สิงโตพัดแดง สิงโตพัดโบก cirrhopetalum curtisii เป็นกล้วยไม้ที่ได้ถูกศึกษาจำแนก และ ตั้งชื่อโดย นายโจเซฟ ฮุกเคอร์ ตีพิมพ์ลงในวารสารทางพฤกษศาสตร์ ชื่อ โบทานิคั่ล แมกกาซีน ในปี พ.ศ. 2440 โดย อ้างอิงจากแบบต้นตัวอย่างที่เก็บได้จากทางภาคใต้ของประเทศไทย เขาได้ตังชื่อกล้วยไม้ชนิดนี้เพื่อเป็นเกียรติแก่ นาย ชาร์ล เคอทิส ซึ่งเป็นนักสะสมพันธุ์ไม้จากสวน แมสวิทช์ และบุตร ซึ่งในช่วงปี พ.ศ. 2427 – 2446 นายชาร์ล เคอทิส ได้ทำงานเป็นผู้ดูแลสวนพฤกษศาสตร์ แห่งปีนัง และ เป็นคนเก็บกล้วยไม้ สิงโตชนิดนี้ ให้กับสวนพรรณไม้ วิชช์ เนสเซอรี่ นั่นเอง และ หลังจากนั้น อีก 20 ปี ให้หลัง นาย โจฮานซ์ สมิทช์ได้ศึกษาจำแนกกล้วยไม้ต้นเดียวกันนี้ซึ่งได้จากเกาะบอร์เนียว และ ได้ตั้งเป็นอีกชื่อหนึ่งในนาม Bulbophyllum corolliferum ในครั้งนั้นได้ตีพิมพ์ลงใน วารสารพฤกษศาสตร์ ชื่อ Bulletin de Jardin Botanique De Buitenzorg ในปี พ ศ. 2460 ต่อมา นางเลสลี่ การ์เล่ ได้สรุป และ ยอมรับกล้วยไม้ สิงโตพัดแดง ชนิดที่มีดอกสีเหลืองครีมอ่อน ซึ่งค้นพบจากประเทศไทย ให้เป็นชนิดสายพันธ์ย่อย ชื่อ ลูเทสเซ้น (var. lutescens) ของ สิงโตพัดแดง และ ตีพิมพ์ลงในวารสารทางพฤกษศาสตร์ ชื่อ ฮาร์วาร์ต เปเปอ อิน โบทานี ในปี พ .ศ.2542 โดยชื่อสายพันธุ์ย่อย นี้ มาจากรากศัพท์ ภาษาละตินสองคำ คือ คำว่า lutes มีความหมายถึงสีเหลืองเข้ม และ คำท้ายว่า escens แปลว่ากลายเป็น รวมหมายถึงลักษณะสีเหลืองครีมอ่อนของกลีบดอกนั่นเอง
การปลูกเลี้ยง สิงโตพัดแดง สิงโตพัดโบก cirrhopetalum curtisii
สิงโตพัดแดง สิงโตพัดโบก cirrhopetalum curtisii กล้วยไม้สิงโต ชนิดนี้ สามารถปลูกเลี้ยงได้ดีในสภาพภูมิอากาศร้อนชื้น ในบริเวณที่มีความชื้นค่อนข้างสูง และ อากาศถ่ายเทสะดวก ในฤดูหนาว สิงโตพัดแดง สามารถทนทานต่ออากาศหนาวได้แม้อุณหภูมิ ลดต่ำลงถึง 18 องศาเซลเซียส สามารถปลูกในกระถาง หรือ กระเช้าไม้สัก สิงโตพัดแดง ชอบวัสดุปลูกที่ไม่แฉะ และ ระบายน้ำได้ดีพอควร และ ด้วยลักษณะของต้นที่เป็นไหลทอดเลื้อย ทำให้สามารถปลูกแขวนกับกิ่งไม้ ท่อนไม้ หรือ เปลือกไม้เนื้อแข็ง หรือ ท่อนเฟินได้ แต่หากปลูก สิงโตพัดแดง แขวนกับกิ่งไม้ท่อนไม้ควรรดน้ำหรือพ่นละอองฝอยน้ำเพิ่มเติมเพื่อความชื้น ในระหว่างช่วงที่อากาศแห้งแล้ง แต่ก็ควรให้ต้นของ สิงโตพัดแดง ได้มีโอกาสแห้งบ้างในระหว่างวัน เพราะการให้น้ำมากเกินไปโดยเฉพาะอย่างยิ่งในฤดูหนาวเมื่อเกิดความชื้นสูง และ อุณหภูมิเปลี่ยนแปลงมากอย่างกะทันหัน อาจทำให้เกิดโรคราดำเข้าทำลายต้น และ ใบของ สิงโตพัดแดง ทำให้ใบหลุดร่วงเสียหายได้
ลักษณะของ สิงโตพัดแดง สิงโตพัดโบก cirrhopetalum curtisii
