เขากวางแดงชิเนนทรเชียงใหม่ หลังจากเวลาว่างเว้นไปเกือบ 30 ปี ที่ ที่ไม่มีการพบเจอ ฟาแลนด์เขากวางอ่อนต้นใดเลยที่ มีลักษณะ เข้ากันได้กับ ฟาแลนด์เขากวางแดงต้น “ ฉัตรลดา ” หลังจากนั้นในเดือนสิงหาคม พ ศ. 2545 จากเทือกเขาบริเวณ ดอยขุนตาน เทือกเขาสูงทางภาคเหนือระยะทาง 48 กิโลเมตรทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ของเชียงใหม่ กระดับความสูง 700 เมตรจากระดับน้ำทะเล คนเก็บของป่าท้องถิ่นคนหนึ่งได้พบ และ เก็บฟาแลนด์เขากวางอ่อนต้นหนึ่งซึ่งมีลักษณะของสีซึ่ง พิเศษโดดเด่น กว่าต้นอื่นทั้งหมด และ ได้นำมาให้คุณ สุรพนธ์ ตังกิตติสุข เจ้าของร้านขายต้นไม้ ดอกไม้ อุปกรณ์การเกษตร รวมถึงกรงนก และ อาหารนก ในตลาดท้องถิ่นแห่งหนึ่งในจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งแต่เดิม เขาเคยปลูกเลี้ยง และ ขายกล้วยไม้พันธุ์แท้มาก่อน และ ได้เลิกปลูกเลี้ยงไปในเวลาต่อมา ในครั้งนั้นเขาได้รับซื้อเขากวางแดงต้นนี้ เพราะความเด่นที่หายากของกล้วยไม้ต้นนี้ แต่เนื่องจากในเวลานั้นเขาไม่ได้ปลูกเลี้ยงกล้วยไม้แล้ว ในเวลานั้น เขาจึงได้มอบฟาแลนด์เขากวางอ่อนแดงต้นนี้ ต่อให้ คุณชิเนนทร ทิพากรกานต์ นักกล้วยไม้ผู้เชี่ยวชาญ การปลูกเลี้ยงและเป็นนักปรับปรุงพันธุ์ กล้วยไม้ เช่นเดียวกับที่คุณประวิทย์ ได้เคยจัดการกับฟาแลนด์เขากวางแดงต้นแรกของเขา หลังจากที่คุณชิเนนทร ได้ปลูกเลี้ยงเป็นเวลาไม่นานนัก ก็ได้ตัดสินใจลองผสมข้ามต้นกับต้นของคุณประวิทย์ ฉัตรลดา ซึ่งเคยทดลองผสมตัวเองหลายแล้วไม่สำเร็จ ซึ่งในครั้งนี้ ได้ใช้ ต้นป่าจากขุนตานเป็นต้นแม่ เพื่อถือฝัก โดยใช้เกสรตัวผู้จากต้นฉัตรลดาเป็นพ่อ และ จากคู่ผสมดังกล่าว ก็ประสบความสำเร็จตั้งแต่ในการผสมติดฝักครั้งแรกเลยทีเดียว
ลักษณะดอกของ เขากวางแดงชิเนนทรเชียงใหม่
เขากวางแดงชิเนนทรเชียงใหม่ ลักษณะฟอร์มดอก ดอกสีแดงทั้งดอก เรียบ เนียน ดูผึ่งผาย สวยงามมาก ออกดอกเป็นช่อกระจุก ดอกดกออกได้บ่อย ตลอดปี จากลักษณะภายนอกที่ปรากฏ เขากวางแดงต้นจากป่าทางเหนือของไทย ที่ถูกค้นพบที่ดอยขุนตานต้นนี้ มีรูปลักษณ์ ไม่ต่างจากเขากวางแดง ต้นฉัตรลดา ซึ่งคาดว่าน่าจะมาจากแหล่งสายพันธุ์ฟาแลนด์เขากวางอ่อนทะเลบัน (เขากวางอ่อนจากป่าทางใต้ ของไทยซึ่งมีก้านดอกยาวกว่าสายพันธุ์จากที่อื่น) ซึ่ง ดร. กุนนา ไซเดนฟาเดน (G.Seidenfaden) ได้กล่าวรวมไว้ถึงสายพันธุ์ที่พบ
เขากวางแดงชิเนนทรเชียงใหม่ รายละเอียดจำแนก และ คำนิยามที่ช่วยขยายความ
เขากวางแดงชิเนนทรเชียงใหม่ ขณะนี้ได้ มีการจำแนก และ กำหนด คำนิยามที่ช่วยขยายความตามแบบแผนทางพฤกษศาสตร์ ( Infraspecific epithet ) ระบุถึงลักษณะ ของฟาแลนด์ เขากวางแดงสายพันธุ์ ฉัตรลดา โดยเฉพาะต้นคุณประวิทย์ และ ต้นอื่น ๆ ในแบบเดียวกัน ซึ่งมีรายละเอียดต่างจากคำนิยาม ของฟาแลนด์เขากวางใต้สายพันธุ์ ทะเลบัน หรือ ฟาแลนด์ทะเลบัน ด้วยเหตุผลสามข้อโดยสำคัญคือ
- มีฟอร์มรูปร่างแตกต่างกันจากฟาแลนด์เขากวางใต้ สายพันธุ์ ทะเลบัน
- มีหลักฐานหรือข้อบ่งชี้ที่แสดงได้ว่าฟาแลนด์เขากวางแดง สายพันธุ์ ฉัตรลดา ไม่ได้เป็นการกลายพันธุ์ ที่พบโดดๆ แต่เพียงต้นเดียว
- เมื่อเทียบจากฟาแลนด์เขากวางต้นอื่นๆ เราจะพบความนิ่งของสายเลือดซึ่งคงเอกลักษณ์ เด่นถ่ายทอดไปยังลูกหลาน ซึ่งได้จากการผสมข้ามต้นป่าพ่อแม่ทั้งสองที่ ได้ค้นพบ และ เป็นต้นแบบของสายพันธุ์ ใหม่นี้
รายละเอียดที่ได้จำแนก และ บันทึกขึ้นทะเบียนในสารระบบ วงการพฤกษศาสตร์สากล ซึ่งมีคำนิยามอธิบายความเป็นภาษาละตินดังนี้ :
Phalaenopsis cornu-cervi forma chattaladae Grove, forma nova Type: From a cultivated plant, May 10 ,2006,D. Grove (holotype:BKL,Photo BKL). The cultivar name of the type specimen is “Chinanthorn”.
