กล้วยไม้ สกุลหวาย แน่นอนว่าสำหรับคนที่ชื่นชอบกล้วยไม้ กล้วยไม้หวาย ถือเป็นหนึ่งในทางเลือกแรก ๆ สำหรับการเลือกสายพันธุ์ของกล้วยไม้ เข้ามาประดับตกแต่งภายในบ้าน หรือ พื้นที่ต่าง ๆ ในสวน เพราะนอกจากจะจะเป็นไม้ดอกที่มีสีสันสวยงามเป็นอย่างมากแล้ว ความพิเศษอีกอย่างหนึ่งของกล้วยไม้ชนิดนี้นั่นก็คือการช่วยดูดคาร์บอนไดออกไซด์ และ คายออกซิเจนซึ่งทำให้บรรยากาศรอบ ๆ ต้นกล้วยไม้นั้นสดชื่น และ น่าอยู่มากยิ่งขึ้นอีกด้วย ดังนั้นไม่ว่าจะเลือกปลูกไว้ภายในบ้าน หรือ ระเบียงคอนโดก็ถือเป็นหนึ่งในทางเลือกที่น่าสนใจเลยทีเดียว แต่สำหรับใครที่ยังไม่เคยรู้จักกับกล้วยไม้ชนิดนี้ วันนี้เราจะพาทุกคนไปทำความรู้จักต้นนี้กัน ว่านอกจากความสวยงามแล้ว กล้วยไม้ชนิดนี้มีวิธีดูแลอย่างไรบ้าง เผื่อใครที่เริ่มจะรู้สึกอยากปลูกกล้วยไม้สีสันสวยงามต้นนี้ขึ้นมาบ้างแล้ว
กล้วยไม้ หวาย มีลักษณะเป็นอย่างไร ?
จะว่าไปกล้วยไม้ หวาย นั้น ถือเป็นหนึ่งในสายพันธุ์ของกล้วยไม้ที่พบได้เป็นจำนวนมาก เนื่องจากมีการค้นพบกล้วยไม้ชนิดนี้มากกว่า 1,000 สายพันธุ์ ทั้งในทั้งในทวีปเอเชีย และ หมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกเลยทีเดียว ซึ่งแต่ละสายพันธุ์นั้นก็จะมีลักษณะของดอกที่แตกต่างกันออกไป ไม่ว่าจะเป็นสี รูปร่าง หรือ ขนาดความเล็กใหญ่ของดอก ในส่วนของลักษณะการเจริญเติบโตของกล้วยไม้ชนิดนี้นั้น สามารถเติบโตได้ดีทั้งในพื้นที่ที่มีอากาศร้อนชื้น หรือ หนาวเย็น ดังนั้นจึงเหมาะอย่างมากสำหรับการปลูกในประเทศไทย นอกจากนี้ยังมีดอกออกในทุก ๆ ฤดูกาล จึงเหมาะทั้งสำหรับปลูกเพื่อขายดอก เพื่อใช้สำหรับจัดแจกัน หรือ ใช้ในการบูชาพระก็สามารถทำได้ และ ยังเหมาะสำหรับการปลูกไว้ภายในพื้นที่บ้าน หรือ คอนโดเพื่อใช้ประดับตกแต่งที่พักผ่อนให้สวยงาม และ สดชื่นมากยิ่งขึ้นอีกด้วย
ลักษณะของต้น กล้วยไม้ หวาย มีลักษณะสำคัญอะไรบ้าง ?
