เพลี้ยหอย เพลี้ยเกล็ด เมื่อใบของกล้วยไม้เริ่มมี สิ่งผิดปกติเกิดขึ้น และ พบว่าบริเวณนั้นมีบางอย่างคล้ายกับเปลือกหอยเกาะอยู่ ให้นักเลี้ยงฟันธงได้ทันทีว่ากล้วยไม้ต้นนั้นกำลังถูก เพลี้ยหอย จัดการแล้ว ด้วยรูปร่างลักษณะของแมลงศัตรูพืชชนิดนี้มีลักษณะคล้ายกับกลุ่มหอยที่ ปักหลักอยู่ตามคานไม้คานเหล็กตาม ท้องทะเล และ ปะการัง มันจึงได้ชื่อสมญานามว่า เพลี้ยหอย นอกจากนี้มันยังมีอีกชื่ออย่างเป็นทางการว่า เพลี้ยเกล็ด ทั้งนี้ก็เพราะเนื่องมาจากว่า เมื่อ เพลี้ยหอย ชวนเพื่อนฝูงมาปาร์ตี้ดูดรุมโทรมกินน้ำเลี้ยงกล้วยไม้จนเป็นกระจุกทับถมกัน แล้วมันแลดูคล้ายกับเกล็ดนั่นเอง เพลี้ยหอย หรือ เพลี้ยเกล็ด มีพี่น้องร่วมสายพันธุ์แบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด คือ ชนิดที่มีลำตัวกลม และ ชนิดที่มีลำตัวเป็นรูปทรงวงรี ทั้งสองชนิดต่างก็เป็นศัตรูที่ร้ายกาจไม่ต่างกัน
ลักษณะ และ อุปนิสัย ของเพลี้ยหอย เพลี้ยเกล็ด
เพลี้ยหอย เพลี้ยเกล็ด เพลี้ยหอย หรือ เพลี้ยเกล็ด เป็นเพลี้ยที่ไม่ค่อยชอบการเคลื่อนไหวมากนัก มันอาจจะเดินเพียงแค่ 2 ครั้งทั้งชีวิต ทันทีที่มันออกจากไข่ มันจะเริ่มเคลื่อนไหวออกหาตำแหน่งเหมาะ ๆ และ ใช้ปากเจาะลงยังตำแหน่งนั้น ราวกับจะยึด เป็นที่มั่นทางการรบ มันจะไม่ยอมไปไหน และ คอยดูดน้ำเลี้ยงกล้วยไม้จนกระทั่งกลายเป็นตัวเต็มวัย ซึ่งการปักหลัก ถิ่นฐานเช่นนี้เป็นลักษณะพิเศษของ เพลี้ยหอย หรือ เพลี้ยเกล็ด โดยเฉพาะ มีชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า “sessile” หมายถึง ติดอย่างถาวร เมื่อมันเจริญเติบโตเต็มที่ เพลี้ยหอย หรือ เพลี้ยเกล็ด จะสร้างเปลือกแข็งหุ้มลำตัวคล้ายเกราะป้องกันการซึมของ น้ำ เพื่อป้องกันภัย เมื่อถึงเวลาวางไข่ ไข่ของมันจะถูกฟูมฟักภายในเปลือกแข็งนี้นั่นเอง หากส่องด้วยกล้องจุลทรรศน์จะ พบว่า ไข่ถูกยึดด้วยเส้นใยสีขาวที่อยู่ในเปลือกแข็งนี้นั่นเอง เมื่อ เพลี้ยหอย หรือ เพลี้ยเกล็ด วางไข่จนหมด มันจะแห้งตายไปในที่สุด ฤดูที่ เพลี้ยหอย หรือ เพลี้ยเกล็ด ขยายพันธุ์ได้ดีคือช่วงฤดูแล้ง แต่ในช่วงฤดูฝนพบว่ามันมีอัตราการขยายพันธุ์ที่ ต่ำกว่าปกติ แต่ถึงกระนั้น มันสามารถแพร่พันธุ์ได้ทั้งปี
วิธีป้องกัน กำจัด เพลี้ยหอย เพลี้ยเกล็ด
