ไรกาบใบกล้วยไม้ (Orchid leaf sheath flat mite)

ไรกาบใบกล้วยไม้

ไรกาบใบกล้วยไม้ ไรกาบใบกล้วยไม้ ถูกเรียกในเชิงวิทยาศาสตร์ว่า Dolichotetranychus vandergooti (Oudemans) เป็นแมลงศัตรูกล้วยไม้ที่อยู่ในวงศ์ Tenuipalpidae (เท – นิว – พาล – พิ – ดี้) เช่นเดียวกับไรชนิดต่าง ๆ ลักษณะการจู่โจมเข้าจัดการเป้าหมาย ไรกาบใบกล้วยไม้ จะคอยหลบสายตาผู้ล่าโดยอาศัยอยู่ตามซอกใบ และ ลำต้นของกล้วยไม้ และ ดูดกินน้ำเลี้ยงบริเวณข้อของใบ เมื่อ ไรกาบใบกล้วยไม้ ดูดน้ำเลี้ยงไปได้สักระยะ ลักษณะข้อใบของเหยื่อที่ถูก ไรกาบใบกล้วยไม้ จู่โจมจะเริ่มมีสีน้ำตาลเกือบดำ เมื่อฉีกใบออกดู จะพบว่าบริเวณนั้นมี ไรกาบใบกล้วยไม้ เกาะตัวรวมกันเป็นกระจุกสีส้ม หรือ สีแดง อาการข้อดำที่เกิดจากการทำลายของ ไรกาบใบกล้วยไม้ นั้น มักพบในกลุ่มกล้วยไม้ สกุลหวาย แมงปอ และ แวนด้าใบกลม

ลักษณะของ ไรกาบใบกล้วยไม้

ลักษณะของ ไรกาบใบกล้วยไม้ มีดังนี้

ตัวเมีย – : ความยาวลำตัวโดยเฉลี่ย 327.9 ไมครอน ; กว้างโดยเฉลี่ย 119.4 ไมครอน ; ตัวมีลักษณะแบนยาวรี คล้ายลูกรักบี้ มีสีส้มสดใส มีตาเป็นจุดสีแดงอยู่ที่บ่าทั้งสองข้าง ; รยางค์ปาก ( palp ) มี 3 ปล้อง ; ลำตัวด้านสันหลัง บริเวณที่อยู่เหนือตำแหน่งขา 2 คู่หลัง ไปจนถึงส่วนท้ายของลำตัว (hysterosoma) มีขนกลางหลัง (dorsocentral setae) จำนวน 5 คู่ (ข้างละ 5 เส้น) ; ขน๒คู่แรก สั้น และ 3 คู่ สุดท้ายยาว ; ด้านข้างลำตัวถัดจาก humeral setae เข้า มาภายในมี sublateral setae ข้างละ 1 เส้น

ตัวผู้ – : ความยาวลำตัวโดยเฉลี่ย 288.9 ไมครอน ; กว้างโดยเฉลี่ย 101.4 ไมครอน ; ตัวแบนมีสีส้ม สดใสเช่นเดียว กับตัวเมีย แต่ตัวสั้นกว่า และลำตัวส่วนท้ายนับจากสองขาคู่หลังลงไป มีลักษณะ หักคอด แคบลงจนเกือบแหลม ; ปลายสุดของลำตัวมีอวัยวะเพศผู้ (aedeagus) เป็นเข็มแหลมยื่นออกไปยังส่วนท้าย 2 อัน ; taris ของขาคู่ที่ 1 และ 2 เป็นขนแข็งเป็นลักษณะเป็นแท่งสั้นคล้ายกระบอง (rodlike setae) 2 แท่ง ; ขนกลางหลังสั้น ; ขนด้านข้างลำตัว 2 คู่ แรกสั้นแต่ 3 คู่สุดท้ายยาว

