สภาพแวดล้อมและโรงเรือนในการปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ โดยทั่วไป สามารถปรับแต่งสภาพแวดล้อมในบริเวณที่เราจะเลี้ยง ได้ไม่ยากนัก เนื่องจากว่า กล้วยไม้ส่วนใหญ่ที่เราปลูกเลี้ยงก็เป็นกล้วยไม้เขตร้อน เพียงแต่เราเลือกทำเล และ ช่วยปรับแต่งสภาพแวดล้อม เพื่อบรรเทาความรุนแรงของ สภาพธรรมชาติ เช่น ช่วยพรางแสงแดด ลงเพียงเล็กน้อยก็สามารถ ทำให้กล้วยไม้ที่เลี้ยงเจริญงอกงามดี บางครั้งก็สามารถเลี้ยงกล้วยไม้ ได้โดยไม่ต้องมีโรงเรือนกล้วยไม้ โดยอาจแขวนไว้ตามชายคา หรือ ใต้ต้นไม้ได้ แต่ต้องให้ได้รับแสง ความชื้น และ การถ่ายเทอากาศ อย่างเหมาะสม และ เพียงพอ
ปัจจัยสภาพแวดล้อมและโรงเรือนในการปลูกเลี้ยงกล้วยไม้
สภาพแวดล้อมและโรงเรือนในการปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ เนื่องจากกล้วยไม้ที่ปลูกในประเทศไทยเป็นไม้เขตร้อน ดังนั้นปัจจัยสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวกับอุณหภูมิจึงไม่ต้องคำนึงถึงมากนัก แต่ปัจจัยสภาพแวดล้อมที่ต้องคำนึงถึงเป็นอย่างมากมีอยู่ 3 ปัจจัย คือ
- ความเข้มแสงแดด กล้วยไม้บางชนิดต้องการแสงแดดเต็มที่ แต่บางชนิดต้องการร่มเงามาก โครงสร้างของใบกล้วยไม่มีความสัมพันธ์กับความต้องการแสงแดด กล้วยไม้ใบหนา และ ใบกลม จะต้องการแสงแดดเต็มที่ เมื่อโครงสร้างใบเริ่มกว้าง และ นิ่มจะต้องการแสงแดดน้อยลง และ เมื่อใบนิ่มสีเขียวมีแผ่นใบใหญ่จะต้องการร่มเงามาก ดังนั้นจึงควรเลือกตาข่ายพรางแสงให้แสงผ่านได้มากน้อยตามความต้องการของกล้วยไม้ชนิดนั้น ๆ
- ความชื้น กล้วยไม้ส่วนใหญ่ต้องการความชื้นสูง และ มีความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศ 60 – 80 % แต่ไม่ต้องการให้บริเวณรากชื้นแฉะจนเกินไปโดยเฉพาะกล้วยไม้อากาศ กล้วยไม้ที่มีใบหนา ผิวใบหยาบรวมทั้งมีลำลูกกล้วย (pseudobulb) จะทนต่อสภาพแห้งแล้งได้ดีกว่า กล้วยไม้ที่มีใบบาง ผิวใบนิ่ม รวมทั้งไม่มีลำลูกกล้วย การปรับความชื้นภายในโรงเรือนให้เหมาะสมทำได้โดยการให้น้ำในปริมาณที่เหมาะสม ปลูกกล้วยไม้ในปริมาณที่เหมาะสม และ จัดการสภาพแวดล้อมภายนอกโรงเรือนให้มีความชื้นเพียงพอ
- การเคลื่อนที่อากาศ กล้วยไม้ส่วนใหญ่โดยเฉพาะกล้วยไม้อากาศเจริญตามกิ่งไม้ ดังนั้นบริเวณที่ปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ควรมีการเคลื่อนที่ของอากาศที่ดี ต้นกล้วยไม้จึงจะเจริญเติบโตได้ดี
สภาพแวดล้อมและโรงเรือนในการปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ การสร้างโรงเรือนปลูกเลี้ยง
