โรคกล้วยไม้ เป็นทั้งปัญหาที่สำคัญ และ ขั้นตอนที่สำคัญในการดูแลกล้วยไม้หลังการปลูก โรค และ แมลงศัตรูกล้วยไม้ มีหลายชนิด บางชนิดทำให้กล้วยไม้ตายภายในระยะเวลาอันรวดเร็ว เชื้อโรคและแมลงศัตรูที่เข้าทำลายกล้วยไม้ส่วนใหญ่จะมีขนาดเล็กมาก มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น และขยายพันธุ์รวดเร็ว หากปล่อยทิ้งไว้ จะทำการป้องกันและกำจัดได้ยาก ทั้งยังสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายสูง
โรคกล้วยไม้ โรคแอนแทรคโนส (Anthranose)
โรคกล้วยไม้โรคแอนแทรคโนส เป็นโรคหนึ่งที่พบเสมอในกล้วยไม้สกุลแคทลียา ออนซีเดียม แวนด้า หวาย แมงปอ สาเหตุ เกิดจากเชื้อรา Colletorichumsp เชื้อราชนิดนี้จะสร้างสปอร์เป็นรูปโค้งพระจันทร์เสี้ยวและมีเส้นใยสีดำแข็ง หรือ สร้างสปอร์เป็นรูปไข่ไม่มีสี หรือ สีใส อาการของโรค แอนแทรคโนส อาการส่วนใหญ่เกิดที่ใบเป็นแผล รูปวงกลม หรือ วงรีสีน้ำตาลไหม้ ซึ่งขยายออกเป็นวงใหญ่เห็นเป็นวงกลมซ้อนกันหลายชั้น ถ้าเป็นที่กลางใบจะเห็น แผลค่อนข้างกลมถ้าเกิดที่ปลายใบ แผลจะลามมาที่โคนใบกล้วยไม้ที่ใบอวบน้ำมากเช่น แคทลียาใบจะเน่าเปลือยถ้าฝนตกชุกโดยปรกติจะเป็นแผลแห้งติดกับลำต้น บางคนเรียกโรคนี้ว่า “โรคใบไหม้” การแพร่ระบาด โรคแอนแทรกโนส มักเกิดบนแผลใบกล้วยไม้ ที่ถูกแดดจัด เชื้อสาเหตุอาจลุกลามไปยังดอกได้ด้วยเชื้อนี้ชอบความชื้นสูงพบระบาดมากใน ช่วงฤดูฝน และ ในสภาพรังกล้วยไม้ที่ได้รับแดดจัด
การป้องกันและกำจัด
- อย่าให้กล้วยไม้ถูกแดดจัดเพราะจะทำให้ใบไหม้ สุก และทำให้เกิดแผล ควรทำร่มเงาขึ้นปกคลุมและ ระวังการให้ น้ำขณะแดดจัด จะทำให้เซลล์พืชอ่อนแอ เชื้อเข้าทำลายได้ง่าย
- พยายามตัดใบที่เป็นโรคเผาทำลายทิ้งให้มากที่สุด เพื่อลดจำนวนเชื้อ และป้องกันการลุกลาม
- ฉีดพ่นด้วย ยา แอนทราโคล , เดอโรซาล , บาวิสติน60 WL,ฟัลคาโซล 50, เบนด้า มัยซิน
โรคกล้วยไม้ โรคใบขี้กลาก ,โรคราชบุรี ,โรคขี้กลากราชบุรี
โรคกล้วยไม้ สาเหตุของโรค : เกิดจากเชื้อรา Phyllosticta sp.
