กล้วยไม้กับ cites อนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งชนิดสัตว์ป่า และ พืชป่าที่ใกล้จะสูญพันธุ์

กล้วยไม้กับ cites

กล้วยไม้กับ cites ไซเตส (CITES) คือ อนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งชนิดสัตว์ป่า และ พืชป่าที่ใกล้จะสูญพันธุ์ (Convention on lnternationalTradein Endangered Species of Wild Fauna and Flora)

การ อนุรักษ์เป็นการจัดการใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อให้ได้ผลประโยชน์ สูงสุด และ ยั่งยืนที่สุดที่สามารถทำได้ และ ควรคุ้มครองไว้เพื่อประโยชน์ของชนรุ่นนี้ และ อนุชนรุ่นต่อไป ดังนั้นประชาชน และ ประเทศต่าง ๆ สมควรเป็นผู้ให้ความคุ้มครองสัตว์ป่า และ พืชป่าของตนดีที่สุด รวมทั้งความร่วมมือระหว่างประเทศเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง สำหรับการคุ้มครองสัตว์ป่า และ พืชป่าบางชนิดเพื่อไม่ให้เกิดการใช้ประโยชน์ เกินสมควร จากการค้าระหว่างประเทศ และ ประเทศภาคีในอนุสัญญาฯ จึงตระหนักถึงคุณค่าที่เพิ่มขึ้นตลอดเวลาของสัตว์ ป่า และ พืชป่าในด้านสุนทรียภาพ วิทยาศาสตร์ วัฒนธรรม การพักผ่อนหย่อนใจ และ เศรษฐกิจ อนุสัญญาฯ ได้กำหนดกรอบการปฏิบัติระหว่างประเทศในการทำการค้าชนิดพันธุ์ที่กำลังจะสูญพันธุ์ โดยกำหนดให้ประเทศภาคีที่เป็นผู้ส่งออก และ ประเทศผู้นำเข้ามีความรับผิดชอบ ร่วมกันในการปฏิบัติเพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์

กล้วยไม้กับ cites สาเหตุของการมีอนุสัญญาไซเตส

กล้วยไม้กับ cites สาเหตุของ การมีอนุสัญญาไซเตส เนื่องมาจากปริมาณ และ มูลค่าการค้าสัตว์ป่า และ พืชป่าทั่วโลกมีปริมาณ และ มูลค่ามหาศาลมีผลโดยตรง และ โดยอ้อม ต่อประชาชนในธรรมชาติทำให้ลดลงอย่างรวดเร็วจนบางชนิดใกล้จะสูญพันธุ์ มีการลักลอบทำการค้ารองลงมาจากการค้ายาเสพติด เป้าหมาย & เจตนารมณ์ของอนุสัญญาไซเตส เพื่อต้องการอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์ป่า และ พืชป่าในโลกเพื่อประโยชน์แห่งมวล มนุษยชาติของชนรุ่นนี้ และ อนุชนรุ่นต่อไปโดยเน้นทรัพยากรสัตว์ป่า และ พืชป่าใกล้จะสูญพันธุ์ หรือ ถูกคุกคามจนอาจเป็นเหตุให้สูญพันธุ์ได้ในอนาคตโดยสร้างเครือข่ายทั่วโลก ในการควบคุมการค้าระหว่างประเทศ ทั้งสัตว์ป่า และ พืชป่าตลอดจนผลิตภัณฑ์

กล้วยไม้กับ cites องค์ประกอบของการขยายพันธุ์พืชอนุรักษ์

กล้วยไม้กับ cites การขยายพันธุ์พืชอนุรักษ์จะต้องมีองค์ประกอบดังต่อไปนี้

๏ ต้องคงจำนวนพ่อแม่พันธุ์

๏ พ่อ – แม่พันธุ์ ที่ใช้ขยายพันธุ์ต้องได้มาโดยถูกต้องตามกฎหมาย

๏ ต้องควบคุมสภาวะแวดล้อมของโรงเรือน เช่นการใช้ปุ๋ย การพรางแสง การกำจัดศัตรูพืช ฯลฯ

กล้วยไม้กับ cites กับข้อหวงห้ามตามพระราชบัญญัติ

กล้วยไม้กับ cites กล้วยไม้ทุกชนิดจัดว่าเป็นพืชอนุรักษ์ตาม พระราชบัญญัติพันธุ์พืช พศ. 2518 ประเทศไทยมีความหลากหลายพืชในวงศ์กล้วยไม้เป็นจำนวนมาก มีมากถึง 174 สกุล ประมาณ 1,236 ชนิด ปัจจุบันมีผู้นิยมปลูกเลี้ยงเพื่อการค้ามากขึ้น บางครั้งกล้วยไม้ถูกลักลอบนำออกมาจากป่า ทำให้ประชากรในธรรมชาติลดลงอย่างน่าเป็นห่วง และ บางชนิดใกล้สูญพันธุ์ นอกจากนี้กล้วยไม้ป่าจัดเป็นของป่าหวงห้ามตาม พระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 ด้วย ห้ามค้าทุกจำนวน หรือ อนุญาตให้ครอบครองได้ไม่เกิน 20 ต้น ดังนั้นการส่งออกกล้วยไม้ทุกชนิดต้องมาจากกล้วยไม้ที่ได้มาจากการผสมพันธุ์ เทียมเท่านั้น และ จะต้องได้รับการขึ้นทะเบียนสถานที่เพาะเลี้ยงเพื่อการค้าจากกรม วิชาการเกษตร

กล้วยไม้กับ cites การขยายพันธุ์เทียมกล้วยไม้ เป็นการส่งเสริมการใช้ประโยชน์พันธุกรรมพืชอย่างยั่งยืน และ เป็นการอนุรักษ์กล้วยไม้ให้อยู่ตามธรรมชาติ เพื่ออนุชนรุ่นหลังสืบไป การเลือกซื้อกล้วยไม้เพื่องานอดิเรก หรือ การค้า ควรเลือกซื้อเฉพาะตัวอย่างที่ได้มาจากการผสมพันธุ์เทียมเท่านั้น ควรละเว้นการซื้อขายกล้วยไม้ป่า หรือ สภาพที่ได้มาจากป่า

Facebook
Twitter
LinkedIn