สภาพแวดล้อมและโรงเรือนในการปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ การสร้างโรงเรือนกล้วยไม้ นับเป็นค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูง ดังนั้นเราจึงควรเลือก เลี้ยงกล้วยไม้ที่เหมาะสมกับพื้นที่ ที่มีอยู่ เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการปรับแต่งโรงเรือนไม่ให้สิ้นเปลืองมาก มักมุงด้วยซาแรน 60 – 70 % เพื่อพรางแสง แต่ก็มีบางแห่งใช้ 50% สำหรับกล้วยไม้ตัดดอก เช่นหวาย หรือ ม็อกคารา โรงเรือนยังทำหน้าที่ป้องกัน และ ลดความรุนแรงของลม และ ฝน และ เก็บความชื้นในอากาศ ให้สูงกว่าด้านนอกโรงเรือน ส่วนใหญ่ความสูงของโรงเรือนจะอยู่ที่ 2.5 – 3.5 เมตร โดยใช้เสาปูนคอนกรีตอัดแรง ที่มีขายสำเร็จรูป การแขวน ก็ใช้ท่อแป็ป ประปา ที่ชุบกันสนิม ขนาด 4 หุน จะพอดีกับขนาดลวดแขวนกล้วยไม้ ทั่วไป (ถ้าใช้ไม้ไผ่ก็ได้ แต่อายุการใช้งานสั้นต้องเปลี่ยนบ่อย และ มีมอดกินไม้ด้วย) โดยทั่วไป ควรจะจัดราวแขวนเพื่อแขวนกล้วยไม้ไปในแนวทิศเหนือใต้ (ขวางตะวัน) เพื่อที่ตลอดวันต้นไม้จะได้รับแสงอย่างสม่ำเสมอ และ ลำต้น หรือ ช่อดอก จะไม่เอียง คดงอไปหาแสงหากได้รับแสงเพียงด้านเดียว แต่หากสภาพพื้นที่จำกัดเช่นพื้นที่ข้างบ้าน ก็สามารถจัดสภาพโรงเรือนตามแนวของสถานที่ได้
สภาพแวดล้อมและโรงเรือนในการปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ ลักษณะโรงเรือนของกล้วยไม้แต่ละสกุล
สภาพแวดล้อมและโรงเรือนในการปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ ลักษณะโรงเรือนของกล้วยไม้แต่ละสกุล มีดังนี้
สกุล | ความสูงโรงเรือน (เมตร) % | การพรางแสง | วิธีการปลูก |
หวาย | 2.5 – 3.5 | 50 – 60 | วางบนชั้น |
ออนซิเดียม | 2.5 – 3.5 | 40 – 50 | วางบนชั้น |
อะแรนด้า | 3.0 – 4.0 | 50 – 70 | วางบนชั้น หรือ ปลูกลงแปลง |
ม๊อคคาล่า | 3.0 – 4.0 | 50 – 70 | วางบนชั้น หรือ ปลูกลงแปลง |
แวนด้า ใบแบน | 3.0 – 4.0 | 40 – 50 | วางบนชั้น หรือ แขวน หรือ ลงแปลง |
แวนด้า ใบร่อง | 3.0 – 4.0 | 20 – 30 | ปลูกลงแปลง |
สภาพแวดล้อมและโรงเรือนในการปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ การปลูกเลี้ยงกล้วยไม้นั้น โรงเรือน และ สภาพแวดล้อม ก็เป็นเพียงปัจจัย ส่วนหนึ่ง เท่านั้นส่วนที่เหลือยังเกี่ยวกับการปฏิบัติดูแลของผู้ปลูกเลี้ยงอีกด้วย ที่สำคัญ ผู้ปลูกเลี้ยง ควรต้องศึกษาเกี่ยวกับสายพันธุ์กล้วยไม้ที่ต้องการนำมาปลูกให้ดี ว่าสามารถปลูกเลี้ยงได้ หรือ ไม่ บางชนิดเป็นกล้วยไม้ที่ขึ้นในป่าพรุมีความชื้นในธรรมชาติเกือบ 100% หรือ บางชนิดเป็นสายพันธุ์ขึ้นที่ระดับความสูงมาก ๆ อากาศเย็น ไม่สามารถเลี้ยงได้ในพื้นที่ราบ ถึงแม้ว่าจะสร้างโรงเรือนให้ดีเพียงใดก็ตาม หรือ เป็นโรงปิดติดเครื่องปรับอากาศ แต่ก็ไม่สามารถควบคุมความกดอากาศให้เหมือนสภาพภูเขาสูงได้ ดังนั้นจึงควรศึกษาหาข้อมูลเบื้องต้น เกี่ยวกับกล้วยไม้ที่จะนำมาปลูกเลี้ยง ให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมที่เราจะนำมาปลูก จะมีส่วนช่วยให้การปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ประสบความสำเร็จ