สกุลสิงโต กล้วยไม้สกุลสิงโตกลอกตา มีมากในธรรมชาติ ซึ่งมากเป็นอันดับ 2 รองจากกล้วยไม้สกุลหวาย พบได้ทั่วทุกภาคของประเทศไทย ชื่อของกล้วยไม้ “bulbos” เป็นภาษากรีก ซึ่งแปลว่า “หัว” และ “phyllon” แปลว่า “ใบ” รวมกันแล้ว แปลว่า “หัว และ ใบ” ซึ่งเป็นลักษณะของกล้วยไม้ชนิดนี้ กล้วยไม้สกุลสิงโตกลอกตา มีประวัติอันยาวนาน สกุล Bulbophyllum ถูกตั้งขึ้นตั้งแต่ ค.ศ. 1822 ในสกุลสิงโตกลอกตานี้ มีสายพันธุ์มากกว่า 2000 ชนิด ส่วนใหญ่กระจายพันธุ์ในเขตร้อน ซึ่งยากที่นักวิทยาศาสตร์จะเข้าไปศึกษา กล้วยไม้สกุลนี้ จึงมีการตั้งชื่อซ้ำกันมากกว่าสกุลอื่น ๆ ในปัจจุบัน ก็ยังคงพัฒนาพันธุ์ใหม่ๆมากมาย
ประเภทการเจริญเติบโต และ ลักษณะของกล้วยไม้สกุลสิงโต
ประเภทการเจริญเติบโต กล้วยไม้ สกุลสิงโต กล้วยไม้สิงโต เป็นกล้วยไม้อิงอาศัย เป็นกล้วยไม้ที่อาศัยบนต้นไม้ยืนต้น ใช้รากยึดเกาะต้นไม้ให้ติดแน่นเพื่อพยุงลำต้น และ ยังสามารถหาอาหารมาเลี้ยงลำต้นด้วย
ลักษณะการเจริญเติบโต ลำต้น (ลำต้นแท้ หรือ เหง้า) จะเจริญไปตามแนวนอนของเครื่องปลูก ส่วนที่งอกออกมาจากเหง้าอาจมีเพียงแค่ใบ คล้ายกล้วยไม้สกุลรองเท้านารี หรืออาจมีลำลูกกล้วยกับใบเท่านั้น เช่น กล้วยไม้แคทลียา ตาที่อยู่ระหว่างลำลูกกล้วยกับเหง้านั้น มีความสมบูรณ์มาก ซึ่งหากลำลูกกล้วยนั้นเจริญเติบโตเต็มที่แล้ว ตาก็จะแตกหน่อออกมาใหม่ กล้วยไม้ที่มีลักษณะแตกกอ
ระบบรากของกล้วยไม้สิงโต รากกึ่งอากาศ กล้วยไม้ชนิดนี้ มักพบอยู่บนดิน หิน หรือบนต้นไม้ รากมีลักษณะน้ำสามารถดูดน้ำเก็บไว้ได้มาก รากมีขนาดเล็กกว่ารากอากาศ รากส่วนมากจะหลบอยู่ในกระถาง แต่อาจมีรากบางเส้นโผล่ออกมา กล้วยไม้ที่มีรากประเภทนี้ไม่ชอบเครื่องปลูกที่แน่น หรือ เปียกแฉะนานเกินไป ซึ่งจะทำให้รากได้รับอากาศไม่เพียงพอ กล้วยไม้ที่มีรากชนิดนี้ได้แก่ สกุลแคทลียา ออนซิเดียม ซิมบิเดียม เป็นต้น
ดอก
- กลีบเลี้ยงบน
- กลีบเลี้ยงล่าง
- กลีบดอกบน
- ปาก
ช่อดอก ออกที่โคนลำลูกกล้วย หนึ่งลำมีทั้งดอกเดี่ยว และ หลายๆดอกในช่อเดียวกัน มีทั้งช่อดอกสั้น และ ยาว ในประเทศไทยช่อดอกที่มี 4 – 8 ช่อ พบได้เพียงชนิดเดียวคือ สิงโตทองผาภูมิ ลักษณะของช่อดอกนั้นมีหลายแบบดังนี้
