โรคและแมลง ศัตรูร้ายทำลายกล้วยไม้

โรคและแมลง

โรคและแมลง เป็นทั้งปัญหาที่สำคัญ และ ขั้นตอนที่สำคัญในการดูแลกล้วยไม้หลังการปลูก โรค และ แมลงศัตรูกล้วยไม้ มีหลายชนิด บางชนิดทำให้กล้วยไม้ตายภายในระยะเวลาอันรวดเร็ว เชื้อโรค และ แมลงศัตรูที่เข้าทำลายกล้วยไม้ส่วนใหญ่จะมีขนาดเล็กมาก มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น และ ขยายพันธุ์รวดเร็ว หากปล่อยทิ้งไว้ จะทำการป้องกัน และ กำจัดได้ยาก ทั้งยังสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายสูง วันนี้เราได้นำ โรค และ แมลงศัตรูกล้วยไม้ ที่เป็นศัตรูกล้วยไม้หลัก ๆ ให้ได้รู้จักกัน มีดังนี้

โรคและแมลง โรคราดำ

โรคและแมลง เป็นโรคที่พบเสมอกับกล้วยไม้ที่เลี้ยงไว้กับต้นไม้ใหญ่ ซึ่งตัวเชื้อรานั้นไม่ทำอันตรายต่อต้น และ ดอกเพียง แต่มัน ไปเกาะบนผิวเท่านั้น แต่อาจส่งผลมากถ้ามีการเกาะมากขึ้น ทำให้สังเคราะห์แสงได้น้อยลง

สาเหตุ : เกิดจากเชื้อรา Meliola sp

อาการของโรค : บริเวณใบ และ ลำลูกล้วยไม้จะถูกปกคลุมด้วยผงดำ ๆ ของใย และ สเปอร์ของเชื้อรามองดูคล้าย ผงเขม่า ทำให้กล้วยไม้สกปรก

การแพร่ระบาด : เชื้อราแพร่มาจากไม้ต้นใหญ่ เช่น มะม่วง ส้มโดยสเปอร์ปลิวมากับลม หรือ ติดมากับแมลงแล้ว ยังอาจแพร่ไปยังกล้วยไม้ต้นอื่น ๆ ได้

สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเป็นโรค : เชื้อรานี้มักขึ้นตาม หยดน้ำหวาน  หรือ มูลที่เพลี้ยอ่อนเพลี้ยแป้ง ถ่ายออกมา และ มักพบในบริเวณใกล้ หรือ ใต้ต้นไม้ใหญ่

การป้องกัน :

  – แยก หรือ ทำลายต้นที่เป็นโรค

  – ใช้ยาฆ่าแมลง ฉีดป้องกัน เช่น คาร์บาริล

  – ใช้ยาฆ่าเชื้อรา เช่น เบนโนมิล หรือ แมนโคเซบร่วมด้วยสารฟอสเฟต อัตรา 30 – 40 กรัม / ลิตร ฉีดพ่นเมื่อพบโรค 7 – 10 วัน

โรคและแมลง โรคเน่า

โรคและแมลง โรคเน่า เป็นโรคที่สำคัญ ระบาดได้กับกล้วยไม้ทุกชนิด โดยเฉพาะกล้วยไม้ตระกูล หวาย แคทลียา ฟานอปซิส เป็นต้น ลักษณะอาการ เริ่มแรกเป็นจุดฉ่ำน้ำขนาดเล็กบนใบ หรือ หน่ออ่อน จากนั้นแผลจะเริ่มขยายขนาดขึ้น และเนื้อเยื่อเหมือนจะถูกน้ำร้อนลวก คือใบจะพองเป็นสีน้ำตาล และ อาการเป็นจุดฉ่ำน้ำบนใบจะมีขอบสีเหลืองเห็นชัดเจน ภายใน 2 – 3 วัน  เนื้อเยื่อใบกล้วยไม้จะโปร่งแสงเห็นร่างแหของเส้นใบถ้ารุนแรงต้นอาจตายได้ การแพร่ระบาดโรคจะแพร่ระบาดรุนแรงรวดเร็วในสภาพอากาศร้อน และ ความชื้นสูง เช่นช่วงอากาศ

อบอ้าวก่อนที่ฝนจะตก

การป้องกัน

   – เผาทำลายต้นเป็นโรค

   – ลูกกล้วยไม้ควรปลูกในโรงเรือน และ ถ้าเกิดมีโรคนี้เข้าแทรกซึม ควรงดให้น้ำสักระยะอาการเน่าจะหยุด ชะงักไม่ลุกลาม ระวังการให้น้ำมากเกินไปจนแฉะ

   -ไม่ควรปลูกกล้วยไม้แน่นเกินไป เพราะเครื่องปลูก จะอุ้มน้ำ หรือ ชื้นแฉะตลอดเวลาเมื่ออากาศภายนอกร้าวอบอ้าว อากาศในโรงเรือน จะทำให้เกิดเป็นโรคง่ายการให้ปุ๋ยไนรโตรเจนสูงมากเกินไป และ มีโปแตสเซียมน้อย ทำให้ใบอวบหนา  และ การให้ปุ๋ยไม่ถูกสัดส่วนเร่งการเจริญเติบโต รวดเร็วต่อเนื่องเป็นเวลานานในช่วงฤดูร้อน เมื่อถึงฤดูฝนจะเกิดปัญหาโรคนี้ระบาด ทำให้ต้นอวบ เหมาะแก่การเกิดโรค