อาการของโรค
- เป็นจุดแผลสีน้ำตาลดำรูปกระสวย หรือ ยาวรีอยู่กระจัดกระจายบนใบ ต่อมาแผลจะขยายใหญ่ขึ้น แล้วติดต่อกันเป็นแผลกลุ่มใหญ่
- ใบจะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ร่วงจากต้น เร็วกว่าปรกติ
- ลูบดูที่แผล จะรู้สึกสากมือ
การแพร่ระบาด แพร่ระบาดได้เร็วมาก ในฤดูฝนจนถึงฤดูหนาว โดยสปอร์ปลิวไปตามลม และ ฟุ้งกระจายไปกับละอองน้ำขณะฉีดพ่นกล้วยไม้
การป้องกัน และ กำจัด
- เก็บใบที่เป็นเด็ดออกมา ทำลายทิ้งให้หมดโดยการเผา
- ใช้สารเคมีฉีดพ่น กันเชื้อสาเหตุควบคู่ไปด้วย ใช้สารแมนโคเซบ เช่น ไดเทนเอ็ม 45 , แมนแซท 200 , เอซินแมก , หรือ สารเบนโนมิล เช่น เบนเลท เบนโนมิล 50 ฉีดพ่นทั้งด้านบน และ ใต้ใบ
โรคกล้วยไม้ โรคเน่าดำ หรือ โรคเน่าเข้าไส้
โรคกล้วยไม้ โรคเน่าดำ หรือ โรคเน่าเข้าไส้ (Black rot or Phytophthora rot)
เป็นโรคที่เกิดกับกล้วยไม้แทบทุกพันธุ์ โดยเฉพาะกล้วยไม้กลุ่มแวนด้า สาเหตุเกิดจาก เชื้อรา Phytophthora palmivora ระบาดได้ง่ายในช่วงฤดูฝนในสภาพอากาศที่มีความชื้นสูงสปอร์ของเชื้อราจะแพร่ กระจายไปกับน้ำที่ใช้รดต้นไม้ ควรปรับสภาพเรือนโรงให้โปร่งเว้น ระยะให้ทางลมให้พัดผ่าน ได้สะดวก อาการของโรค ได้แก่ จากที่ยอดใบเริ่มแรก จุดใส ชุ่มน้ำ สีเหลือง ต่อมาสีจะเปลี่ยนเป็นน้ำตาล แล้วเป็นสีดำ ในที่สุดแผลขยายลุกลามอย่างรวดเร็ว แพร่กระจายไปยังต้นอื่น ๆ อาการที่ต้นที่ถูกเชื้อเข้าทำลาย ทางยอดลงมา หรือ โคนต้นเมื่อดมดูจะมีกลิ่น เปรี้ยว คล้ายกลิ่นน้ำส้มสายชูใบเหลือง และ เน่าดำ หลุดจากต้นโดยง่ายหรือเรียกว่าเป็น “โรคแก้ผ้า”
การป้องกันและกำจัด
- เผาทำลายต้นที่เป็นโรคทิ้ง
- ตัดแยกส่วนที่ยังไม่ติดเชื้อ ควรฆ่าเชื้อกรรไกรที่ใช้ตัด ด้วยการลนไฟ หรือจุ่มแอลกอฮอล์ เมื่อตัดแล้วก็ทาด้วยปูน แดง เพื่อกันเชื้อโรคเข้า
- ใช้ยาป้องกันเชื้อรารด อาทิตย์ละหนึ่งครั้ง เป็นพวก เมนโคเซบ เช่น แมนเซบ 200 , ไดแทนเอ็ม 45
- ควรฉีดพ่นยาช่วงเย็นหลังพระอาทิตย์ตก จนถึงค่ำ
โรคกล้วยไม้ การใช้สารป้องกันกำจัดโรคที่สำคัญของกล้วยไม้
โรค | สารป้องกันกำจัดโรค (ชื่อสามัญ) | อัตราการใช้ / น้ำ 20 ลิตร | วิธีการใช้ |
โรคเน่าดำ
โรคยอดเน่า โรคเน่าเข้าไส้ | ฟอสฟอรัสแอซิด 30 – 50 มิลลิลิตร อีทริไดอะโซล 20 กรัม เมทาแลกซิล 40 กรัม ฟอสเอทธิล – อะลูมิเนียม 25 – 50 กรัม
| ควรพ่นในช่วงที่แดดไม่จัด ไม่ควรผสมกับปุ๋ยและสารเคมีอื่น ๆ ควรพ่นสลับกับสารเคมีอื่น อัตราต่ำ ใช้ป้องกันโรค / อัตราสูงใช้กำจัดโรค ไม่ควรใช้ผสมกับปุ๋ยใด ๆ | |
โรคดอกสนิม โรคดอกจุด | แมนโครเซบ 30 กรัม | ควรพ่นให้ทั่ว และ ควรผสมสารเสริมประสิทธิภาพ | |
โรคใบปื้นเหลือง | คาร์เบนดาซิม 20 กรัม แมนโครเซบ 30 กรัม เบโนมิล 6 – 8 กรัม | ควรพ่นสารให้ถูกกับพื้นที่ผิวใบ ใบที่มีสปอร์ และ ปรับหัวพ่นเพื่อให้ทั่วทั้งบนใบ และ ใต้ใบ ควรพ่นสารอื่นสลับกันเพื่อป้องกันการต้านทานสารเคมี | |
ใบจุด / ใบขี้กลาก โรคเน่า | คาร์เบนดาซิม 20 กรัม แมนโครเซบ 30 กรัม สเตรปโตมัยซิน 10 กรัม ออกซิเตตตระไซครินโปรเคน เพนนิซิลิน – จี คอปเปอร์ไฮดรอกไซด์ 20 กรัม | ระยะเวลาในการพ่นสาร ขึ้นอยู่กับความรุนแรง และ การระบาด ห้ามใช้ในอัตราที่เข้มข้นมากกว่าที่กำหนด หรือ ใช้ติดต่อกันเกิน 2 ครั้ง ควรสลับด้วยสารในกลุ่มสัมผัส | |
โรคไวรัส | ผงซักฟอก 400 กรัม | ทำควรสะอาดเครื่องมือเครื่องใช้ทุกครั้งที่มีการตัดแยกหน่อ v หรือ ดอก โดยการจุ่มในสารละลายผงซักฟอก |