วิธีการผสมเกสรกล้วยไม้กลุ่มสกุลรองเท้านารี ประเทศไทยได้ชื่อว่าเป็นแหล่งกล้วยไม้เขตร้อนที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลก โดยเฉพาะกล้วยไม้รองเท้านารีพันธุ์พื้นเมืองที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทย ซึ่งมีจำนวน 17 ชนิด ล้วนอยู่ในสกุล paphiopedilum spp. มีชื่อสามัญว่า Lady slipper orchid ชื่อไทยว่า “รองเท้านารี” ที่เรียกชื่อดังนี้ เนื่องจากดอกมีลักษณะขอบปากงองุ้มเข้าหากัน คล้ายหัวรองเท้าของชาวดัตช์ การที่ดอกมีรูปทรงแปลกตา และ สามารถใช้เป็นไม้ประดับได้ จึงได้รับความนิยมปลูกเลี้ยงอย่างแพร่หลาย กล้วยไม้รองเท้านารีจึงจัดเป็นพืชที่มีศักยภาพชนิดหนึ่งทางการตลาด นอกจากจะมีดอกที่ประหลาดแปลกตาแล้ว ลักษณะของเกสรตัวผู้ และ เกสรตัวเมียก็ยังแตกต่างไปจากกล้วยไม้ ชนิดอื่น ๆ อีกด้วยเช่นกัน การผสมพันธุ์กล้วยไม้กลุ่มรองเท้านารีนี้ จึงต้องพิเศษกว่าใคร ๆ ลองมาดูการผสมพันธุ์กล้วยไม้ ชนิดนี้กันเลย
วิธีการผสมเกสรกล้วยไม้กลุ่มสกุลรองเท้านารี วัสดุอุปกรณ์
วิธีการผสมเกสรกล้วยไม้กลุ่มสกุลรองเท้านารี เตรียมอุปกรณ์ง่าย ๆ ดังนี้
- ไม้จิ้มฟัน
- ป้ายชื่อ เอาไว้จดบันทึกวันที่ที่เราได้ทำการผสม
- ฟิว เอาไว้มัดป้ายชื่อกับก้านดอก
- ดินสอ เอาไว้เขียนวันที่ที่จดบันทึก ที่ต้องใช้ดินสอ เพราะว่าดินสอเลือนยากกว่าปากกาครับ ปากกาถูกน้ำถูกแดด หมึกก็หลุดเลือนหมดแล้ว
วิธีการผสมเกสรกล้วยไม้กลุ่มสกุลรองเท้านารี วิธีการผสมพันธุ์
วิธีการผสมเกสรกล้วยไม้กลุ่มสกุลรองเท้านารี ทำการผสมพันธุ์ระหว่างต้นที่คัดเลือกได้ภายในชนิดเดียวกัน โดยผสมหลังดอกบาน 7 – 14 วัน สามารถผสมได้ทั้งวัน แต่นิยมทำในช่วงเช้า ซึ่งอากาศไม่ร้อนมาก มีขั้นตอนดังนี้คือ เด็ดกระเป๋า และ เขี่ยเกสรตัวผู้ออก จากต้นแม่พันธุ์ (ก้อนเกสรตัวผู้มีลักษณะเป็นก้อนเหนียวสีเหลืองติดอยู่ด้านข้างทั้งสองข้างของเส้าเกสร) ใช้ไม้จิ้มฟันเขี่ยก้อนเกสรตัวผู้จากต้นพ่อพันธุ์วางลงบนยอดเกสรตัวเมีย กดเบา ๆ เพื่อให้ก้อนเกสรตัวผู้ติดสนิท ติดป้ายระบุวัน เดือน ปี ที่ผสมเกสรไว้ที่ก้านดอก ระยะการถือฝักของกล้วยไม้รองเท้านารี จะขึ้นอยู่กับชนิดพันธุ์ บางชนิดถือฝักเป็นปี บางชนิดถือฝักไม่ถึงปี ทั้งนี้ให้เรายึดหลักวันที่ที่เราได้จดบันทึกไว้ โดยเฉลี่ย แล้ว