Sepalis petalisque punctis vittis maculisve omnino carentibus et utrinque , etiem ad marginem , uniformiter sanguineis a forma tipica speciei differt.
(Translation: From the typical form of the species it differs in sepals and petals completely lacking dots ,bands or blotches and on both sides , even to the margin,uniformly blood – red .)
แปลความจากคำนิยามภาษาละติน (ซึ่งเป็นธรรมเนียมในการเขียน บรรยายคุณลักษณะเพื่อจำแนกพันธุ์ไม้ ชนิดใหม่) ดังนี้
“จากต้นแบบเดิมของฟาแลนด์ชนิดนี้ พบว่ามีความแตกต่างที่กลีบนอก และ กลีบในทั้งหมด ปราศจาก จุด ลายบั้ง หรือปื้นสีแต้มใด ๆ ทั้งสองด้านของกลีบดอก เป็น สีแดงเลือด ทั่วทั้งดอก ”
การปลูกเลี้ยง เขากวางแดงชิเนนทรเชียงใหม่
เขากวางแดงชิเนนทรเชียงใหม่ ในการปลูก เขากวางแดงนั้น สามารถปลูกโดยการนำไปติดกับขอนไม้ วิธีการติดกับขอนไม้นั้นทำได้ดังนี้
- ล้างขอนไม้ที่จะนำ เขากวางแดง ไปติดให้สะอาด
- ใช้วัสดุรองระหว่างขอนไม้กับ เขากวางแดง เช่น กาบมะพร้าว หรือ สเฟกนั่มมอส หรือ รากชายผ้าสีดา ทั้งนี้เพื่อให้วัสดุปลูกเหล่านั้นคอยกักเก็บความชื้นให้กับ เขากวางแดง เพื่อให้กล้วยไม้โตเร็ว และ มีรากที่ สมบูรณ์ขึ้นกว่าเดิม * หากติดขอนไม้เพียว ๆ เขากวางแดง อาจจะมีต้นที่เล็ก และ โตช้าได้
- มัด เขากวางแดง กับขอนไม้ที่ใช้เป็นวัสดุปลูกให้แน่นด้วยเชือกฟาง หรือ อื่น ๆ แต่อย่าใช้ลวด เนื่องจากเส้นลวด อาจบาดต้นของ เขากวาง ได้ ทำให้เกิดแผล และ โรคอื่น ๆ ตามมา หรือ ตายไปเลย
- นำกล้วยไม้ที่ปลูกใหม่นี้แขวนไว้ในร่มรำไร อย่าร่มมากเกินไปเช่น ใต้โรงรถยนต์ หรือบริเวณที่ทึบ ควรแขวนอยู่ ในบริเวณที่ที่โปร่ง มีแสงสว่างทอดถึง หรือ ใต้แสลน 80% เป็นต้น
- รดน้ำวันละ 1 ครั้ง จะเช้า หรือ เย็น แล้วแต่สะดวก หากจะให้ดีควรให้ปุ๋ยเป็นประจำทุก ๆ 1 สัปดาห์จะทำให้ กล้วยไม้ของเรา แข็งแรง สวยงาม มากยิ่งขึ้น
- รอดูดอกได้เลย
เขากวางแดงชิเนนทรเชียงใหม่ (Phalaenopsis cornu – cervi forma ‘Chattaladae’) กล้วยไม้ รุ่นขนาดออกดอก เป็นกล้วยไม้ลูกเขากวางแดงป่า เพาะเลี้ยงจากเมล็ด ต้นที่จำหน่ายเป็น ต้นปลูกเกาะไม้แขวนต้นแข็งแรงรากเดินดีแล้ว สามารถย้ายปลูกลงกระถาง หรือ ปลูกเกาะต้นไม้ได้ ข้อมูลพฤกษาศาสตร์ : เขากวางแดงต้นชิเนนทร เป็นกล้วยไม้ป่า สกุลฟาแลนด์ พันธุ์แท้ของไทย ชนิดที่หายากมาก ดอกสีแดงทั้งดอก ออกดอกเป็นช่อกระจุก ดอกดกออกได้บ่อย ตลอดปี การปลูกเลี้ยง เป็นกล้วยไม้ ที่เลี้ยงง่ายทนร้อน แสงร่มรำไรปานกลาง เครื่องปลูกระบายน้ำดี อากาศถ่ายเทสะดวก