   -การใช้สารเคมีป้องกันกำจัด ใช้สารปฏิชีวนะ เช่น แอกกริมัยซิน ไฟโตมัยซิน แอกกริสสเตรป อัตรา 10-20 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร แต่สารประเภทนี้มีข้อจำกัด ควรพ่นในช่วงเย็น เพื่อหลีกเลี่ยงแสงแดดซึ่ง อาจทำให้สารเสื่อมฤทธิ์ และ ไม่ควรผสมกับสารอื่นๆ ทุกชนิด

หลักสำคัญในการป้องกันโรคโดยทั่วไป

  1. บำรุงกล้วยไม้ให้มีความแข็งแรงสมบูรณ์
  2. การให้น้ำคำนึงถึงเวลา และ อัตราที่เหมาะสม
  3. ทำความสะอาดฆ่าเชื้อเครื่องมือเครื่องใช้ในการตัด
  4. พัก และ แยกกล้วยไม้ที่นำเข้ามาใหม่
  5. ทำความสะอาดอุปกรณ์ที่ใช้ร่วมกัน และ หลังการใช้ทุกครั้ง
  6. อย่านำกล้วยไม้ที่เป็นโรคไปแพร่เชื้อ
  7. ศึกษาที่มาของโรค
  8. ศึกษานิสัยกล้วยไม้ที่ปลูก
  9. แยกกล้วยไม้ที่เป็นโรคออกรักษา
  10. น้ำที่ใช้ควรเป็นน้ำสะอาด

โรคและแมลง เพลี้ยไฟ หรือ ตัวกินสี

เพลี้ยไฟ หรือ ตัวกินสี เป็นแมลงชนิดหนึ่งที่มีขนาดเล็กมากขนาดยาวของตัวประมาณ 1 – 2 มิลลิเมตรเท่านั้น ตัวเมียจะวางไข่ในเนื้อเยื่อ ของกลีบดอก  ระยะไข่ 2 – 6 วัน ไข่จะมีขนาดเล็กมาก มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น เมื่อฟักเป็นตัวจะมีสีครีม หรือ เหลืองอ่อน และ น้ำตาลเข้ม เป็นแมลงจำพวกปากดูดเคลื่อนไหวได้รวดเร็ว  มีปีกบินได้พวกนี้ชอบหลบซ่อนตัวอยู่ตามโคนกลีบดอก หรือ ตามรอย ซ้อนกัน ระหว่าง กลีบ และ ปากของ กล้วยไม้ลักษณะการทำลายกล้วยไม้ ของเพลี้ยไฟ คือ การดูดน้ำเลี้ยงจาก ดอกทำให้เกิดเป็นรอยขาว ๆ คดเคี้ยวไปมา จะทำลายริมดอกไปก่อนเมื่อจากอาการที่ดอกตูมมีสีน้ำตาล และ แห้งคาก้านช่อ ดอกชะงักการเจริญเติบโตถ้าเป็นดอกบาน จะปรากฏรอยสีซีดขาวที่ปากกระเป๋า และ ตำแหน่งที่กลีบดอก ช้อนกัน ต่อมาจะกลายเป็นสีน้ำตาล เรียกกันว่าดอกไหม้ เมื่อแก่ อุ้งปากของดอกกล้วยไม้ออกจะเห็นตัวอ่อน หรือ ตัวแก่ของเพลี้ยไฟแอบซ่อนอยู่คอยดูดกินน้ำเลี้ยงของกล้วยไม้ ใช้เวลาเพียง 1 – 2 วัน ในการทำลายช่อดอก เพลี้ยไฟ จะระบาดในสภาพอากาศร้อน และ แห้งแล้ง คือ ในฤดูร้อนนั่นเอง ส่วนฤดูฝนการระบาดจะลดลง

การป้องกันกำจัด

   การทำได้โดยการทำความสะอาดภายใน และ บริเวณรอบ ๆ เรือนกล้วยไม้อยู่เสมอเพื่อมิให้เป็นที่หลบซ่อนของ เพลี้ยไฟ และ พ่นยาโมโนโครโตฟอส ในอัตราตัวยา 30 ซีซี ผสมน้ำ 20 ลิตร พ่นให้ทั่วต้นแม้กระทั่งตามซอกใบ ประมาณสัปดาห์ละครั้ง

เพลี้ยหอย เพลี้ยเกล็ด กล้วยไม้ที่ถูกเจ้าของทอดทิ้ง ไม่ค่อยได้รับการฉีดพ่นยา ขาดการเอาใจใส่ดูแล มักจะถูกทำลายด้วยเพลี้ยหอยเพลี้ยเกล็ดลักษณะการทำลาย เพลี้ยหอยจะดูดกินน้ำเลี้ยงบนใบ ลำต้น และ ราก จะสังเกตเห็นว่าบริเวณที่ถูกเพลี้ยหอยดูดกินน้ำเลี้ยง จะมีสีเหลืองเป็นจุดนูนเล็ก ๆ ทำให้ต้นไม้ชะงักการเจริญเติบโต พอนาน ๆ ก็แห้งเหี่ยวตายได้

การป้องกันกำจัด ให้ฉีดพ่นด้วยยาดูดซึม เช่น อโซดริน ไวย์ เดทแอล เป็นต้น

Facebook
Twitter
LinkedIn