วิธีการผสมเกสรกล้วยไม้กลุ่มสกุลรองเท้านารี และ โรคที่พบระหว่างการปลูกเลี้ยง
วิธีการผสมเกสรกล้วยไม้กลุ่มสกุลรองเท้านารี โรคที่พบในรองเท้าระหว่างการปลูกเลี้ยงได้แก่
- โรคเน่าดำ (Black rot) เชื้อสาเหตุ รา Phytophthora palmivora Butler. ลักษณะอาการ เกิดแผลสีน้ำตาลเข้ม หรือ สีดำบริเวณยอด และ ลุกลามเข้าในลำต้น ทำให้โคนใบของ กล้วยไม้รองเท้านารี เกิดอาการเน่าสีดำ เป็นแนวยาวตามก้านใบ โรคนี้พบระบาดมากในช่วงที่มีความชื้นสูงสลับ กับอากาศร้อน พบประมาณเดือนสิงหาคม
- การควบคุมโรค – ลดความชื้นภายในโรงเรือน ด้วยการเว้นระยะให้น้ำแก่กล้วยไม้ และ เปิดด้านข้างโรงเรือนให้อากาศ ถ่ายเทได้ดี ตัดแต่งใบ ต้นที่เป็นโรคออกจากโรงเรือนเพื่อลดแหล่งเชื้อโรค พ่นสารฟอสฟอรัส แอซิด (phosphorous acid) 40% w / v อัตรา 30 ซีซี / น้ำ 20 ลิตร หรือ เมทาแลคซิล (metalaxyl) อัตรา 20 กรัม / น้ำ 20 ลิตร (กรมวิชาการเกษตร, 2548)
- โรคใบจุด (Leaf spot) เชื้อสาเหตุ รา Alternaria alternata (Fr.) Keisster ลักษณะอาการ เกิดด้านบนของใบเป็นจุดแผลค่อนข้างกลมสีน้ำตาลเข้ม ตรงกลางแผลยุบตัวลงเล็กน้อย ขอบแผลมีสีเข้มกว่าบริเวณกลางแผล มีการระบาดในช่วงอากาศค่อนข้างเย็น พบประมาณเดือนธันวาคม
- การควบคุมโรค – ตัดแต่งใบที่เกิดโรคออกจากโรงเรือนเพื่อลดแหล่งแพร่ระบาดของเชื้อโรค – พ่นสารป้องกันเชื้อราไอโพรไดโอน (iprodione) 80% wp อัตรา 30 กรัม / น้ำ 20 ลิตร ทุก 7 – 10 วัน เมื่อพบโรคระบาด (กรมวิชาการเกษตร, 2544)
วิธีการผสมเกสรกล้วยไม้กลุ่มสกุลรองเท้านารี ด้วยลักษณะของรูปทรงของ “กระเป๋า” ที่ไปคล้ายกับรองเท้าสตรีของชาวเนเธอร์แลนด์ กล้วยไม้ชนิดนี้จึงถูก ขนานนามกันในชื่อ รองเท้านารี รูปร่างที่แปลกทรงของมันนี้กลายเป็นที่สะดุดตาของนักเลงกล้วยไม้หลาย ๆ คน นอกจากจะมีดอกที่ประหลาดแปลกตาแล้ว ลักษณะของเกสรตัวผู้ และ เกสรตัวเมียก็ยังแตกต่างไปจากกล้วยไม้ ชนิดอื่น ๆ อีกด้วยเช่นกัน การผสมพันธุ์กล้วยไม้ชนิดนี้จึงต้องพิเศษกว่าใคร ๆ ทั้งนี้การผสมเกสรกล้วยไม้กลุ่มสกุลรองเท้านารี ต้องอาศัยปัจจัยหลาย ๆ ด้าน ซึ่งปัจจัยหลัก ๆ ที่ส่งผลให้ฝักที่เราผสมนั้น เจริญเติบโตได้ดี และ สมบูรณ์ ได้แก่ อุณหภูมิ และ ความชื้นของพื้นที่ที่รองเท้านารีอยู่นั้นมีผลต่อความสมบูรณ์นั่นเอง