หลังจากที่ได้รู้ลักษณะของ กล้วยไม้ หวาย ว่าเป็นอย่างไรไปอย่างคร่าว ๆ แล้ว คราวนี้ลองมารู้จักกับลักษณะของต้นกล้วยไม้ชนิดนี้กันบ้าง ว่ามีลักษณะที่สำคัญอย่างไรบ้าง ต้นกล้วยไม้หวายนั้น มีระบบรากแบบกึ่งอากาศ ซึ่งจะเห็นได้อย่างชัดเจนจากลักษณะของรากที่จะโผล่พ้นกระถางออกมานั่นเอง ซึ่งหลาย ๆ คนอาจมองว่าลักษณะของรากที่โผล่พ้นกระถางออกมาเช่นนี้ ทำให้สายพันธุ์ของต้นกล้วยไม้มีเสน่ห์ และ ความสวยงามเพิ่มมากขึ้นไปอีก ในส่วนของลำต้นนั้นจะมีลักษณะเป็นลำต้นที่มีความอวบน้ำ และ มีการเจริญเติบโตในลักษณะของการแตกกอ ซึ่งการแตกหน่อนั้นจะเกิดหนึ่งหน่อต่อหนึ่งลำ แต่หากต้นกล้วยไม้ได้รับการเลี้ยงดูอย่างดี และ มีความสมบูรณ์มาก ก็อาจมีการแตกหน่อถึงสองหน่อต่อหนึ่งลำได้เช่นกัน ซึ่งโดยส่วนใหญ่ลำต้นหนึ่งจะใช้เวลาประมาณ 3 – 6 เดือนลำต้นก็จะเจริญเติบโตจนสุด และ เมื่อกล้วยไม้มีการเจริญเติบโตอย่างสุดลำแล้วก็จะให้ดอกไม้ 1 – 5 ช่อที่ปลายลำ โดยแต่ลำจะสามารถให้ช่อได้ประมาณ 5 – 15 ช่อนั่นเอง ซึ่งถือได้ว่าเป็นลักษณะของเด่นสำคัญอีกอย่างหนึ่งของดอกกล้วยไม้ ที่จะให้ดอกเป็นช่อสวยงามสมบูรณ์ ต่างจากดอกไม้ชนิดอื่น ๆ ที่ส่วนใหญ่ดอกจะงอกออกมาในลักษณะแยกกันเดี่ยว ๆ ไม่ออกมาเป็นช่อ ดังนั้นหากต้องการเลือกกล้วยไม้หวายลักษณะดีก็จะต้องเลือกที่ลำต้นมีความอิ่มน้ำ ไม่แห้งเหี่ยว หรือ หากเลือกตอนที่กำลังออกดอกก็ต้องเลือกต้นที่มีดอกออกเป็นช่อสมบูรณ์นั่นเอง
หลายข้อดีของการปลูกกล้วยไม้ หวาย
แน่นอนว่าเมื่อได้รู้จักกับลักษณะต่าง ๆ ของกล้วยไม้ หวาย กันไปแล้ว คราวนี้เราขอสรุปลักษณะออกมาเป็นข้อดีทั้งหมด 8 ข้อ เผื่อใครที่อยากจะใช้เอาไว้ในการประกอบการตัดสินใจ กำลังชั่งใจว่าจะซื้อกล้วยไม้ดี หรือ ไม่ หรืออยากจะเอาไปนำเสนอสมาชิกภายในครอบครัว ว่ากล้วยไม้หวายมีข้อดีอย่างไร ทำไมต้องเลือกซื้อมาไว้ในบ้าน หรือ คอนโดมิเนียม ก็สามารถหยิบยกข้อดีทั้ง 8 ข้อนี้ไปใช้กันได้เลย
- ปลูกง่าย สำหรับใครหลาย ๆ คนที่ไม่ค่อยมีเวลา
- ช่วยดูดซับสารพิษในอากาศ
- เจริญเติบโตเร็ว และ ออกดอกตลอดทั้งปี
- ลำต้นแข็งแรง และ มีขนาดไม่ใหญ่จนเกินไป
- ดอกสวยงาม ทนทาน ไม่ร่วงง่าย
- เหมาะทั้งปลูกเพื่อความสวยงาม และ ปลูกขาย
- ลำต้นใช้เป็นยาสมุนไพรได้
- กล้วยไม้หวายราคาไม่แพง
กล้วยไม้สกุล หวาย (Dendrobium) เป็นกล้วยไม้สกุลใหญ่ที่สุด มีการแพร่กระจายพันธุ์ออกไปในบริเวณกว้างทั้งในทวีปเอเชีย และ หมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก นักพฤกษศาสตร์ได้จำแนกออกเป็นหมู่ประมาณ 20 หมู่ และ รวบรวมกล้วยไม้ชนิดนี้ที่ค้นพบแล้วได้ประมาณ 1,000 ชนิดพันธุ์ กล้วยไม้สกุลหวาย มีลักษณะการเจริญเติบโตแบบซิมโพเดียล คือ มีลำลูกกล้วย เมื่อลำต้นเจริญเติบโตเต็มที่แล้วจะแตกหน่อเป็นลำต้นใหม่ และ เป็นกอ ใบแข็งหนาสีเขียว ดอกมีลักษณะทั่วไปของกลีบชั้นนอกคู่บน และ คู่ล่างขนาดยาวพอ ๆ กันโดยกลีบชั้นนอกบนจะอยู่อย่างอิสระเดี่ยว ๆ ส่วนกลีบชั้นนอกคู่ล่างจะมีส่วนโคน ซึ่งมีลักษณะยื่นออกไปทางด้านหลังของส่วนล่างของดอกประสานเชื่อมติดกับฐาน หรือ สันหลังของเส้าเกสร และ ส่วนโคนของกลีบชั้นนอกคู่ล่าง และ ส่วนฐานของเส้าเกสรซึ่งประกอบกันจะปูดออกมา มีลักษณะคล้ายเดือยที่เรียกว่า “เดือยดอก” สำหรับกลีบชั้นในทั้งสองกลีบมีลักษณะต่าง ๆ กันแล้วแต่ชนิดพันธุ์ของกล้วยไม้นั้น ๆ