ความเป็นมาของ รางวัลกล้วยไม้ และ การตัดสินให้คะแนนกล้วยไม้

รางวัลกล้วยไม้

รางวัลกล้วยไม้ การตัดสินให้คะแนนกล้วยไม้ ครั้งแรกของโลกได้เริ่มขึ้นเมื่อ ค.ศ.1859 (พ.ศ.2402) โดยสมาคมพฤกษชาติหลวงแห่งประเทศอังกฤษ Royal Horicutural Society (R.H.S) ในครั้งนั้น กล้วยไม้ที่ได้รับการตัดสินให้ได้ รับประกาศนียบัตรชั้น 1 (F.C.C.- First Class Certificated) ก็คือ แคทลียา โดมิเนียน่า Cattleya Dawminiana ซึ่งเป็นลูกผสมของ ระหว่าง แคทลียา อินเตอร์มีเดีย กับ แคทลียา แม็กซิมา (C. intermedia x C. maxima ) หลังจากครั้งนั้นได้มีอีกหลาย ๆ สมาคมในทวีปยุโรป ได้เจริญรอยตาม ทางด้านสหรัฐอเมริกานั้น ได้เริ่มให้มีการจัดประกวด และ ให้รางวัลกล้วยไม้ขึ้นเป็นครั้งแรกในเดือน กันยายน ค ศ. 1849 แต่การตัดสินรางวัล ครั้งนั้นมิได้มีกฎเกณฑ์ที่แน่นอน ต่อมาอีก 83 ปี สมาคมกล้วยไม้อเมริกัน (AOS – American Orchid Society) จึงได้เริ่มจัดให้มีการให้รางวัลแก่กล้วยไม้ ที่นำมาจัดแสดงในงานของสมาคมที่ได้จัดขึ้นเป็นประจำ หลังจากนั้นต่อมาสมาคมได้ ตั้งคณะกรรมการขึ้นชุดหนึ่ง จากผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อทำหน้าที่ วางระเบียบกฎเกณฑ์ สำหรับใช้ตัดสินแล้วไม้โดยเฉพาะ ซึ่งก็ได้มีการปรับปรุงแก้ไข ระเบียบวิธีการตัดสินอยู่เสมอมาจนปัจจุบัน การตัดสินให้คะแนนกล้วยไม้เป็นศิลปะอย่างหนึ่งมีจุดมุ่งหมาย ที่จะค้นหาความ “เหนือกว่า” ของกล้วยไม้แต่ละชนิดเป็นสำคัญ มิได้มุ่งหวังที่จะประเมินลักษณะรวม ๆ ว่ากล้วยไม้ชนิดนี้กว่าชนิดนั้น หรือ สวยงามกว่า ชนิดอื่น ๆ แต่ประการใด

ประเภทของการตัดสิน รางวัลกล้วยไม้

รางวัลกล้วยไม้ การตัดสินกล้วยไม้สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 แบบใหญ่ด้วยกันคือ

  1. การตัดสินการประกวดกล้วยไม้ทั่วไป การตัดสินแบบนี้ เป็นการตัดสินในงานประกวดกล้วยไม้ที่พบเห็นทั่วไป มีการให้รางวัลที่ 1 2 และ 3 โดยมีการแยกประเภทกล้วยไม้ออกมาก่อน ขึ้นอยู่กับช่วงของการจัดงานประกวดว่ามีกล้วยไม้ประเภทไหนบานอยู่ โดยทั่วไปแล้วการจัดประเภทแบบนี้ จะจัดตามกลุ่มของกล้วยไม้ก่อนแล้วมีการแบ่งย่อยตามปริมาณ และ ชนิดของกล้วยไม้ที่มีการส่งเข้าประกวดเช่น มีการแบ่งประเภทออกเป็น แวนดา หวาย กล้วยไม้ไทยพันธุ์แท้ แคทลียา กล้วยไม้ไทยลูกผสม ช้าง ฯลฯ และ เมื่อถึงในวันงาน มีผู้ส่งกล้วยไม้ในแต่ละประเภทเข้ามาแล้ว ก็จะมีการแบ่งกลุ่มย่อยอีก อย่างน้อยในแต่ละกลุ่มย่อยต้องมีผู้ส่งกล้วยไม้เข้าประกวดไม่น้อยกว่า 5 รายการแบ่งแบบกลุ่มย่อยนี้ สามารถแบ่งได้ตาม สี ขนาดดอก ขนาดต้น เช่น กลุ่มแวนดาสีบลู กลุ่มแวนดาสีแดง และ กลุ่มแวนดาสีเหลือง เป็นต้น และ ถ้ามีจำนวนต้นในแต่ละกลุ่มมากอีก ก็จะแบ่งย่อยไปได้อีก เช่น แวนดาสีบลูดอกใหญ่ และ แวนดาสีบลูดอกกลาง ในหวาย ก็อาจมีการแบ่งกลุ่มตามลักษณะของกลีบดอก และ รูปทรงของดอกได้อีกด้วย เช่น หวายกลีบบิด หวายดอกกลม เป็นต้น ในการตัดสินกรรมการผู้ตัดสินจะทำการคัดเลือกต้นที่เข้าเกณฑ์ แล้วนำมาให้คะแนนว่าต้นใดสมควรได้รางวัลที่ 1, 2 หรือ 3 ตามลำดับ หรือไม่ก็มีการให้คะแนนแล้วนำคะแนนมารวมกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสมาคมที่จัดประกวด วิธีการนี้กรรมการตัดสินต้องเป็นผู้ที่มีประสบการณ์มาก คณะกรรมการตัดสินโดยทั่วไปจะประกอบไปด้วยกรรมการ 5 คน และ 1 ใน 5 ทำหน้าที่เป็นเลขานุการการตัดสิน และ มีผู้ช่วยอีก 2 คน ทำหน้าที่ในการติดป้ายรางวัล และ บันทึกต้นที่ได้รับรางวัล ในกรณีที่คะแนนเสียงเท่ากัน ประธานคณะกรรมการตัดสินจะเป็นผู้ชี้ขาด

