กล้วยไม้ แวนด้าใบร่อง หนึ่งในกล้วยไม้สุดคลาสสิกที่ได้รับความนิยมมาก

กล้วยไม้ แวนด้าใบร่อง

กล้วยไม้ แวนด้าใบร่อง ถือได้ว่าเป็นหนึ่งในประเภทของ กล้วยไม้สกุลแวนด้า สกุลสุดคลาสสิกที่มีดอกสวยงาม ๆ อีกสกุลหนึ่งเลยก็ว่าได้ แวนด้า เป็นกล้วยไม้ประเภทโมโนโพเดี้ยล ที่จะไม่แตกกอ แต่มีการเจริญเติบโตไปทางยอด มีรากเป็นรากอากาศ มี กล้วยไม้ แวนด้าใบร่อง ใบกลม หรือใบแบน ใบซ้อนสลับกัน ช่อดอกจะออกด้านข้างของลำต้น โดยสลับกับใบ ช่อดอกยาว และ แข็ง กลีบนอก กลีบในมีรูปร่างคล้ายกัน โคนกลีบจะแคบ รวมกันที่โคนเส้าเกสร กลีบดอกใน ด้านล่างด้านใต้ จะมีเดือยแหลมยื่นออกมา เป็นส่วนท้ายของปากกระเป๋า ปากกระเป๋าของแวนด้า เป็นแบบธรรมดาเป็นแผ่นหนาแข็ง พุ่งออกด้านหน้า จะรูปลักษณะคล้ายกับช้อน หูกระเป๋าทั้งสองข้าง จะแข็ง และ ตั้งขึ้น ส่วนสีของดอกนั้น จะมีมากมาย แตกต่างกันตามแต่ละชนิด โดย กล้วยไม้ แวนด้าใบร่อง มีรูปทรงของใบ และ ลำต้นคล้ายใบแบน มากกว่าใบกลม แวนด้าประเภทนี้ จะไม่พบในป่าธรรมชาติ การนำมาปลูกเลี้ยงในปัจจุบัน เป็นพันธุ์ลูกผสม โดยนำแวนด้าใบกลม มาผสมกับแวนด้าใบแบน

กล้วยไม้ แวนด้าใบร่อง กล้วยไม้สกุลแวนด้ามีกี่ประเภท

กล้วยไม้ แวนด้าใบร่อง จะมีกระจายพันธุ์อยู่ในทวีปเอเชีย ตั้งแต่ประเทศอินเดีย ประเทศศรีลังกา ประเทศพม่า ประเทศอินโดนีเซีย ประเทศฟิลิปปินส์ รวมถึงประเทศไทย สกุลแวนด้า ได้รับการปรับปรุงสายพันธุ์ขึ้น อีกหลากหลายในปัจจุบัน มีการจำแนกประเภทของแวนด้า โดยอาศัยรูปร่างลักษณะของใบ ออกเป็น 4 ประเภท ดังนี้

  • กล้วยไม้แวนด้าใบกลม มีลักษณะของใบกลม ยาว เป็นทรงกระบอก ต้นสูง ข้อห่าง สังเกตได้ที่ใบติดอยู่ห่าง ๆ กัน มีดอกช่อละหลายดอก ดอกจะบานติดต้นประมาณ 2 – 3 ดอกเท่านั้น เมื่อดอกข้างบนบานเพิ่มขึ้น ดอกข้างล่างก็จะโรยไล่กัน การปลูกโดยใช้ดอก จึงนิยมปลิดดอกมากกว่า ตัดดอกทั้งช่อ
  • กล้วยไม้แวนด้าใบแบน มีลักษณะใบที่แผ่แบนออก ถ้าตัดหน้าตัด จะเป็นรูปตัววี มีข้อถี่ปล้องสั้น ใบซ้อนชิดกัน ปลายใบโค้งลง และ เป็นแฉก
  • กล้วยไม้แวนด้าก้างปลา มีรูปทรงของใบ และ ลำต้น กิ่งใบกลมกับใบแบน พบตามป่าธรรมชาติน้อยมาก เพราะกล้วยไม้พันธุ์นี้ เป็นหมันทั้งหมด
  • กล้วยไม้ แวนด้าใบร่อง มีรูปทรงของใบ และ ลำต้นคล้ายใบแบน มากกว่าใบกลม แวนด้าประเภทนี้ไม่พบในป่าธรรมชาติ การนำมาปลูกเลี้ยงในปัจจุบัน เป็นพันธุ์ลูกผสมทั้งหมด โดยนำแวนด้าใบกลม มาผสมกับแวนด้าใบแบนนั่นเอง

