟอรัสแอซิด 30 – 50 มิลลิลิตร

อีทริไดอะโซล 20 กรัม

เมทาแลกซิล 40 กรัม

ฟอสเอทธิล – อะลูมิเนียม 25 – 50 กรัม

 

ควรพ่นในช่วงที่แดดไม่จัด

ไม่ควรผสมกับปุ๋ยและสารเคมีอื่น ๆ

ควรพ่นสลับกับสารเคมีอื่น

อัตราต่ำ ใช้ป้องกันโรค / อัตราสูงใช้กำจัดโรค

ไม่ควรใช้ผสมกับปุ๋ยใด ๆ

โรคดอกสนิม

โรคดอกจุด

แมนโครเซบ 30 กรัม

ควรพ่นให้ทั่ว และ ควรผสมสารเสริมประสิทธิภาพ

โรคใบปื้นเหลือง

คาร์เบนดาซิม 20 กรัม

แมนโครเซบ 30 กรัม

เบโนมิล 6 – 8 กรัม

ควรพ่นสารให้ถูกกับพื้นที่ผิวใบ

ใบที่มีสปอร์ และ ปรับหัวพ่นเพื่อให้ทั่วทั้งบนใบ และ ใต้ใบ

ควรพ่นสารอื่นสลับกันเพื่อป้องกันการต้านทานสารเคมี

ใบจุด /

ใบขี้กลาก

โรคเน่า

คาร์เบนดาซิม 20 กรัม

แมนโครเซบ 30 กรัม

สเตรปโตมัยซิน 10 กรัม

ออกซิเตตตระไซครินโปรเคน

เพนนิซิลิน – จี

คอปเปอร์ไฮดรอกไซด์ 20 กรัม

ระยะเวลาในการพ่นสาร ขึ้นอยู่กับความรุนแรง และ การระบาด

ห้ามใช้ในอัตราที่เข้มข้นมากกว่าที่กำหนด

 หรือ ใช้ติดต่อกันเกิน 2 ครั้ง ควรสลับด้วยสารในกลุ่มสัมผัส

โรคไวรัส

ผงซักฟอก 400 กรัม

ทำควรสะอาดเครื่องมือเครื่องใช้ทุกครั้งที่มีการตัดแยกหน่อ v หรือ ดอก โดยการจุ่มในสารละลายผงซักฟอก

Facebook
Twitter
LinkedIn