ไรแดง กล้วยไม้ ไรแมงมุมแดง หรือ ไรแมงมุมเทียมกล้วยไม้ เป็นสัตว์เล็ก ๆ จำพวกแมง ไม่ใช่แมลง (แมลงมีขา 3 คู่ แมงมีขา 4 คู่) ไรเป็นสัตว์เล็ก ๆ ที่พบอยู่ทั่วไม่ว่าทุกหน ทุกแห่งในโลก ไม่ว่าจะเป็นในดินในน้ำ ในเศษซากอินทรียวัตถุต่าง ๆ ในอาหารในบ้านเรือนที่อยู่อาศัย บนพืชบนตัว สัตว์ และ แม้กระทั่งบนร่างกายของมนุษย์ ไรที่เป็นตัว อาศัยอยู่บนตัวสัตว์ อาจทำให้เจ็บป่วยล้มตายได้ ไรบางชนิดที่อาศัยอยู่ในบ้านเรือน อาจทำลายอาหารที่เก็บไว้ หรือ ปะปนอยู่ในฝุ่นละออง ข้าวของเครื่องใช้ เป็นสาเหตุให้เกิดความเจ็บป่วยของคน ไรหลายชนิดทำลายต้นพืช และ ผลผลิต แต่อย่างไรก็ตามยังมีไรอีกเป็นจำนวนมากที่การดำรงชีวิตของมันเป็นประโยชน์แก่มนุษย์ และ สภาพแวดล้อมเช่น ไรที่อาศัยในดิน ไรเหล่านี้จะทำหน้าที่ย่อยสลายเศษซาก อินทรียวัตถุต่าง ๆ ให้อยู่ในสภาพที่รากพืชสามารถดูดซึมไปใช้ ได้ง่ายขึ้น จนบางครั้งเราสามารถวัดความอุดมสมบูรณ์ของดินได้จากความหลากหลาย และ ปริมาณของไร ที่อาศัย อยู่ในดิน ไรบางชนิดเป็นตัวห้ำของไร และ แมลงศัตรูพืช ช่วยให้เกิดความสมดุลของธรรมชาติ ปัจจุบันเราสามารถนำ เอาไรเหล่านี้มาใช้ในการควบคุม และ กำจัดแมลงศัตรูพืชบางชนิดไม่ให้เกิดการระบาด และ เพื่อลดการใช้สาร เคมีกำจัดศัตรูพืช
รูปร่างลักษณะของ ไรแดง กล้วยไม้ หรือ ไรแมงมุมแดง
ไรแดง กล้วยไม้ มีรูปร่างลักษณะดังนี้
ตัวเมีย – มีสีแดงสดตัวแบน ความยาวตัวโดยเฉลี่ย 342.7 ไมครอน ; กว้างโดยเฉลี่ย 198.2 ไมครอน ; ด้านหน้าลำ ตัวกว้าง แล้วค่อย ๆ หักคอดแคบลงตรงส่วนท้าย ; ขาทั้ง 4 คู่ค่อนข้างสั้น มีสีส้ม ; บนลำตัวด้านสันหลังมีแถบสี สีดำ อัน เกิดจากสารอาหาร ที่อยู่ภายในลำตัว ; บนสันหลังค่อนไปทางด้านข้างลำตัวมีจุดสีแดงอยู่ 2 ข้าง ; รยางค์ปาก (palp) มี 3 ปล้อง ; ด้านข้างลำตัวนับจากขา 2 คู่หลังมาถึงส่วนท้าย มีขน (lateral setae) จำนวน 5 คู่ ; ขนคู่ที่อยู่ถัด จากคู่สุดท้าย มีลักษณะยาวคล้ายแส้ ส่วนคู่ อื่น ๆ มีลักษณะเป็นแผ่นคล้ายใบไม้ ; ขนที่อยู่ในตำแหน่งอื่น ๆ บนหลังเป็น เส้นสั้น ๆ ; มีขนกลางหลังนับจากบริเวณ ขา 2 คู่หลัง มาจนถึงส่วนท้าย 3 คู่ ; ลำตัวด้านท้องบริเวณที่อยู่กึ่งกลาง ระหว่างขาทั้ง 4 คู่ มีขน anterior medioventral setae 2 คู่ และ posterior medioventral setae อีก 2 คู่
ตัวผู้ – ความยาวของลำตัวโดยเฉลี่ย 297.4 ไมครอน ; กว้าง 154.0 ไมครอน ; ลำตัวมีสีแดงสด ; ลักษณะตัวแบน เช่นกันแต่ ด้านท้ายของลำตัวจะหัก คอดแคบเล็กกว่าตัวเมีย ; มีแถบสีดำที่เกิดจากสารอาหารภายในลำตัว ปรากฏชัดเฉพาะสองข้างลำตัว ; ตรงส่วนปลายด้านท้องข้างใต้ลำตัว มีอวัยวะเพศผู้ (aedeagus) เป็นแผ่นแหลมยื่นออก มานอกลำตัวเล็กน้อย
ลักษณะการทำลายดอกกล้วยไม้ของ ไรแดง กล้วยไม้
ไรแดง กล้วยไม้ นอกจากจะ พบทำลายใบกล้วยไม้แล้ว บางครั้งยังพบการดูดทำลายอยู่ที่กลีบดอก ลักษณะการทำลายที่ดอกแบ่งออกเป็นสองลักษณะคือ
ก. ลักษณะเป็นจุดสีม่วงเข้ม เรียกกันว่า “หลังลาย” ไรจะเข้าทำลายตั้งแต่ระยะดอกตูมอยู่ เมื่อดอกบานจึงปรากฏ แผล จากการดูดทำลายซึ่งมักปรากฏบริเวณกลีบล่าง ๆ เรื่อยไปจนถึงโคนกลีบ และ ก้านดอก มักพบการทำลายบน กล้วยไม้สกุลหวาย (dendrobium spp.)