กล้วยไม้ แวนด้าใบร่อง ลักษณะที่ดีของแวนด้าเป็นอย่างไร

กล้วยไม้ แวนด้าใบร่อง โดยลักษณะที่ดี ของกล้วยไม้สกุลแวนด้านั้น มีดังต่อไปนี้

  • ดอกฟอร์มต้องกลม เหมือนกับฟ้ามุ่ย ต้องพัฒนาให้กลม แต่ในปัจจุบัน ฟอร์มแบบบิน ๆ ก็ได้รับความนิยมไม่แพ้กัน แต่ถึงอย่างไรก็เป็น กล้วยไม้ แวนด้าใบร่อง ที่ได้รับความนิยมมาอย่างยาวนาน
  • จำนวนดอกในก้านช่อ 1 ก้าน ต้องมีจำนวนมาก ๆ จะดีกว่า อาิทเช่น สามปอยขุนตาน ควรจะมีราว ๆ 7 – 8 ดอก เป็นต้น
  • ก้านดอกสั้น ความหมายก็คือ เมื่อก้านดอกสั้น ดอกจะไปกระจุกติดกับก้านช่อ ทำให้ดูเป็นพุ่มดอกที่สวยงามนั่นเอง
  • กล้วยไม้ แวนด้าใบร่อง ลวดลายบนดอกชัดเจน อาทิเช่น ฟ้ามุ่ย ก็ต้องมีลายที่ชัดถึงจะสวยงามมากยิ่งขึ้น
  • ก้านช่อต้องแข็ง และ ยาว เพื่อที่จะรับน้ำหนักของจำนวนดอกได้มากนั่นเอง และ ถ้ายิ่งยาวมาก จำนวนดอกก็จะมากขึ้นตามไปด้วย จะยิ่งสวย

กล้วยไม้ แวนด้าใบร่อง มีวิธีการปลูกอย่างไร

กล้วยไม้ แวนด้าใบร่อง กล้วยไม้สกุลแวนด้า ในแต่ละชนิดนั้น จะชอบสภาวะอากาศแตกต่างกัน ถึงจะมีวิธีปลูกที่เหมือนกัน แต่หากสภาวะโรงเรือนไม่เหมาะสม ก็เฉาตายได้เหมือนกัน มาดูวิธีปลูกกันดีกว่า ว่ามีอะไรบ้าง ดังต่อไปนี้

  • ส่วนใหญ่แล้ว กล้วยไม้แวนด้า เป็นกล้วยไม้รากอากาศ สามารถปลูกแบบใส่กระเช้าได้ โดยไม่ต้องใส่เครื่องปลูกก็ได้
  • การปลูก กล้วยไม้ แวนด้าใบร่อง อาจจะใช้ฟิวมัด รากกับกระเช้า เพื่อไม่ให้ขยับ
  • หลังจากนั้น ก็นำมาอนุบาลไว้ในร่มรำไร หรือใต้แสลน ไม่ให้ถูกแสงมาก จนกว่ารากจะเดินได้ดี
  • แวนด้าที่ออกขวด อาจจะต้องผึ่งในตะกร้าไว้สักระยะ ให้รากใหม่เดินแล้วค่อยหนีบนิ้ว
  • ส่วนการหนีบนิ้วนั้น อาจจะใช้สเฟกนั่มมอส หรือกาบมะพร้าวหนีบก็ได้
  • ไม้ใหม่นั้น รากจะยังไม่แข็ง อาจจะให้แต่น้ำ หรือผสม บี1 เพื่อใช้รด กล้วยไม้ แวนด้าใบร่อง 
  • พอแข็งแรงได้ดีแล้ว ก็ปรับเป็นให้ปุ๋ยสัปดาห์ละครั้ง เช่น 21 – 21 – 21 เป็นต้น

กล้วยไม้ แวนด้าใบร่อง เป็นกล้วยไม้ที่จะไม่พบในป่าธรรมชาติ ที่พบเห็นได้ในปัจจุบันนี้คือลูกผสมทั้งนั้น แต่ถึงอย่างไรก็เป็นกล้วยไม้ที่สวยงาม แต่ทั้งนี้กล้วยไม้จะสวยหรือไม่สวยนั้น ก็ขึ้นอยู่กับความขยันในการดูแล หากขยัน กล้วยไม้ แวนด้าใบร่อง ที่เราเลี้ยงก็จะให้ดอกสวยงาม แต่ถ้าไม่ขยันรับรองได้เลยว่ากล้วยไม้สกุลแวนด้า ก็จะเฉาตายได้ ดังนั้นหากจะนำ กล้วยไม้ แวนด้าใบร่อง หรือแวนด้าประเภทอื่น ๆ มาเพาะเลี้ยงนั้น ก่อนที่จะเลี้ยง ควรจะศึกษาให้ดีก่อน เพราะบางชนิดเลี้ยงยากในพื้นราบ อีกทั้งยังต้องมีเวลาในการดูแล ให้ปุ๋ย หรือเฝ้าระวังในเรื่องของโรคระบาด เพื่อให้กล้วยไม้ของเรานั้นอยู่ยืนยาว เป็นไม้ประดับที่สวยงาม มองเห็นแล้วเจริญหูเจริญตา ไปได้อีกนานนั่นเอง

Facebook
Twitter
LinkedIn