ปุ๋ยกล้วยไม้ ปุ๋ยเป็นคำเรียกแทนอาหารของพืช ซึ่งมีแร่ธาตุหลายชนิด ที่มีคุณค่าแก่การเติบโตของพืช แบ่งเป็น 2 จำพวกใหญ่ ๆ คือ
1) ปุ๋ยธรรมชาติ หรือ ปุ๋ยอินทรีย์ เป็นปุ๋ยที่ได้มาจากสิ่งมีชีวิต ซึ่งมีอยู่ในโลกตามธรรมชาติ เช่น ขี้หมู ขี้วัว ขี้ควาย ใบไม้ และ หญ้าหมัก ตลอดจนพืช และ สัตว์ที่ตายทับถมเน่าเปื่อยผุพังไปแล้วนาน ๆ ปุ๋ยแบบนี้มักนำไปใช้กับกล้วยไม้ประเภทที่มีระบบรากอยู่ในดิน หรือ แบบกึ่งดินกึ่งอากาศ เช่น สกุลรองเท้านารี (Paphiopedilum ) , สกุลไฟอัส (Phaius) หรือ เอื้องพร้าว , สกุลยูโลเฟีย (Eulophia) หรือ หมูกลิ้ง , สกุลสะแปโตกลอทติส (Spathoglottis) และ สกุลฮาเบนาเรีย (Habenaria) เป็นต้น
2) ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ หรือ ปุ๋ยอนินทรีย์ ปุ๋ยแบบนี้ ประกอบด้วยแร่ธาตุอาหาร 3 ชนิด ที่พืชต้องการมากที่สุด คือ ไนโตรเจน (N) , ฟอสฟอรัส (P) , โพแทสเซียม (K) ซึ่งแร่ธาตุทั้ง 3 ชนิดนี้ ถือ เป็นอาหารหลักที่ต้องใช้เป็นประจำ และ ใช้เป็นจำนวนมาก
นอกจากนี้ยังมีแร่ธาตุอาหารอื่นที่เป็นธาตุอาหารรอง ซึ่งกล้วยไม้ และ พืชต่าง ๆ ต้องการใช้เพียงจำนวนเล็กน้อย เพื่อเป็นการเสริมอาหารหลักให้มีประสิทธิภาพ ซึ่งแร่ธาตุที่สำคัญ และ จำเป็นที่พืชขาดเสียมิได้เหล่านี้มี 12 ชนิดคือ ออกซิเจน , ไนโตรเจน , คาร์บอน , เหล็ก , กำมะถัน , แคลเซียม , แมงกานีส , ทองแดง , สังกะสี , แมกนีเซียม , โมลิดินั่ม , และ โบรอน ใน 12 ชนิดนี้ มีอยู่ 3 ชนิด คือ ออกซิเจน ไนโตรเจน และ คาร์บอน เป็นแร่ธาตุที่พืชได้ตามธรรมชาติ จากบรรยากาศอยู่แล้ว
ปุ๋ยกล้วยไม้ สำหรับการปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ในบ้าน
ปุ๋ยกล้วยไม้ ที่ใช้กันโดยมากจะเป็นปุ๋ยเคมี แบบเกล็ดละลายน้ำ และ ปุ๋ยน้ำ ที่สำคัญต้องดูที่สูตร สูตรปุ๋ยที่ควรมีประจำติดบ้านคือ สูตรเสมอ เช่น 21 – 21 – 21 และ สูตรขั้นบันได เช่น 16 – 21 – 27 หรือ 10 – 20 – 30 ปกติแล้ว ที่แนะนำคือ ใส่สลับกัน ทุก 7 – 10 วัน เช่น วันที่ 1 ใส่ปุ๋ยสูตร 21 – 21 – 21 พอวันที่ 8 ให้เปลี่ยนเป็นปุ๋ยสูตร 16 – 21 – 27 และ พอถึงวันที่ 15 ก็กลับมาใช้สูตร 21 – 21 – 21 สลับกันไปแบบนี้ เรื่อย ๆ สิ่งสำคัญคือ ต้องใส่ปุ๋ยให้สม่ำเสมอ ใช้ในอัตราส่วนที่พอเหมาะ ตามฉลาก และ ใส่ปุ๋ยในช่วงเช้า วันที่อากาศสดใส เพื่อการดูดซึมที่ดี เพียง 2 สูตรนี้ ก็ทำให้ต้นงาม และ เห็นดอกได้แล้ว แต่ถ้าท่านผู้เลี้ยงประสงค์จะให้สูตรอื่น ๆ ก็ทำได้
การให้ปุ๋ยกล้วยไม้
ปุ๋ยกล้วยไม้ การให้ปุ๋ยเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการเลี้ยงกล้วยไม้ ธาตุอาหารหลักที่กล้วยไม้ต้องการ ก็เหมือนกับพืชทั่วไป คือ ไนโตรเจน (N), ฟอสฟอรัส (P) และ โพแทสเซียม (K) โดยปุ๋ยที่เหมาะกับกล้วยไม้ คือ ปุ๋ยสูตรสูง (มีธาตุอาหารรวมกันมากกว่า 50% ของน้ำหนักปุ๋ย) ชนิดที่ละลายน้ำได้ เช่น ปุ๋ยสูตร 21 – 21 – 21 เป็นต้น โดยกล้วยไม้แต่ละประเภท และ แต่ละช่วงอายุ ต้องการปริมาณปุ๋ยแตกต่างกันไป ต่อไปนี้เป็นข้อแนะนำการใช้ปุ๋ยสูตรต่าง ๆ