วิธีป้องกันกำจัด เพลี้ยหอย เพลี้ยเกล็ด มีดังนี้
1) หมั่นตรวจดูกล้วยไม้เป็นประจำ ถ้าพบต้นที่มีเพลี้ยทำลายให้แยกออกมาจากกลุ่มต้นดี เพื่อทำการรักษาต่อไป ถ้าหากมีเพลี้ย อยู่หนาแน่นควรเผาทำลายต้นกล้วยไม้นั้นทิ้งเพื่อป้องกันการแพร่กระจาย
2) ควรตรวจตรากล้วยไม้ที่ได้มาใหม่ก่อนนำเข้ามาปลูกเลี้ยงในโรงเรือนอย่างละเอียด เช่นเดียวกับการปฏิบัติในกรณี เพลี้ยไฟ
3) การใช้ยาฆ่าแมลง ยาที่ใช้ได้ผลดีกับเพลี้ยหอย ได้แก่ยาชนิดดูดซึมร่วมกับสารจับใบ เพื่อช่วยให้ยาติดกับต้น และ ใบกล้วยไม้มากที่สุด ยาที่ใช้เช่น ยาฆ่าแมลงในกลุ่มสาร กลุ่ม โมโนโครโตฟอส เช่น อโซดริน , ไวย์เดท หรือ พอสซ์
* หมายเหตุ ในกรณีไม้นิ้ว สามารถจุ่มรวมกันได้ โดยแช่ 2 – 3 นาที เพื่อให้ยาแทรกซึม แล้วยกผึ่งไว้ หากจำนวนกล้วยไม้ไม่มาก อาจใช้แปรงฟันขัดบริเวณที่ เพลี้ยหอย เกาะอยู่ได้ ขนแปรงจะช่วยให้ยาเข้าไปในเปลือกของเพลี้ยได้โดยง่าย
การกำจัด เพลี้ยหอย เพลี้ยเกล็ด ด้วยพืชสมุนไพร
เพลี้ยหอย เพลี้ยเกล็ด ในกรณีไม้นิ้ว สามารถจุ่มรวมกันได้ โดยแช่ 2 – 3 นาทีเพื่อให้ยาแทรกซึม แล้วยกผึ่งไว้ หากจำนวนกล้วยไม้ไม่มาก อาจใช้แปรงฟันขัดบริเวณที่ เพลี้ยหอย เกาะอยู่ได้ ขนแปรงจะช่วยให้ยาเข้าไปในเปลือกของเพลี้ยได้โดยง่าย
การกำจัดเพลี้ยเกล็ดด้วยสมุนไพรไทย
- กระเทียม
- พริกไทย
- สารเคลือบใบ (น้ำยาล้างจาน , น้ำมันพืช)
โขลกกระเทียมกับพริกไทย คลุกเคล้าให้เข้ากันดี เสร็จแล้วก็ นำน้ำอุ่น ๆ มาผสม เสร็จแล้วก็ทิ้งสักพัก แล้วก็หาผ้าสะอาดมากรองเอาแค่น้ำออกมา นำน้ำที่ได้นี้ผสมกับสารเคลือบใบที่เตรียมไว้ แล้วก็เอาไปพ่นใส่ใบที่มีเพลี้ยเกล็ด หรือ เพลี้ยหอย
เพลี้ยหอย เพลี้ยเกล็ด เพลี้ยหอยเกล็ด และ เพลี้ยแป้งเป็นแมลงปากดูด วงศ์ใหญ่ หรือ มหาวงศ์ (Superfamily) คอกคอยเดีย (Coccoidea) เดิมเป็นแมลงที่ถูกจัดในอันดับ Homoptera (บุปผา และ ชลิดา , 2543) แต่ปัจจุบันถูกจัดอยู่ในอันดับ เฮมิพเทอร่า (Hemiptera) วงศ์ย่อยสเตอนอร์รินชา (suborder Sternorrhyncha) เพลี้ยหอยเกล็ดทั้งตัวอ่อน และ ตัวเต็มวัย ดูดกินน้ำเลี้ยงตามส่วนต่าง ๆ ของพืช เช่น ใบ ยอด ส่วนตา กิ่ง ก้าน ลำต้น และ ผลโดยใช้ส่วนของปากที่มีลักษณะเป็นท่อยาวเรียกว่า stylet เพลี้ยหอย เพลี้ยเกล็ดมีทั้งชนิดที่มี และ ไม่มีการขับถ่ายมูลน้ำหวาน