หากกล่าวถึง กล้วยไม้สกุลหวาย หลายคนอาจจะคงยังนึกภาพไม่ออก หรือไม่รู้จักกล้วยไม้สกุลนี้มาก่อนเลย แต่หากบอกว่านี่คือ “กล้วยไม้การบินไทย” หลาย ๆ คนก็พอจะนึกภาพออกกันบ้างแล้ว เนื่องจากคำว่า “Royal Orchid” ของการบินไทยนั้นกล่าวถึงกล้วยไม้สกุลหวายนี้เอง ซึ่งปัจจุบันในไทยนอกจากจะมีการอนุรักษ์กล้วยไม้ในสกุลหวายแล้ว ยังมีการพัฒนาสายพันธุ์ใหม่ขึ้นมาใหม่ โดยมีทั้งหมด 9 สายพันธุ์ด้วยกันได้แก่ กล้วยไม้สกุลหวายพันธุ์โสมสวลี, กล้วยไม้สกุลหวายพันธุ์แอร์รี่บลู, กล้วยไม้สกุลหวายพันธุ์วีซ่า พีช, กล้วยไม้สกุลหวายพันธุ์แอร์รี่ พีช, กล้วยไม้สกุลแวนด้าและลูกผสมพันธุ์บีพี 001, 002, 003, 004 และ005
กล้วยไม้สกุลหวาย กล้วยไม้ที่สามารถพบได้ง่ายทั้งในป่า และฟาร์มเพาะพันธุ์
อย่างที่เราได้กล่าวไปในข้างต้นแล้วว่า กล้วยไม้สกุลหวายเป็นหนึ่งในสกุลกล้วยไม้ที่มีสายพันธุ์เป็นจำนวนมาก ซึ่งในปัจจุบันกล้วยไม้สายพันธุ์ยังสามารถพบได้เป็นจำนวนมากทั้งในธรรมชาติ และฟาร์มเพาะเลี้ยง ซึ่งลักษณะของไม้ที่อยู่ในฟาร์มเพาะเลี้ยงจะมีสายพันธุ์ หรือลูกผสม จะมีลักษณะที่ใกล้เคียงกันนั่นคือ ช่อดอกที่ 1 ช่อจะมีจำนวนดอกมาถึง 10 ดอก โดยคนนิยมตัดดอกของกล้วยไม้ในกลุ่มนี้ไปขายเป็นอย่างยิ่ง
เราจะเห็นได้ทั่วไปตามร้านดอกไม้ หรือร้านขายไม้บูชาพระ และในส่วนของตัวดอก จะมีกลีบดอกต้านนอกรูปร่างเรียวยาวขนาดเท่า ๆ กับ 3 กลีบ และกลีบด้านในรูปร่างออกไปทางกลมอ้วน 2 กลีบ และมีส่วนของปากอีก 1 กลีบ แต่หากเป็นสกุลหวายป่าก็จะมีความหลากหลายและแตกต่างกันออกไปตามแต่ละสายพันธุ์
4 กล้วยไม้ ในสุกลหวายที่ได้รับความนิยมสูงและมีความสวยเป็นเอกลักษณ์
- เอื้องผึ้ง พันธุ์กล้วยไม้ป่าที่เมื่อออกดอกแล้ว จะมีลักษณะคล้ายรังผึ้ง สีเหลืองสวยงาม อีกทั้งยังสามารถพบได้ทั้งในธรรมชาติ และหาซื้อจากฟาร์มเพาะปลูกได้อีกด้วย
- กล้วยไม้สกุลหวายบอม เอียสกุล ไม้ตัดดอก ที่นับว่าเป็นพืชทางเศรษฐกิจของไทยเลยก็ว่าได้ โดยบอม เอียสกุลนับว่าเป็นหนึ่งในกล้วยไม้ที่ได้รับความนิยมสูง และหาซื้อได้ค่อนข้างง่าย ซึ่งคนไทยเรานิยมนำไปบูชาพระ และร้อยพวงมาลัยสวย ๆ เป็นอย่างยิ่ง
- เอื้องสายประสาท หรือ เอื้องสายน้ำผึ้ง กล้วยไม้ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะเป็นอย่างมาก เนื่องจากสายพันธุ์นี้เมื่อโตเต็มที่แล้ว ใบของมันจะร่วมแล้วจะเหลือแค่ลำต้น และดอกของมัน ที่เมื่อมองเข้าไปจะเห็นกล้วยไม้สีเหลืองอมชมพูเต็มไปทั้งต้น
- ม่วงราชกุมารี สมเด็จพระเทพรัตน ราชสุดาพระราชทานนามให้กล้วยไม้หวายลูกผสมสายพันธุ์ใหม่นี้ว่า “ม่วงราชกุมารี” ซึ่งเป็นกล้วยไม้สกุลหวายลูกผสมระหว่าง Dendobium Sakura x Airy red bull ซึ่งจะเรียกกล้วยไม้ชนิดนี้ว่า “กล้วยไม้การบินไทย” ก็ได้เช่นกัน