ตารางอายุฝักกล้วยไม้ แสดงอายุการถือฝักของกล้วยไม้บางสกุล

ตารางอายุฝักกล้วยไม้

ตารางอายุฝักกล้วยไม้ สำหรับการเพาะกล้วยไม้จากฝักนั้น โดยทั่วไป สวนกล้วยไม้จะทำการจดบันทึกทันทีที่ได้ผสมฝักกล้วยไม้นั้น ๆ และ เริ่มนับวันเวลา หลังจากติดฝักไปแล้ว ซึ่งหลัก ๆ อายุฝักโดยเฉลี่ยจะเป็นไปตามตารางด้านล่างต่อไปนี้

สกุล

ระยะเวลา (เดือน)

  • Cattleya
  • Vanda และ ลูกผสม
  • Vanda coerulea
  • Rhyncostylis gigantea
  • Ascocentrum
  • Aerides
  • Dendrobium (Section Callista, Formosae)
  • (Section Phalaenopsis, Spatulata)
  • Spathoglosttis 7 – 10

7 – 10

7 – 10

14 – 18

10 – 14

8 – 12

7 – 10

8 – 12

4 – 5

1 – 1 1/2

ตาราง อายุการถือฝักของกล้วยไม้บางสกุล ระยะเวลาตั้งแต่มีการถ่ายละอองเกสรจนกระทั่งฝักแก่

ในกรณีที่ดอกของต้นที่จะนำมาใช้เป็นพ่อพันธุ์ บานไม่พร้อมกับ ดอกของต้นแม่พันธุ์ สามารถที่จะทำการเก็บเกสรตัวผู้ไว้ได้ โดยนำเอาเกสรตัวผู้มาเก็บในขวดขนาดเล็ก หรือ ปลอกหุ้มยา (capsule) พร้อมทั้งเขียนป้ายไว้ เก็บไว้ในตู้เย็นที่แห้ง อาจนำไปใส่ใน desiccator ก่อนแล้วนำไปเก็บไว้ในตู้เย็น สามารถเก็บรักษาเกสรตัวผู้ได้เป็นปี นอกจากนั้นแล้ว ในกรณีที่กล้วยไม้มีอายุการถือฝักที่นาน การใช้เทคนิคทางการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ สามารถช่วยย่นระยะเวลาการถือฝักได้ ในบางชนิดสามารถย่นระยะเวลาได้ 3 – 4 เดือน กล่าวคือ นำฝักมาเพาะเมื่อฝักมีการพัฒนาไปได้ระยะหนึ่ง ก็สามารถตัดฝักและนำมาเพาะได้โดยไม่ต้องรอให้ฝักแก่

ตารางอายุฝักกล้วยไม้ ระบบการตั้งชื่อกล้วยไม้

ตารางอายุฝักกล้วยไม้ การตั้งชื่อกล้วยไม้ มีหน่วยงานที่ทำหน้าที่รับผิดชอบการตั้งชื่อกล้วยไม้อยู่ หน่วยงานนั้นมีชื่อว่า International Orchid Commission ซึ่งได้แบ่งออกเป็น 3 หน่วยงานย่อย ทำหน้าที่ในการจำแนกพันธุ์กล้วยไม้ การตั้งชื่อกล้วยไม้ และการขึ้นทะเบียนพันธุ์กล้วยไม้ ในการตั้งชื่อกล้วยไม้ โดยทั่วไปแล้วทำได้อยู่ 2 ระบบด้วยกันคือ

  1. ICBN (International Code of Botanical Nomenclature) เป็นการตั้งชื่อกล้วยไม้ในระบบทางพฤกษศาสตร์ ที่ใช้กันเป็นระบบสากล มีชุดชื่อประกอบด้วย ชื่อสกุล (genus) ตามด้วยชื่อชนิด (species) โดยชื่อสกุลเขียนขึ้นต้นด้วยตัวพิมพ์หรือเขียนใหญ่ ตามด้วยชื่อชนิดเขียนด้วยตัวเล็กแล้วขีดเส้นใต้กำกับ หรือพิมพ์โดยใช้ตัวเอน หรือที่รู้จักกันในชื่อวิทยาศาสตร์ (Latin name) เช่น Dendrobium lindleyi
  2. ICNCP (International Code of Nomenclature for Cultivated Plant) เป็นการตั้งชื่อกล้วยไม้ที่มนุษย์ได้ทำการคัดเลือก หรือ ได้มาจากการผสมพันธุ์

