เอื้องผึ้ง ไม้รุ่น ( Dendrobium lindleyi Steud) หอมหวานดุจน้ำผึ้ง

เอื้องผึ้ง ไม้รุ่น

เอื้องผึ้ง ไม้รุ่น ในบรรดากล้วยไม้หลากหลายร้อยพันธุ์ชนิด เอื้องผึ้ง เป็น 1 ใน 150 ชนิด ของกลุ่มกล้วยไม้สกุลหวาย ในประเทศไทย ที่มีความผูกพันกับท้องถิ่นทางภาคเหนือ และ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มาช้านาน เอื้องผึ้ง จัดอยู่ในสกุลของ Dendrobium ในประเทศไทยนิยมเรียกสกุลนี้ว่า หวาย หรือ เอื้อง ซึ่งนับเป็นสกุลที่ใหญ่ที่สุด ของวงศ์กล้วยไม้ อีกทั้งยังเป็นสกุล ที่มีจำนวนสมาชิกมากที่สุดในประเทศไทยอีกด้วย ในปี ค.ศ. 1840 เอื้องผึ้ง ถูกค้นพบครั้งแรกทางภาคเหนือของประเทศพม่า โดย Ernst Gottlieb von Steudel เป็นผู้ตั้งชื่อวิทยาศาสตร์ และ ชื่อระบุชนิดนั้น ตั้งให้เป็นเกียรติแด่ Sir John Lindley ด้วยลักษณะ กลิ่นหอมหวานอันพิเศษ ราวกับน้ำผึ้ง เอื้องผึ้ง จึงถูกขนานนามอีกชื่อว่า Honey fragrant ซึ่งกลิ่นของมันได้รับความสนใจ เป็นอย่างมากจากนักสกัดกลิ่น เพื่อนำไปใช้เป็นน้ำหอมอันล้ำค่าในยุคปัจจุบัน

ลักษณะของ เอื้องผึ้ง ไม้รุ่น

เอื้องผึ้ง ไม้รุ่น ลักษณะต้นของ เอื้องผึ้ง จะมีผิวลำลูกกล้วยที่คล้ำ คือมีสีเขียวเข้ม ใบมีลักษณะกลมรี และ หนา ที่ดูง่ายที่สุด 1 ลำลูกกล้วยจะมีเพียง 1 ใบเท่านั้น เอื้องผึ้ง จะให้ดอกเร็วกว่าเอื้องคำ ดอก เอื้องผึ้ง จะออกดอกในช่วงเดือน กุมภาพันธ์ ถึงเดือนเมษายน ดอกมีกลิ่นหอมแรงในช่วงกลางวัน สีเหลืองสดใส ช่อห้วยย้อยลงยาว ตั้งแต่ 15 – 40 ซ.ม. มีจำนวนดอกไม่แน่นจนเกินไป และ พลิ้วไหวได้ง่ายยามต้องลม ดอกบานเต็มที่ขนาด 2 – 3 ซ.ม. แรกบานจะมีสีเหลืองอมเขียว ระยะต่อ ๆ มาสีจะเข้มขึ้น จนเป็นสีเหลืองอมส้มแสด ดอกของ เอื้องผึ้ง บานได้นานสุดราว ๆ 4 – 5 วันนับจากวันที่บานได้เต็มที่แล้ว แต่หากดอกของเอื้องผึ้ง ถูกน้ำจะบานได้เพียง 2-3 วันเท่านั้น เนื่องจากเป็นกล้วยไม้ที่เลี้ยงไม่ยาก ทนต่ออากาศร้อน และ เป็นที่รู้จักแพร่หลายในประเทศไทย เอื้องผึ้ง จึงเป็นกล้วยไม้อีกชนิด ที่เป็นที่นิยมเป็นอย่างมากในบ้านเรา แต่กลับกันเอื้องผึ้ง ในธรรมชาติ ลดลงไปกว่า 60% ในผืนป่าภาคเหนือ ซึ่งทำให้ประชากรของมันเบาบางลงกว่าแต่ก่อนอย่างน่าตกใจ

เทคนิคการเลี้ยง เอื้องผึ้ง ไม้รุ่น

เอื้องผึ้ง ไม้รุ่น มีเทคนิคการเลี้ยงกล้วยไม้ชนิดนี้ ให้ออกดอก และ มีสวยงามมีดังต่อไปนี้

