กล้วยไม้ สกุลหวาย มีประวัติความเป็นมาอย่างไร

กล้วยไม้ สกุลหวาย

กล้วยไม้ สกุลหวาย เป็นกล้วยไม้ที่มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Dendrobium Sonia ถือได้ว่าเป็น หนึ่งในพืชวงศ์กล้วยไม้ เป็นสิ่งมีชีวิตที่อาศัยบนต้นไม้อื่น โดยทั่วโลกแล้ว จะพบกล้วยไม้ที่อยู่ในสกุลนี้ถึง 900 ชนิด แต่จะพบในประเทศไทยเพียงแค่ 184 ชนิด เท่านั้น ได้แก่ หวายตะมอย , เอื้องตาเหิน , เอื้องแปรงสีฟัน , เอื้องสีตาล , เอื้องช้างน้าว , เอื้องเงิน , เอื้องเงินหลวง และ เอื้องมือชะนี โดยลักษณะของ กล้วยไม้ สกุลหวาย จะเป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว มีลักษณะการเจริญเติบโตแบบซิมโพเดียล เป็นกล้วยไม้ที่มีลำลูกกล้วย เมื่อลำต้นเจริญเติบโตเต็มที่แล้ว ก็จะแตกหน่อเป็นลำต้นใหม่ และ เป็นกอ มีใบเรียงสลับกัน หรือเรียงซ้อนทับ ๆ กัน เป็นใบเดี่ยว มีลักษณะแบน แข็งหนา มีสีเขียว เส้นใบจะขนานกันไปตามความยาวของใบ กล้วยไม้ สกุลหวาย จะมีดอกลักษณะที่เป็นช่อ ๆ  ออกตามซอกใบ ดอกเรียงสลับไปมา ประมาณ 6 – 8 คู่ มีปลายคี่ กลีบเลี้ยงจะมีประมาณ 3 กลีบ มีสีเดียวกันกับกลีบดอก แต่อาจจะมีสีที่เข้มกว่าเล็กน้อย ส่วนกลีบดอก 5 กลีบนั้น มักจะมี 3 สีอยู่ภายใน 1 ดอก มีกลีบดอก 1 กลีบ ที่เปลี่ยนรูปร่างไป เนื่องจากมีเกสรเพศผู้  และ ยอดเกสรเพศเมีย ลดรูปมารวมอยู่ด้วยกันนั่นเอง มีลักษณะเป็นปาก ( labellum ) และ มีสีเข้มเด่นชัดกว่ากลีบอื่น ๆ อีกด้วย

กล้วยไม้ สกุลหวาย มีวิธีการผลิตอย่างไร

กล้วยไม้ สกุลหวาย มีวิธีการเพาะปลูก หรือผลิตอย่างไรในประเทศไทย ดังนี้

  1. การเลือกพันธุ์ ต้องเลือกตามสุขลักษณะของพันธุ์ที่ดี
  • ลักษณะลำต้น ต้องทนต่อโรค สามารถปลูกง่าย เจริญเติบโตได้เร็ว ออกดอกตลอดทั้งปี
  • ลักษณะช่อดอก ต้องเป็นช่อสวยงาม ยาว และ ตรง ดอกเรียงกันเป็นระเบียบไม่ห่าง หรือถี่เกินไป
  • ลักษณะดอก กลีบดอกตั้งมีความทนทาน ไม่ฉีกง่าย ไม่เปราะหักง่าย มีสีสันที่สดใสสวยงาม กล้วยไม้ สกุลหวาย จะต้องไม่ร่วงจากช่อก่อนการโดนตัด
  1. การปลูก ต้องมีการเตรียมโรงเรือนอย่างดี ควรทำคันดินให้ล้อมรอบ ให้มีความสูงกว่าระดับน้ำในพื้นที่
  2. การเลือกแหล่งที่ปลูก โดยมีองค์ประกอบดังนี้
  • แหล่งปลูกที่เหมาะสม ได้แก่ ภาคกลาง คือ จังหวัดนนทบุรี จังหวัดนครปฐม จังหวัดปทุมธานี จังหวัดสุพรรณบุรี และ กรุงเทพมหานคร เป็นต้น
  • ต้องการแหล่งน้ำ ที่มีคุณภาพดี ที่เหมาะสมกับกล้วยไม้ มีน้ำเพียงพอต่อการปลูกทั้งฤดู
  • สภาพพื้นที่ที่เหมาะสม ต้องใกล้แหล่งน้ำ มีการคมนาคมที่สะดวกสบาย สามารถขนส่ง หรือนำผลผลิตออกสู่ตลาดได้อย่างรวดเร็ว ไม่อับลม
  • สภาพภูมิอากาศ ที่เหมาะสมแก่การเจริญเติบโตของ กล้วยไม้ สกุลหวาย คือ 25 – 35 องศา และ มีความชื้นอยู่ที่ 50 – 70% ต่อปี