ตารางอายุฝักกล้วยไม้ สาเหตุที่ไม่สามารถเก็บฝักได้ มีดังนี้

ตารางอายุฝักกล้วยไม้ หลังจากการทำการผสมพันธุ์กล้วยไม้แล้ว ไม่สามารถเก็บฝักได้อาจมีสาเหตุมาจาก

  1. ลักษณะทางพันธุกรรม ที่ไม่สามารถเข้ากันได้ของคู่ผสมที่เลือกใช้ เนื่องมาจากความห่างไกลของลักษณะทางพันธุกรรม เช่น การผสม Dendrobium X Vanda หรืออาจเกิดมาจากการที่เกสรตัวผู้เป็นหมัน อันเนื่องมาจากจำนวนชุดของโครโมโซมที่ผิดปกติ เช่น 3X หรือ 5X เป็นต้น
  2. ต้นที่คัดเลือกมาเป็นต้นพ่อแม่พันธุ์ไม่เหมาะสม เข้ากันไม่ได้ อาจจะเป็นในรูปโครงสร้างของเกสรตัวผู้หรือเกสรตัวเมียก็ได้
  3. สภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม เช่นฝนตกชุก อากาศหนาวเย็น หรือร้อนจนเกินไป
  4. มีโรค หรือ แมลงรบกวน
  5. ให้ปุ๋ย หรือ สารเคมีเข้มข้นมากเกินไป
  6. น้ำที่ใช้อาจมีค่าความเป็นกรดเป็นด่างไม่เหมาะสม

ตารางอายุฝักกล้วยไม้ ข้อควรปฏิบัติหลังจากการ ผสมพันธุ์กล้วยไม้แล้ว

ตารางอายุฝักกล้วยไม้ ข้อควรปฏิบัติหลังจากการ ผสมพันธุ์กล้วยไม้แล้ว มีดังนี้

  1. ในการผสมพันธุ์กล้วยไม้ ไม่ควรให้ต้นที่ใช้เป็นแม่พันธุ์ถือฝักมากเกินไป การถือฝักมาก ทำให้อาหารที่ไปเลี้ยงต้นไม่เพียงพอ ฝักมีการพัฒนาได้ไม่ดี ทำให้ฝักหลุดร่วงได้
  2. กล้วยไม้บางชนิดที่มีความต้องการเรื่องเครื่องปลูก ต้องให้เครื่องปลูกให้เพียงพอ และ ช่วยพยุงต้นให้อยู่ได้
  3. ควรจะมีการป้องกันฝน ไม่ให้ฝนตกลงมาโดนฝัก หรือ แม้แต่การรดน้ำ ก็ไม่ควรให้น้ำโดนฝัก
  4. ดูแลต้นแม่พันธุ์ให้แข็งแรงสมบูรณ์อยู่เสมอ

ตารางอายุฝักกล้วยไม้ หลังจากการผสมเกสรไปได้ประมาณ 3 – 4 วัน สามารถตรวจสอบได้ว่า การผสมพันธุ์กล้วยไม้ทำได้สำเร็จ หรือ ไม่ โดยดูจากการขยายขนาดของเส้าเกสร ถ้าการผสมเกิดขึ้นได้ เส้าเกสรจะมีการขยายขนาด และ ต่อมาจะสังเกตเห็นว่าส่วนของรังไข่ (ก้านดอกย่อย หรือ pedicel) มีการเปลี่ยนสีจากขาวเป็นเขียว และ มีการขยายขนาดไปเรื่อย ๆ ในกล้วยไม้ โดยทั่วไปแล้ว การปฏิสนธิจะใช้เวลาค่อนข้างนาน เนื่องมาจากการงอกของละอองเกสรตัวผู้ใช้เวลานานมาก ในสกุล Vanda ระยะเวลาการงอกของละอองเกสรตัวผู้ใช้เวลาประมาณ 2 เดือน และ ใช้เวลาในการพัฒนาของฝักอีกประมาณ 7 – 10 เดือน ฝักถึงจะแก่ พร้อมที่จะเก็บเกี่ยวฝักและนำเมล็ดไปเพาะได้ กล้วยไม้บางชนิดเช่นเอื้องดินใบหมาก (Spathoglosttis) ใช้เวลาตั้งแต่การถ่ายละอองเกสรจนกระทั่งฝักแก่เพียง 30 – 45 วันเท่านั้น

Facebook
Twitter
LinkedIn