ข. ลักษณะเป็นจุดนูน และ บุ๋ม ขนาดเล็กเท่าปลายเข็มหมุด มีสีขาวซีด และ สีน้ำตาลที่หลังกลีบดอก เรียกกันว่า “หลัง ขี้กลาก” สีของกลีบดอกจะด่าง กลีบดอกมีขนาดเล็กลง และ บิดเบี้ยวส่วนดอกตูมขนาดเล็กที่ถูกไรกิน จะฝ่อ แห้งเป็น สีน้ำตาล และ หลุดร่วงจากก้านช่อดอก
การป้องกัน และ การกำจัด ไรแดง กล้วยไม้
ไรแดง กล้วยไม้ การป้องกันกำจัด มีดังนี้
- รวบรวมใบ และ ช่อดอกที่ไรทำลายไปเผาเพื่อลดปริมาณของไรให้เหลือน้อยที่สุด
- ในกรณีที่ไรเพิ่งเริ่มเข้าทำลาย ปริมาณไรที่อยู่ใต้ใบกล้วยไม้อาจยังมีไม่มาก อาจช่วยด้วยการฉีดพ่นน้ำ เพื่อให้ไร หลุดจากผิวใบ และ ดอก
- ควรปลูก หรือ วางต้นกล้วยไม้ โดยเว้นช่องว่างระหว่างต้นให้ห่างกันพอสมควร โดยเฉพาะในกล้วยไม้ที่มีการแตก หน่อ หรือ มีใบหนาแน่นมาก ทั้งที่เพื่อช่วยในการดูแลรดน้ำ และ การฉีดพ่นสารฆ่าไรให้เป็นไปได้อย่างทั่วถึง และ ลดปริมาณการระบาดของไรลงได้
- หลีกเลี่ยงการปลูกพืชอาศัยของไรศัตรูกล้วยไม้เช่น ไม้ใบจำพวกเฟิร์นในเรือนกล้วยไม้ หรือ ถ้าปลูก ก็จำเป็นต้อง ดูแลรักษาเอาใจใส่ไม้ใบเหล่านี้ด้วย อย่าให้เป็นที่หลบซ่อนอาศัยของไรศัตรูกล้วยไม้
- กล้วยไม่เก่าที่ปลูกมานาน หรือ หมดสภาพควรรื้อทิ้ง หรือ ทำลายเสีย อย่าเก็บไว้เป็นที่อาศัยหลบซ่อนของไรศัตรู กล้วยไม้ได้
- หากมีการระบาดของไร และ จำเป็นต้องใช้สารฆ่าไรฉีดพ่น ควรฉีดสารเคมีให้ถูกด้านใต้ใบ และ ช่อดอก เพื่อให้น้ำยา สัมผัส กับไข่ ตัวอ่อน และ ตัวแก่ให้มากที่สุด และ ควรสลับใช้กับสารฆ่าไรชนิดอื่น ๆ ตามสภาวะที่เหมาะสมสารที่ใช้ ป้องกันกำจัดไรแมงมุมเทียมกล้วยไม้ที่ได้ผลดี แนะนำให้ใช้สารต่อไปนี้
- amitraz (Mitac 20% EC) อัตรา 20 – 30 มล. ต่อน้ำ 20 ลิตร เพื่อฆ่าไข่ ตัวอ่อน และ ตัวแก่
- dicofol (Kelthane 1.8% EC) อัตรา 30 มล. ต่อน้ำ 20 ลิตร เพื่อฆ่า ตัวอ่อน และ ตัวแก่ (ห้ามใช้ขณะแดดจัด จะทำให้ดอกไหม้)
- tetradifon (Tetradifon 7.5% EC) อัตรา 30 มล. ต่อน้ำ 20 ลิตร เพื่อฆ่าไข่ และ ตัวอ่อน (ห้ามฉีดพ่นขณะแดดจัด จะทำให้ดอกไหม้)
ไรแดง กล้วยไม้ ไรศัตรูพืชสามารถก่อความเสียหายแก่พืชโดยตรง แล้วยังสามารถติดปนเปื้อนไปกับผลิตผลทางการเกษตร ทั้งดอก ผล หรือ ต้นพืชที่ผู้ผลิตจะทำการส่งเป็นสินค้าออกไปยังต่างประเทศเป็นผลให้เกิดการกีดกันทางการค้าและ กระทบกระเทือนต่อเศรษฐกิจของประเทศโดยรวมได้ ไรศัตรูพืชบางชนิดนอกจากจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากพืชโดยตรง แล้วยัง เป็นพาหะนำโรคต่าง ๆ ของพืชโดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคที่เกิดจากไวรัส เช่นไรสี่ขาในวงศ์ Eriophyidaec และ ไร แมงมุมบางชนิดในวงศ์ Tetranychidae