สิงโตพัดแดง สิงโตพัดโบก cirrhopetalum curtisii มีลำลูกกล้วยขนาดเล็ก รูปไข่ยอดแหลม ซึ่งเกิดระหว่างไหลช่วงระยะห่าง 0.5 – 1 ซม. ขนาดลำลูกกล้วยมีขนาดโดยเฉลี่ย สูงประมาณ 1.5 ซม. กว้างประมาณ 1.3 ซม. มีใบเดี่ยวยาวรี กว้าง 2 – 3 ซม. ใบยาวประมาณ 9 – 13 ซม. ก้านดอกเล็กเรียวยาว 7-14 ซม. ก้านดอกสีม่วงอมแดง เกิดจากตาดอกที่โคนลำลูกกล้วย มีดอกขนาดเล็ก สีตั้งแต่ม่วงแดงอ่อน ๆ ไปจนถึงสีเข้มจัด มีดอกในช่อจำนวน 12 ดอก หรือ อาจมากกว่านั้น ที่กลีบปากมีสีเหลืองสด ขาดของดอกแต่ละดอกมีกลีบกว้างประมาณ 1 – 1.5 ซม. ในสายพันธุ์ ย่อย ลูเทสเซ็นส์ (var. lutescens) กลีบดอกจะมีสีเหลืองครีมอ่อนทั้งดอก และ มีกลีบปากสีเหลืองส้มเข้ม ดอกบานนาน ประมาณ 5 -7 วัน ที่กลีบดอกล่างรูปพัด จะมี เมือกเหลวใส ๆ ลักษณะคล้ายไข่ขาว เคลือบอยู่ทั่วผิวหน้าของกลีบ
การกระจายพันธุ์ของ สิงโตพัดแดงพบทางภาคใต้ ของไทย มาเลเซีย เกาะสุมาตรา และ เกาะบอร์เนียว ของประเทศอินโดนีเซีย โดยมาก เราจะพบ กล้วยไม้ สิงโตพัดแดง ชนิดนี้ ขึ้นอยู่ในป่าดิบชื้นระดับต่ำ ตามคาคบไม้
สรุปนิยามของ สิงโตพัดแดง สิงโตพัดโบก cirrhopetalum curtisii
สิงโตพัดแดง สิงโตพัดโบก cirrhopetalum curtisii เลสสลี่ การ์ เล่ , ฟริทซ์ เฮมเมอร์ และ เอมิลี่ ไซเจอริส นัก พฤกษศาสตร์ทั้งสาม ได้ร่วมกันสรุปนิยาม และลักษณะจำกัดความที่แยก กล้วยไม้สิงโตกลุ่มพัด (Cirrhopetalum) ออกจาก กล้วยไม้ สกุลสิงโตทั่วไป (Bulbophylum) เนื่องจากลักษณะของกลุ่มดอกที่แผ่ออก เป็นรูปพัด และ รูปร่างของกลีบดอกด้านนอกคู่ล่างที่เชื่อมติดกันเป็นแผ่นเดียว อันเป็นเอกลักษณ์ของกล้วยไม้สิงโตกลุ่มนี้ ซึ่งรายงานดังกล่าวได้ประกาศตีพิมพ์ลงในวารสารด้านพฤกษศาสตร์ ชื่อ นอร์ดิค เจอนัล ออฟ โบทานี่ ในปี พ. ศ. 2537 ซึ่งในอนาคต เราก็ต่างรอคอยการศึกษาด้าน ชีวโมเลกุล เพื่อศึกษาความชัดเจนของลักษณะทางพันธุกรรม ของ กล้วยไม้ สิงโตพัด กลุ่มนี้
สิงโตพัดแดง สิงโตพัดโบก cirrhopetalum curtisii กล้วยไม้อิงอาศัย เจริญเติบโตทางด้านข้าง มีเหง้าเล็ก ๆ ทอดเลื้อย ต้นขนาดเล็ก ลำลูกกล้วยรูปไข่ ลักษณะดอก สีขาวอมแดงเรื่อ กลีบเลี้ยงคู่ข้างเชื่อมติดกัน และ แผ่กางออก สีแดงเรื่อ ออกดอกเดือนตุลาคม – พฤศจิกายน วัสดุปลูกควรใช้วัสดุที่เก็บความชื้นได้ดี โปร่ง ระบายน้ำ และ อากาศดี เช่น ถ่านทุบ อิฐมอญทุบ กาบมะพร้าว รากเฟินชายผ้าสีดา เศษกระถางแตก หินภูเขาไฟ เป็นต้น เลี้ยงง่ายชอบแดดรำไร ชอบน้ำปานกลาง ขยายพันธุ์โดยการแยกกอ ปักชำ หรือเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เหมาะปลูกเป็นไม้กระถางแขวนประดับสวน หรือมุมบ้าน