กล้วยไม้ป่า กะเรกะร่อน เป็นกล้วยไม้สกุลอะไร มีประโยชน์อย่างไรบ้าง
กล้วยไม้ป่า กะเรกะร่อน มีชื่ออื่น ๆ ได้แก่ กาเรการ่อน ที่เรียกในภาคกลาง , เอื้องปากเป็ด ที่เรียกในจังหวัดเชียงใหม่ , กล้วยหางไหล ถูกเรียกในจังหวัดชุมพร และ เอื้องด้ามข้าว ถูกเรียกในจังหวัดลำปางนั่นเอง กล้วยไม้ป่ากะเรกะร่อน ชอบอิงอาศัยบนคาคบไม้สูงทุกชนิด โดยไม่ได้ทำตัวเป็นกาฝากแต่อย่างใด เป็นต้นไม้ที่เป็นตัวของตัวเอง เพียงแต่มีพี่น้องหลายสายพันธุ์ ซึ่งมีพฤติกรรม และ บริบทคล้าย ๆ กัน เพราะเป็นสกุลเดียวกันคือ สกุลซิมบิเดียม หรือ Cymbidium นั่นเอง สกุลกะเรกะร่อน มีหลายสายพันธุ์ทุกภาค แต่สืบสายเผ่าพันธุ์ พบได้ตั้งแต่ประเทศอินเดีย แถบเชิงเขาหิมาลัย จีน ไต้หวัน ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย รวมทั้งตอนเหนือของออสเตรเลียอีกด้วย เป็นราชากล้วยไม้กลิ่นหอม ที่มีใบเขียวชอุ่มตลอดปี ในประเทศไทยก็มีหลายสายพันธุ์ เพราะเป็นพืชชอบเขตร้อน อบอุ่น ในเอเชียนั่นเอง
บางที่ก็เรียกว่า กล้วยไม้สกุลการะเกด หรือที่เรียกกันว่า Dendrobium Karakaron เป็นกล้วยไม้พันธุ์สวยงามที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทย เป็นที่รู้จักจากดอกไม้ที่สวยงาม ซึ่งมักเป็นสีขาวและมีแต้มสีม่วง กล้วยไม้การะเกดได้รับการยกย่องอย่างสูงในด้านความสง่างามและเป็นที่นิยมในหมู่ผู้ที่ชื่นชอบกล้วยไม้
กล้วยไม้กะเรกะร่อน มีลักษณะอย่างไร
ดอกกะเรกะร่อน เป็นกล้วยไม้ลักษณะอิงอาศัย มีใบออกจากโคนหัว ลักษณะดอกจะโดดเด่น มีสีสัน มีเสน่ห์ เพราะออกดอกเป็นช่อ ตั้ง และทอดเอียงไปตามแนวใบ มีดอกย่อยจำนวนมาก สีเหลืองอมเขียว มีจุดสีน้ำตาล ชอบขึ้นตามป่าดิบเขา ชอบแสงรำไร ออกดอกทนนานและมีกลิ่นหอมอ่อน ๆ อีกทั้งยังมีส่วนอื่น ๆ อีกดังนี้
ใบกะเรกะร่อน
ใบของกล้วยไม้ชนิดนี้ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับกัน มีลักษณะใบเป็นรูปขอบขนานกันไป ปลายใบจะมีลักษณะมนเว้า อีกทั้งใบมีขนาดกว้างประมาณ 2 เซนติเมตร มีความยาวประมาณ 30 – 50 เซนติเมตร แผ่นใบมีลักษณะหนาแข็ง หลังใบ และ ท้องใบเรียบ
ผลกะเรกะร่อน
ผลมีลักษณะเป็นรูปทรงกระบอก เป็นพู 5 พู ผิวผลเรียบ บ้างก็บอกว่า ผลมีลักษณะเป็นรูปขอบขนานสีน้ำตาล ยาวประมาณ 6 – 7 เซนติเมตร ผลเป็นสีเขียวอมสีเหลือง เมื่อผลแห้งจะแตกได้ ในผลมีเมล็ด เป็นผงละเอียดจำนวนมาก
ต้นกะเรกะร่อน
มีเขตการกระจายพันธุ์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นกล้วยไม้อิงอาศัย ที่เกาะอยู่ตามต้นไม้อื่น ๆ ลำต้นมีขนาดสั้น เกาะรวมกันเป็นกระจุกแน่น ลำต้นเป็นหัวรูปรี มีหลายข้อ และขึ้นชิดกันเป็นกอ ๆ ต้นมีรากออกเป็นเส้นแข็ง ๆ ชี้ขึ้นไปในอากาศ พบได้ตามป่าผลัดใบ และ ป่าไม่ผลัดใบ บ้างก็ว่าพบได้ตามป่าเต็งรัง ตามที่โล่งแจ้งมีแสงแดดจัด ในระดับหลายความสูง มีการขยายพันธุ์ด้วยวิธีการแยกหน่อ