  1. ในช่วงที่ไม่แทงดอก หรือ ช่วงที่ยังเป็นลูกไม้ ให้ใส่ปุ๋ยบำรุงสูตรเสมอ 21 – 21 – 21 สลับกับสูตรตัวอื่น ๆ จะเป็นสูตรใดก็ได้ แต่ขยันให้อย่างน้อยให้ได้สัปดาห์ละ 1 ครั้งจะดี
  2. ช่วงหลังฤดูหนาวตั้งแต่เข้า กุมภาพันธ์เป็นต้นไป บางท่านกล่าวไว้ว่า งดน้ำ ไปเลยจะทำให้ เอื้องผึ้งให้ดอกดกพรั่งพรูมาก แต่บางท่านก็ให้น้ำจนกระทั่งมีดอกเลยก็มี เทคนิคนี้แล้วแต่ชอบ แต่แนะนำสูตร งดน้ำมากกว่า เพราะดอกออกได้พรูโดนใจมาก แต่มีข้อเสียคือ ลำลูกกล้วยผอมแห้ง พอหลังให้ดอกแล้วต้องรีบขุนใหม่ครับ ซึ่งปกติ เอื้องผึ้ง จะแตกหน่อในช่วงฤดูฝน หากไม่ขุนหลังให้ดอกในช่วงฤดูร้อน หน่อใหม่จะมีน้อย และ ทำให้ดอกในปีถัดไปน้อยตาม
  3. หากปลูกเอื้องผึ้งแล้วไม่มีดอก แนะนำให้ลองย้ายไปยังจุดที่มีแสงมากขึ้นครับ เอื้องผึ้ง เป็นกล้วยไม้ที่ค่อนข้างชอบแสงมาก ถ้าได้รับแสงน้อย หรืออยู่ใต้ร่มไม้ทึบเกินไป หากดอกไม่ออก ก็จะเริ่มฝ่อ และ ตายได้
  4. ให้ดอกแต่ช่อห่าง ออกประปรายไม่ดก เป็นสาเหตุเนื่องจากได้รับสารอาหารน้อย น้ำเป็นหินปูน และ ที่สำคัญคือได้รับแสงน้อยเกินไป

 

เทคนิคยืดอายุดอก

  • เอื้องผึ้ง เป็นกล้วยไม้ที่บานสั้น – สั้นมาก อาจจะไม่ถึงสัปดาห์ เทคนิคการยืดให้ดอกอยู่กับเรานาน ๆ คือ งดให้น้ำช่วงมีดอก ซึ่งจะทำให้เราได้เชยชมต่อได้อีก 1 – 2 วัน

การปลูกเลี้ยง เอื้องผึ้ง ไม้รุ่น

วิธีการ ปลูกเลี้ยง เอื้องผึ้ง ไม้รุ่น มีดังนี้

  • เอื้องผึ้ง ที่เป็นไม้ฟาร์ม หากเป็นไม้ขวด ให้อนุบาลลูกไม้ไว้บนสเฟกนั่มมอส หรือ หนีบใส่กาบมะพร้าว ลงบนถ้วยนิ้ว ในแต่ละปี ลูกไม้จะแตกหน่อและมีขนาดใหญ่ขึ้น หากขนาดโตเกินกระถางนิ้วแล้วก็สามารถ นำไปติดขอนไม้ หรือ ใส่กระเช้าที่ใหญ่ขึ้นได้เลย
  • เอื้องผึ้ง ที่เป็นไม้แยกหน่อ เราสามารถนำหน่อ เอื้องผึ้ง ไปแปะติดกับขอนไม้ได้ทันที แต่ก่อนจะมัด เอื้องผึ้งกับขอนไม้ ให้เราหา กาบมะพร้าว หรือ สเฟกนั่มมอส รองให้ เอื้องผึ้ง สักหน่อย เพื่อให้ รากเดินเร็วขึ้น ยึดเกาะได้เร็วขึ้น

เอื้องผึ้ง ไม้รุ่น หรือ เอื้องเผิ้ง เป็นกล้วยไม้ที่เกาะอาศัยอยู่บนต้นไม้ มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Dendrobium lindleyi Steud – Syn. : aggregatum Roxb. ลำลูกกล้วยเบียดกันแน่นรูป ลักษณะแบบกล้วยยาวราว 2 – 3 นิ้ว ลำลูกกล้วยหนุ่มจะอวบอ้วน พอลำแก่ ๆ ขึ้นจะค่อย ๆ มีรอยย่น แต่ละลำมีเพียง 1 ใบ ใบสีเขียวเข้ม ยาวรีประมาณ 1 นิ้ว ช่อดอกออกด้านข้างลำลูกกล้วย ยาวประมาณ 7 นิ้ว มีดอก 7 – 20 ดอก หรือมากกว่านี้ ดอกสีเหลืองอ่อนเมื่อแรกบานแล้วสีจะค่อย ๆ เข้มขึ้น ปากสีเหลืองทอง กลีบนอกรูปไข่ตั้ง กลีบใบรูปไข่เกือบกลมละกว้างกว่ากลีบนอกเท่าหนึ่ง ปากยาวรีไปทางขวาง ขอบแผ่น ปากจักเป็นซี่ละเอียด ดอกบอบบางและบานไม่นานนัก พบขึ้นทุกภาคยกเว้นภาคใต้ มักพบตามป่าผลัดใบ ขึ้นตามกิ่งไม้ที่แดดส่องถึง ออกดอกราวเดือนมีนาคม – พฤษภาคม ดอกเอื้องชนิดนี้ เป็นที่นิยมของเหล่าช่างฟ้อนชาวล้านนาทั้งหลาย ที่จะนำไปเกี้ยวมวยผมในการฟ้อนเนื่องในการเฉลิมฉลองสมโภชต่าง ๆ

Facebook
Twitter
LinkedIn