หวายตะวันตก ไม้นิ้ว DENDROBIUM SPP ดอกไม้สีสวย

หวายตะวันตก-ไม้นิ้ว

หวายตะวันตก ไม้นิ้ว กล้วยไม้ชนิดนี้ เป็นกล้วยไม้ในสกุล DENDROBIUM SPP พบขึ้นตามป่าดิบแล้งทั่วทุกภาคของประเทศไทย พบมากที่สุดในประเทศเมียนมาร์ ติดชายแดนไทยด้านทิศตะวันตก เลยถูกเรียกชื่อเป็นภาษาไทยว่า “หวายตะวันตก” มีลักษณะประจำพันธุ์คือ เวลามีดอกสีของดอกจะสวยงามมาก ใครได้พบเห็น ต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า เป็นธรรมชาติจริง ๆ เสียเพียงอย่างเดียว ดอกจะไม่มีกลิ่นหอม เท่านั้นเอง หวายตะวันตก เป็นกล้วยไม้อิงอาศัย หรือ EPIPHYTIC ORCHIDS มีลำต้นชัดเจนแล้วเจริญทางด้านปลายยอดเพียงด้านเดียว MONOPODIAL ลำต้นเป็นรูปแท่งดินสอ ปลายเรียวแหลม ผิวลำต้นเป็นสีน้ำตาลแดงทำให้ดูเหมือนต้นไม้แห้ง หรือ ต้นไม้ตายแห้ง ใบเป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับตามข้อหรือปล้องของลำต้น ปลายใบแหลม โคนใบเป็นกาบหุ้มลำต้น สีเขียวสด

อุปนิสัยส่วนตัวของ หวายตะวันตก ไม้นิ้ว

หวายตะวันตก ไม้นิ้ว อุปนิสัยส่วนตัวของ หวายตะวันตก นั้น ชอบแสงแดดที่ไม่ร้อนแผดเผาไหม้จนเกินไป อุณหภูมิราว ๆ 30 – 34 องศา กำลังดี สำหรับกล้วยไม้ชนิดนี้ และ เนื่องจากเป็นกล้วยไม้ที่มีรูปทรง ค่อนข้างผอมเพรียว ลำของ หวายตะวันตก โดยเฉพาะตรงโคนต้น จะมีขนาดใหญ่พอ ๆ กับหัวเข็มหมุด ดังนั้นจึงเป็นกล้วยไม้ ที่ไม่ค่อยชอบเครื่องปลูกชื้นแฉะนัก หวายตะวันตก ชอบที่แห้ง ๆ มากกว่าแฉะ ๆ นักเลี้ยงหลายท่าน อาจพบเจอกับปัญหา โคนต้น หวายตะวันตก เน่า หักง่าย นั่นก็เพราะรดน้ำเกินไป เครื่องปลูกชื้นไป หรือ แฉะไปนั่นเอง ดังนั้นควรพึงระวัง เนื่องจากกล้วยไม้ชนิดนี้ เดินทางมาจากดินแดนถิ่นแห้งแล้ง อย่าขยันรดน้ำจนเกินไป มิฉะนั้นอาจจะสำลักน้ำตายได้

ลักษณะของดอก หวายตะวันตก ไม้นิ้ว และ ฤดูกาลออกดอก

หวายตะวันตก ไม้นิ้ว ลักษณะของดอกไม้ ของดอกของหวายตะวันตก พื้นกลีบเป็นสีขาว และ แต่งแต้มสีแดงที่ฝีปาก ราวกับว่าเป็นสาวงามแปะแป้ง และ ทาลิปสติกยังไงยังงั้น บางครั้งก็พบว่า ดอกของหวายตะวันตก บางต้นยังมีปากเป็นสีเหลือง ดอกจะแทงออกบริเวณลำลูกกล้วย และ แตกแขนงออก เหมือนกับหวายตัดดอกทั่วไป แต่ใน 1 แขนง หวายตะวันตก ประกอบด้วยดอกนับ 10 ช่อ ซึ่งจำนวนจะขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของต้นในปีนั้นๆ ดอกของหวายตะวันตก จะบานอยู่ราว ๆ 1 – 2 สัปดาห์ และ ร่วงโรยทิ้งไว้ เหลือเพียงก้านของลำลูกกล้วยที่ว่างเปล่า เพื่อใช้เป็นแหล่งอาหารให้กับ ลำลูกกล้วยที่จะเติบโตใหม่ต่อไป ฤดูกาลให้ดอกของวายตะวันตก เมื่อถึงปลายปีราว ๆ ปลายเดือนพฤศจิกายน – มกราคม ของอีกปี หวายตะวันตก จะเริ่มพากันชูช่ออวดทรงแสนสวยงาม และ เมื่อหลังจากทิ้งเครื่องประดับ สีขาวตัดแดงแล้ว จะพักตัวด้วยก้านเปลือยเปล่าอีกครั้ง จนกระทั่งอากาศเริ่มอุ่นขึ้น ก็จะแทงหน่อเล็ก ๆ ขึ้นมาใหม่ และ เจ้าหน่อน้อย ๆ นี่เอง จะกลายเป็นเจ้าสำอางต้นใหม่ ที่ให้ช่อในช่วงหนาวของปลายปี ที่จะถึงเร็ว ๆ นี้นั่นเอง

หลักการเลี้ยง หวายตะวันตก ไม้นิ้ว ง่าย ๆ เพียงไม่กี่ขั้นตอน

หวายตะวันตก ไม้นิ้ว มีหลักการดูแลง่าย ๆ ดังนี้

  1. ระวังอย่าอยู่ร่ม หวายตะวันตก ชอบ แสงเยอะ ๆ และแห้ง ๆ
  2. ปุ๋ยสูตรเสมอ บำรุงต้นและหน่อเข้าไว้ เพื่อดอกที่พลั่งพลูปลายปี
  3. อย่าขยันรดน้ำเช้ารดน้ำเย็น ไม่เช่นนั้นอาจสำลักน้ำตายไม่เหลือหลอ
  4. ในฤดูฝนให้หมั่นฉีดพ่นยากันรา สัปดาห์ละครั้ง
  5. เครื่องปลูกหลีกเลี่ยงรากชายผ้าหรือสเฟกนั่มมอส อาจใส่ได้แต่ห้ามมาก
  6. ระวังการปลูก ให้เครื่องปลูกระบายน้ำง่าย และแห้งไวไม่ชื้นแฉะเกิน

หวายตะวันตก ไม้นิ้ว ( Dendrobium fytchianum ) กล้วยไม้ทรงขนาดกลาง มีดอกพลั่งพลูสีขาวปากแดงราวกับถูกแต่งแต้มด้วยเครื่องสำอางชนิดนี้มีชื่อว่า หวายตะวันตก เป็นกล้วยไม้ที่อวดทรงชูดอก ได้น่ารักน่าชังชนิดหนึ่ง และ ชื่อของ หวายตะวันตก นั้นก็มีที่มาจากถิ่นกำเนิดของเขานั่นเอง ในไทยเราก็คงจะพบได้ทางแถบภาคตะวันตกแถว ๆ แถบชายแดนไทยพม่า แต่ที่แม่ค้าพ่อขายทั้งหลาย แบกไม้กำมาจำหน่าย คงหาบมาจากทางพม่ามากกว่า เนื่องจากในไทยเรา หวายตะวันตก ในธรรมชาติเหลือลดน้อยลง จนอาจจะสูญพันธุ์ไปแล้วก็ได้

Facebook
Twitter
LinkedIn