- ช่อดอกแบบซี่ร่ม (umbel) พบได้บ่อยอยู่ในกลุ่มสิงโตพัด หรือ สิงโตร่ม มีลักษณะคือก้านของช่อดอกเรียวยาว และ ตรง ออกจากโคนลำลูกกล้วย ปลายช่อมีก้านดอกยื่นออกจากจุดเดียวกันตามจำนวนของดอกปลายก้านมีดอกย่อยเรียงแผ่เป็นรัศมีคล้ายกับซี่ของร่มที่กาง
- ช่อดอกแบบกระจะ (raceme) พบมากที่สุด ส่วนใหญ่จะอยู่ในกลุ่มของสิงโตรวงข้าว ช่อดอกมักจะมีสองส่วน คือ ก้านช่อดอก และ แกนช่อดอก ก้านช่อดอกจะติดกับโคนของลำลูกกล้วยชูตั้ง หรือ ห้อยลง ก้านดอกจะสั้น หรือ ยาวแตกต่างกัน แกนช่อดอกที่มีดอกติดอยู่จะยาวตรงออกจากแนวของก้านช่อดอก หรือ ห้อยลงจากก้านช่อดอก เช่นกลุ่มสิงโตใบพาย
ใบกล้วยไม้สิงโต โดยทั่วไป กล้วยไม้สิงโต จะมีใบโผล่ออกมาจากปลายของลำลูกกล้วย ประมาณ 1 หรือ 2 ใบเท่านั้น ส่วนมากมีแค่ใบเดียว กล้วยไม้สิงโตบางชนิด มีหัวเล็กมาก จนแทบเป็นปม ใบอวบน้ำ หนา แข็ง เมื่อเจริญเติบโตเต็มที่แล้ว กล้วยไม้สิงโตจะทิ้งใบ เหลือลำลูกกล้วยไว้สะสมอาหาร
การให้น้ำ และ ปุ๋ยกล้วยไม้สกุลสิงโต
สกุลสิงโต กล้วยไม้สกุลสิงโต ชอบความชุ่มชื้น สถานที่ ที่ปลูกเลี้ยง ควรมีความชื้นอยู่ตลอดเวลา ในฤดูร้อน ไม่ควรปล่อยให้กล้วยไม้สิงโตแห้ง ซึ่งกล้วยไม้อาจตายได้ ในฤดูฝน ในช่วงฝนตกชุก ไม่ควรรดน้ำกล้วยไม้ เพราะอาจจะทำให้กล้วยไม้สิงโตเน่าตาย
ปุ๋ยกล้วยไม้สิงโต ก่อนการให้ปุ๋ย ควรรดน้ำให้กล้วยไม้ชุ่มก่อน จากนั้นก็ฉีดปุ๋ยใส่ เพราะว่ากล้วยไม้ทุกชนิด จะสามารถดูดซึมสารอาหารได้ทางราก และ ใบ ซึ่งในขณะที่ต้นกำลังเปียกอยู่ จะมีความสามารถดูดซึมปุ๋ยได้ดีกว่าต้นที่แห้ง ปุ๋ยที่ใช้ ควรเป็นปุ๋ยสูตรเสมอ การให้ปุ๋ย อาจจะให้สักเดือนละครั้ง หรือ 2 ครั้งเท่านั้น
สกุลสิงโต กับ อุณหภูมิ และ แสงแดด
สกุลสิงโต กล้วยไม้สกุลนี้ ชอบแสงแดดรำไรนิดหน่อย ควรมีการพรางแสงประมาณ 50 ถึง 60 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น หากโดนแสงโดยตรง กล้วยไม้สิงโตจะใบแห้ง และ ทิ้งใบอย่างรวดเร็ว
สกุลสิงโต ( Bulbophyllum ) เป็นสกุลที่มีจำนวนชนิดมากเป็นอันดับสองรองจากกล้วยไม้ตระกูลหวาย Dendrobium ในเมืองไทยพบในธรรมชาติกว่า 130 ชนิด แต่ละชนิดมักใช้คำว่า สิงโตนำหน้า เป็นกล้วยไม้ที่มีความหลากหลายของช่อดอก มีทั้งดอกช่อ ดอกเดี่ยว รูปทรงของดอกแต่ละชนิดก็แตกต่างกันไป เป็นกล้วยไม้ที่นักนิยมปลูกเลี้ยงเพื่อการสะสม จนได้มีการจัดตั้งกลุ่มชมรมผู้ปลูกเลี้ยงกล้วยไม้สิงโตขึ้นมา การประกวดกล้วยไม้ก็จะมีการแยกประเภทกล้วยไม้สิงโตโดยเฉพาะ