     

     

  2. การตัดสินกล้วยไม้เพื่อขอประกาศนียบัตรประจำต้น วิธีการนี้ จะทำการตัดสินโดยกรรมการประจำสมาคมกล้วยไม้แต่ละสมาคม ผู้ที่เป็นเจ้าของต้นกล้วยไม้ ต้องยื่นความจำนงต่อสมาคมที่ต้องการจะขอรับการตัดสิน แล้วนำต้นกล้วยไม้ที่ต้องการให้ตัดสินมาขอรับการตัดสิน การตัดสินแบบนี้ ผู้เป็นเจ้าของต้นกล้วยไม้ต้องชำระค่าธรรมเนียมในการตัดสิน ตามระเบียบข้อบังคับของสมาคมนั้น ๆ ในประเทศไทย มีอยู่หลายสมาคมด้วยกันที่ทำการตัดสินกล้วยไม้แบบนี้ได้แก่ สมาคมพฤกษชาติแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ (RHT) สมาคมกล้วยไม้เชียงใหม่ในพระบรมราชินูปถัมภ์ (COS) สมาคมกล้วยไม้แห่งประเทศไทย และ สมาคมผู้เพาะเลี้ยงกล้วยไม้ประเทศไทย ในต่างประเทศก็มีอยู่หลายสมาคมด้วยกัน เช่น American Orchid Society (AOS) Hawaiian Orchid Society (HOS) เป็นต้น การตัดสินก็จะมีหลักเกณฑ์การตัดสินของแต่ละสมาคมไป สมาคมกล้วยไม้เชียงใหม่ฯ จะมีชื่อเสียงมากในการตัดสินกล้วยไม้ประเภทแวนดา และ รองเท้านารี ผู้ที่จะมาทำหน้าที่เป็นกรรมการตัดสินกล้วยไม้ประกาศนียบัตร ต้องผ่านการฝึกอบรม และ ฝึกปฏิบัติตามขั้นตอน ของสมาคมนั้น ๆเป็นระยะเวลาหนึ่งก่อน ถึงจะมาทำหน้าที่เป็นกรรมการได้ เกณฑ์การตัดสินกล้วยไม้แต่ละประเภทจะแตกต่างกันออกไป เช่นในรองเท้านารี จะให้ความสำคัญของรูปทรงดอก และ สีของดอกมากกว่าลักษณะอื่น ๆ ในขณะที่ถ้าเป็นแคทลียาจะให้ความสำคัญของ substance และ texture ของดอกค่อนข้างมาก

กระบวนการตัดสินหลักใหญ่ รางวัลกล้วยไม้ มักจะพิจารณาดังนี้ รางวัลกล้วยไม้

กระบวนการตัดสินโดยหลักใหญ่ มักจะพิจารณา อยู่สามกระบวนการ ซึ่งมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันอยู่