- ปุ๋ยสูตรสมดุล เช่น 21 – 21 – 21 เหมาะกับกล้วยไม้ที่เจริญเติบโตตามปกติ
- ปุ๋ยสูตรที่มีธาตุ N สูง เช่น 30 – 10 – 10 เหมาะกับกล้วยไม้ขนาดเล็ก ที่ต้องการเร่งการเจริญเติบโตทางใบ
- ปุ๋ยสูตรที่มีธาตุ P สูง เช่น 10 – 30 – 10 เหมาะกับกล้วยไม้ที่โตเต็มที่แล้ว ต้องการเร่งให้ออกดอก หรือ เร่งราก
- ปุ๋ยสูตรที่มีธาตุ K สูง เช่น 10 – 10 – 30 เหมาะกับกล้วยไม้ที่กำลังเจริญเติบโต เพราะ ธาตุโพแทสเซียมจะช่วยให้ต้นแข็งแรง
วิธีการให้ปุ๋ย : ละลายปุ๋ยในน้ำตามอัตราส่วนที่ระบุไว้ในฉลากปุ๋ย แล้วใช้ไม้คนให้ปุ๋ยละลายให้หมด อย่าให้ปุ๋ยตกตะกอน เพราะอาจเป็นอันตรายต่อใบ รดน้ำกล้วยไม้ให้ชุ่มก่อนฉีดปุ๋ย เพื่อให้ปุ๋ยซึมลงในเครื่องปลูกได้ดียิ่งขึ้น จากนั้น ใช้หัวฉีดที่ฝอยที่สุด ฉีดปุ๋ยให้เปียกทั่วทั้งราก และ ใบ จะรดปุ๋ยมากน้อยแค่ไหน ก็ขึ้นกับว่ากล้วยไม้ต้นใหญ่แค่ไหน ถ้าต้นใหญ่ก็ต้องการปุ๋ยมาก ต้นเล็กก็ต้องการปุ๋ยน้อย ถ้าไม่แน่ใจให้รดน้อย ๆ แต่บ่อย ๆ ไว้จะดีกว่า
ช่วงเวลาที่เหมาะแก่การให้ปุ๋ยพืช ปุ๋ยกล้วยไม้
ปุ๋ยกล้วยไม้ ช่วงเวลาที่เหมาะแก่การให้ปุ๋ยพืช คือ ช่วงเช้าก่อนแดดจัด เพราะ ราก และ ใบจะได้ดูดปุ๋ย ไปใช้ได้เลย ควรรดปุ๋ยทุก 7 วัน สำหรับปลูกกล้วยไม้ควรผสมปุ๋ยให้เจือจางลง แล้วรดปุ๋ย 2 ครั้งต่อสัปดาห์ จะทำให้กล้วยไม้เจริญเติบโตเร็วยิ่งขึ้น นอกจากนี้ การให้ปุ๋ยควรพิจารณาถึงวัฏจักรการเจริญเติบโตของกล้วยไม้แต่ละชนิดด้วย กล้วยไม้ที่ออกดอกตามฤดูกาลปีละครั้ง เช่น กล้วยไม้ป่า หรือ กล้วยไม้ลูกผสมบางชนิด เกือบทั้งปีจะมีการเจริญเติบโตทางต้นและใบ ควรให้ปุ๋ยสูตรเสมอในช่วงนี้ ต่อเมื่อใกล้ถึงฤดูที่กล้วยไม้จะผลิช่อดอก จึงเปลี่ยนมาใช้ปุ๋ยสูตรเร่งดอกแทน เอื้องกุหลาบ และเข็มจะเติบโตในช่วงฤดูฝน พักตัว และพัฒนาตาดอกในฤดูหนาว ผลิช่อดอก และ บานในฤดูร้อน กล้วยไม้ช้างเติบโตทางใบในฤดูร้อน และ ฝน สร้างตาดอกในช่วงปลายฤดูฝน ดอกบานในช่วงเดือนธันวาคม-กุมภาพันธ์ กล้วยไม้ที่ออกดอกตลอดปี เช่น กล้วยไม้ลูกผสมที่ปลูกเพื่อตัดดอก อาทิ หวาย , แวนด้า , ออนซิเดี้ยม กล้วยไม้เหล่านี้ต้องการปุ๋ยมาก ถ้าได้รับปุ๋ยไม่พอ ต้นจะไม่สมบูรณ์ ทำให้ออกดอกน้อยลง
ปุ๋ยกล้วยไม้ “กล้วยไม้” (Orchid) เป็นพืชวงศ์ใหญ่ที่มีดอกสวยงาม มีความหลากหลายทั้งสีสัน , ลวดลาย , ขนาด , รูปทรง และ กลิ่น เรียกได้ว่าเป็นพืชดอกที่มีความหลากหลายมากที่สุดกลุ่มหนึ่ง มีมากกว่า 800 สกุล พบในธรรมชาติมากกว่าสองหมื่นชนิด และ มีการปรับปรุงสายพันธุ์โดยการผสมข้ามชนิดข้ามสกุลมากกว่าสามหมื่นคู่ผสม ทำให้กล้วยไม้มีความสวยงาม และ หลากหลายมากยิ่งขึ้น ด้วยความสวยงาม และ ความหลากหลายทำให้กล้วยไม้เป็นที่นิยมไปทั่วโลก ฉะนั้นกล้วยไม้จะสวยได้ต้องอาศัยการบำรุง และ ดูแลรักษาที่ดี ปุ๋ยจึงเป็นตัวช่วยสำคัญ ที่จะทำให้กล้วยไม้นั้นเจริญเติบโตงดงาม