ไรกาบใบกล้วยไม้ เขตแพร่กระจายและฤดูกาลระบาด

เขตแพร่กระจาย และ ฤดูกาลระบาด ไรกาบใบกล้วยไม้ พบทำลายกล้วยไม้ในเขตกรุงเทพมหานคร โดยเฉพาะในสภาพโรงเรือนที่อบร้อน และ ชื้น ในต่างประเทศ Baker และ Pritchard (1956) พบ ไรกาบใบกล้วยไม้ บนกล้วยไม้ในประเทศฟิลิปปินส์ และ รัฐฮาวาย ของสหรัฐอเมริกา

วิธีป้องกันกำจัด ไรกาบใบกล้วยไม้

ไรกาบใบกล้วยไม้ วิธีป้องกันกำจัด มีดังนี้ 

1) ควรหมั่นตรวจดูกล้วยไม้ในโรงเรือน และ เมื่อได้กล้วยไม้ที่จัดหามาใหม่ ควรแยกไว้เพื่อตรวจดู ไรกาบใบกล้วยไม้ ที่ อาจติดมากับต้นกล้วยไม้ จนแน่ใจว่าปลอดจาก ไรกาบใบกล้วยไม้ หรือศัตรูพืชชนิดอื่น ๆ จึงค่อยนำเข้าไปแขวนรวม ในโรงเรือน

2) เมื่อตรวจพบให้แยกกล้วยไม้ที่มี ไรกาบใบกล้วยไม้ ทำลายออกมาอย่าปล่อยให้อยู่ปะปนกับกล้วยไม้อื่น ๆ บางต้น ที่ถูกทำลายจนทรุดโทรมมากควรเผาทำลายเสีย เพื่อเป็นการตัดวงจรชีวิตของ ไรกาบใบกล้วยไม้ ถ้าต้นกล้วยไม้มี อาการไม่มาก ก็สามารถใช้สารเคมี รักษาได้

3) การใช้สารฆ่าแมลงในการป้องกันกำจัด โดยการฉีดพ่น สามารถกระทำได้อย่างสม่ำเสมอ โดยใช้สารเคมีชนิดดูด ซึม เช่นสารในกลุ่มเมทโธมิล หรือ คาร์บาริล หรือกลุ่มสาร คาร์บาเมท (คาร์โบซัลเฟน) ซึ่งมีชื่อทางการค้าต่าง ๆ กัน อัตราการ ใช้ควรใช้ตามคำแนะนำข้างฉลากขวด ระวังอย่าให้ละอองถูกตัวผู้ฉีด ควรฉีดพ่น 1 – 2 อาทิตย์ ต่อครั้งเพื่อ เป็นการป้องกัน หรือ เมื่อมีการระบาดของ ไรกาบใบกล้วยไม้

ไรกาบใบกล้วยไม้ ในประเทศไทย พบ ไรกาบกล้วยไม้ ทำลายกล้วยไม้เป็นประจำ ไรตัวอ่อน และ ตัวเต็มวัยจะดูน้ำเลี้ยง ไรขอบจะอาศัยอยู่บริเวณใต้ใบ กล้วยไม้หลายชนิดถูกไรเข้าทำลาย โดยใช้ปากซึ่งคล้ายเข็มแหลมแทงเข้าไปในเนื้อเยื่อพืช เพื่อดูดกินน้ำเลี้ยง และ ไรบางชนิดจะปล่อยสารพิษออกมาในขนาดดูดกินน้ำเลี้ยงด้วย สารพิษนี้ทำให้กล้วยไม้มีรูปร่างผิดปกติได้ และ ยังเป็นพาหะนำโรคไวรัสมาสู่กล้วยไม้อีกด้วย เนื่องจากไรขนาดเล็กยากแก่การสังเกตเห็น จึงไม่พบไรเข้าทำลาย จะทราบก็ต่อเมื่อพืชแสดงอาการถูกทำลายแล้ว ดังนั้นจึงควรหมั่นดูแลกล้วยไม้ เพื่อจะได้ดูแล รักษากล้วยไม้จากการทำลายได้ทัน ซึ่งอาจใช้แว่นขยายดูตามซอกใบ ลำต้น เพื่อสังเกตอาการได้อีกวิธีหนึ่ง

Facebook
Twitter
LinkedIn