กะเรกะร่อน มี กี่ ชนิด
กะเรกะร่อน กล้วยไม้ หรือ ดอกไม้ตระกูลนี้จะมีอยู่ทั้งหมด 52 สปีชีส์ ที่ค้นพบในตอนนี้ แต่ในประเทศไทยจะพบอยู่ทั้งหมด 14 ชนิด
กะเรกะร่อน มีสรรพคุณ หรือคุณประโยชน์มีอะไรบ้าง
เอื้องกะเรกะร่อน เป็นกล้วยไม้ที่ชอบพื้นที่สูง แต่อุณหภูมิต่ำ ปลูกเพื่อตัดดอกได้ มีระบบทั้งรากดิน และ รากกึ่งอากาศ มีลำต้นเทียม หรือลำลูกกล้วย สูงได้ตั้งแต่ 60 – 100 เซนติเมตร และ แตกเป็นกอขยาย แต่เมื่อ กล้วยไม้กะเรกะร่อนเกาะติด แตกกอที่ไหนแล้ว สามารถเด็ดใบสด แล้วนำไปลนไฟให้นุ่ม ๆ แล้วบีบเอาน้ำ หยอดลงไปในหูได้ ใช้สำหรับ แก้อาการหูเป็นน้ำหนวกได้อีกด้วย หรือจะนำเมล็ด มาบดโรยแผลเพื่อซับเลือด หรือแผลเน่าก็ได้อีกด้วย ถือได้ว่าเป็นสมุนไพรดอกงาม และ ไม้ประดับระดับสูง ส่วนประโยชน์ของกะเรกะร่อนนั้น นอกจากจะใช้เป็นยาสมุนไพรแล้ว ยังสามารถนำปลูกเป็นไม้ประดับได้อีกด้วย
กล้วยไม้ป่า กะเรกะร่อน ออกดอกในช่วงไหน
ในส่วนของดอกกะเรกะร่อนนั้น จะออกดอกเป็นลักษณะช่อสาย ห้อยลง โดยจะออกที่โคนต้น มีช่อดอกประมาณ 1 – 2 ช่อ ช่อดอกมีความยาวประมาณ 30 – 50 เซนติเมตร ในช่อดอกมีดอกย่อยจำนวนมาก ประมาณ 17 – 26 ดอก และ ดอกจะมีขนาดประมาณ 2.5 เซนติเมตร บ้างก็ว่าเส้นผ่านศูนย์กลาง ของดอกกว้างประมาณ 3.5 เซนติเมตร มีกลีบดอกสั้น เป็นสีเหลือง มีลักษณะเป็นรูปแถบ มีแถบสีม่วง หรือสีน้ำตาลอมแดงขอบขาว ส่วนกลีบเลี้ยง จะมีทั้งหมด 3 กลีบ มีลักษณะเป็นรูปแถบ โดยกลีบของดอกจะแคบ และ สั้นกว่ากลีบเลี้ยง ดอกมีเกสรเพศผู้มีสีเหลือง โดยจะออกดอกในช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายน บ้างก็ว่าจะออกดอกในช่วงเดือนพฤษภาคมอีกด้วย
กล้วยไม้ป่า กะเรกะร่อน ถือได้ว่าเป็นกล้วยไม้ที่มีหลากหลายชื่อมาก ๆ ถึงชื่อสากลจะไม่สวยงามเท่าไหร่ แต่เป็นไม้ประดับระดับสูง อีกทั้งยังมีสรรพคุณมากมายนับไม่ถ้วน ดอกจะออกช่วงเดือนมีนาคม ถึงเดือนพฤษภาคม กะเรกะร่อนชอบอิงอาศัยบนคาคบไม้สูงทุกชนิด โดยไม่ได้ทำตัวเป็นกาฝากแต่อย่างใด หลายสายพันธุ์ทุกภาค แต่สืบสายเผ่าพันธุ์ พบได้ตั้งแต่ประเทศอินเดีย แถบเชิงเขาหิมาลัย จีน ไต้หวัน ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย กะเรกะร่อนมีใบออกจากโคนหัว มีลักษณะดอกที่โดดเด่นมาก มีสีสันสวยงาม มีเสน่ห์น่ามอง เพราะออกดอกเป็นช่อตั้งอย่างดี เอียงไปตามแนวของใบ มีดอกย่อยอีกเป็นจำนวนมาก มีสีเหลืองอมเขียว มีจุดเป็นสีน้ำตาล ชอบขึ้นตามป่าดิบ อีกทั้งยังชอบแสงรำไร และ ดอกมีกลิ่นหอมอ่อน ๆ อีกด้วย