๏ กระบวนการแรก เกี่ยวข้องกับ ความรู้พื้นฐานของกรรมการ ในด้าน มาตรฐาน และ ความดีเด่นที่อาจพบได้ ในกล้วยไม้ที่กำลังตัดสินให้คะแนน

๏ กระบวนการที่สอง คือการพิจารณา รายละเอียดต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับรายละเอียดของดอก รูปร่างดอก สีสัน เนื้อหา และ ความสัมพันธ์ของส่วน ต่าง ๆ ที่ประกอบขึ้นเป็นดอก ช่อดอก ทั้งองค์ประกอบในช่อเดียวกัน หรือ หลาย ๆ ช่อรวมกัน ในแต่ละต้น ซึ่งหมายรวมถึงความสมดุล ความสม่ำเสมอ และ ความตัดกัน อันจะทำให้เกิดความสวยงามขึ้น

๏ กระบวนการขั้นที่สาม ผู้ตัดสินจะพยายามเปรียบเทียบ ดอกกล้วยไม้ ที่อยู่ข้างหน้าตน กับดอกกล้วยไม้ชนิดเดียวกันนี้ที่เคยได้เห็น โดยเฉพาะที่เคยได้รับการตัดสินมาแล้ว และ วัดดูคุณภาพ เพื่อประกอบการให้คะแนน

เกณฑ์การตัดสิน รางวัลกล้วยไม้

รางวัลกล้วยไม้ โดยทั่วไปการให้คะแนนของสมาคมกล้วยไม้ต่าง ๆ ทั่วโลกรวมทั้งในประเทศไทยมักใช้เกณฑ์การตัดสินโดย แบ่งเป็นเกณฑ์มาตรฐานประกาศนียบัตร หลักใหญ่ ๆ ดังนี้

FCC ย่อมาจาก First Class Certificate ลำดับคะแนน ตั้งแต่ 90 คะแนน ขึ้นไป

AM ย่อมาจาก Award of Merit ลำดับคะแนน ตั้งแต่ 80 คะแนน ขึ้นไป

HCC ย่อมาจาก High Commendation Certificate ลำดับคะแนน ตั้งแต่ 75 คะแนน ขึ้นไป

CBM ย่อมาจาก Certificated of Botanical Merit ลำดับคะแนน ตั้งแต่ 80 คะแนน ขึ้นไป

CCM ย่อมาจาก “Certificated of Culture Merit ลำดับคะแนน ตั้งแต่ 80 คะแนน ขึ้นไป

รางวัลกล้วยไม้ ในการตัดสิน เมื่อกรรมการทั้งหมดให้คะแนนแล้วจะนำคะแนนมารวมกันแล้วหาค่าเฉลี่ย กล้วยไม้ต้นใดที่ได้คะแนนมากกว่า 90 คะแนน จะได้รับการตัดสินให้เป็นต้นที่ได้รับประกาศนียบัตรที่เรียกว่า First Class Certificate หรือ FCC ต้นใดที่ได้รับคะแนนอยู่ระหว่าง 80 – 89 จะได้รับประกาศนียบัตรที่ชื่อว่า Award of Merit หรือ AM และ ต้นใดที่ได้รับคะแนนอยู่ระหว่าง 75 – 79 จะได้รับประกาศนียบัตรที่ชื่อว่า Highly Commended Certificate หรือ HCC โดยการเขียนชื่อกล้วยไม้ที่ได้รับการตัดสินแบบประกาศนียบัตรนี้ สามารถเขียนรางวัลที่ได้รับพร้อมทั้งชื่อของสมาคมที่ทำการตัดสินไปด้วยกับ เช่น Ascocenda Medasand ‘T. Orchid No.4’ AM/OST กล้วยไม้ต้นนี้เป็นลูกผสมระหว่าง Ascocentrum และ Vanda มี grex name เป็น Medasand มี cultivar epithet เป็น T. Orchid No. 4 และ ได้รับประกาศนียบัตรชั้น Award of Merit จากสมาคมกล้วยไม้แห่งประเทศไทย (OST = Orchid Society of Thailand) และ ต้นที่ได้รับรางวัลจะมีการบันทึกภาพเก็บไว้เป็นหลักฐานด้วย นอกจากนั้นแล้ว ยังมีการตัดสินรางวัลอื่น ๆ ได้อีก เช่น การตัดสินต้นที่มีการปลูกเลี้ยงมาอย่างดี (Certificate of Horticultural Merit , CHM) ต้นที่มีลักษณะพิเศษไม่พบเห็นกันมากนัก (Certificate of Cultural Merit , CCM) ฯลฯ

Facebook
Twitter
LinkedIn