กล้วยไม้ สกุลหวาย มีลักษณะอาการที่ต้องระวังอย่างไร

กล้วยไม้ สกุลหวาย มีอยู่ลักษณะอาการที่ต้องระวังโดยหลัก ๆ ดังนี้

  1. ไรแดง หรือ Mites มีอาการดังนี้
  • อาการที่ดอก จะพบจุดเป็นสีม่วงด้านหลังกลีบดอก กล้วยไม้ สกุลหวาย อีกทั้งกลีบดอกจะด่าง มีขนาดเล็กลง และ บิดเบี้ยว ส่วนดอกตูมก็จะฝ่อแห้งเป็นสีน้ำตาล หลุดร่วงจากก้าน
  • อาการที่ใบ คือจะถูกทำลาย ด้านใต้ของใบจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลไหม้ มีจุดเล็ก ๆ เป็นสีแดง เท่าปลายเข็ม อยู่เป็นกลุ่มก้อน นั่นคือไรแดง

2. บั่ว กล้วยไม้ สกุลหวาย หรือ Orchid midg ลักษณะอาการก็คือ จะมีหนอนแมลงวันเข้าไปเจาะทำลายในดอก ตั้งแต่ที่เป็นดอกตูมอยู่ หลังจากนั้น ดอกมีเน่าเหลือง ฉ่ำน้ำ และ หลุดร่วงจากก้าน มีรอยช้ำ เมื่อเราแกะดูจะเห็นได้ว่ามีหนอนอยู่ภายใน จะพบการระบาดอย่างรุนแรงในระยะ 10 ปีมานี้ ผู้เลี้ยงจะเรียกอาการนี้ว่า โรคไอ้ฮวบ เพราะอาจจะตัดดอกไม่ได้เลย ถ้าไม่ป้องกันอย่างทันท่วงที

กล้วยไม้ สกุลหวาย การป้องกัน หรือมีการกำจัดอย่างไร

กล้วยไม้ สกุลหวาย ส่วนวิธีการป้องกันอาการที่ควรระวัง มีดังนี้

  1. การป้องกันกำจัด โรคไรแดง ก็คือ
  • กำจัดใบ และ ช่อดอกที่ถูกไรแดงทำลาย และ นำไปเผาทำลาย
  • ต้องฉีดพ่นด้วยสารป้องกันกำจัดไรแดง ได้แก่ Hexythiazox และ Propargite โดยฉีดตรงบริเวณด้านบน และ ใต้ใบ
  1. การป้องกันกำจัด โรคไอ้ฮวย หรือ บั่ว คือ แมลงวันดอก กล้วยไม้ สกุลหวาย จะพบมากในช่วงฤดูฝน จึงต้องหมั่นดูแลให้ดีในช่วงฤดูฝน ป้องกันหรือกำจัด โดยใช้สารป้องกันแมลงฉีดพ่น ได้แก่ Imidacloprid หรือ Abamectin บริเวณดอกด้านบน

กล้วยไม้ สกุลหวาย กล้วยไม้ที่มีดอกสีสันสดใส กลีบหนาเรียงเป็นระเบียบสวยงาม ดอกบานทนไม่ร่วงง่าย ช่อดอกยาว ตั้งตรงแข็งแรง รูปทรงดอกได้สมดุล ออกดอกง่าย และ ดกตลอดปี เป็นสายพันธุ์ที่เหมาะต่อการปลูกในประเทศไทยเป็นอย่างมาก กล้วยไม้ สกุลหวาย จึงเป็นสายพันธุ์ที่นิยมนำมาปลูกเป็นไม้ตัดดอก ซึ่งคุณสมบัติที่ดีของกล้วยไม้พันธุ์รี้ ที่นำมาเลี้ยงตัดดอก คือ ปลูกเลี้ยงง่าย เจริญเติบโตเร็ว ทนต่อโรคแมลงศัตรูพืชต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี กล้วยไม้ สกุลหวาย จะพบได้ในไทยถึง 184 ชนิด สำหรับกล้วยไม้หวายป่าของไทย ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่ต่ำกว่า ดอกมีก้านช่อสั้น มีสีสันสวยงาม มีหลายชนิด ได้แก่ หวายตะมอย , เอื้องตาเหิน , เอื้องแปรงสีฟัน , เอื้องสีตาล , เอื้องช้างน้าว , เอื้องเงิน , เอื้องเงินหลวง และ เอื้องมือชะนี

Facebook
Twitter
LinkedIn