แนะนำ 3 กลิ่นหอมของกล้วยไม้ ที่นำมาสกัดสารหอมระเหย

กลิ่นหอม

กลิ่นหอม ของกล้วยไม้ถ้าจะมองถึงความหลากหลาย ทั้งในด้านรูปลักษณะ และ อุปนิสัย เราจะพบได้ว่า กล้วยไม้เป็นพันธุ์ไม้ที่มีลักษณะ และ อุปนิสัยแตกต่างกันอย่างกว้างขวาง ในด้านกลิ่นหอมของดอกกล้วยไม้ ก็ใช่ว่าไม่อาจเรียกร้องความสนใจให้ผู้ที่มีโอกาสสัมผัสจากธรรมชาติ แต่กลับมีส่วนร่วมเสริมสร้างความรู้สึกภายในจิตวิญญาณให้กับผู้มีโอกาสสัมผัสอย่างลึกซึ้ง ประเทศไทยมีกล้วยไม้ที่มีกลิ่นหอมหลากหลายชนิดที่สามารถนำมาสกัดสารหอมระเหยเพื่อใช้ในธุรกิจสปา เครื่องสำอาง สุคนธบำบัด หรือ เป็นวัตถุดิบสำหรับทำน้ำหอมได้ เช่น ช้างกระ อุดรซัณไฌน์ หรือ เอื้องผึ้ง ซึ่งกลิ่นหอมเหล่านี้ที่สกัดได้จากธรรมชาติพบน้อยมาก ส่วนใหญ่เป็นสารเคมีสังเคราะห์ที่นำมาแต่งกลิ่นให้มีลักษณะคล้ายคลึงกัน

กลิ่นหอม ของเอื้องช้างกระ

ดอกไม้ กลิ่นหอม ของ เอื้องช้างกระ ชื่อวิทยาศาสตร์ : Rhynchostylis gigantea Rhynchostylis (ริง-โค-สไตล์-ลิส) มีความหมายแยกตามคำได้ดังนี้ Rhyncho หมายถึง จะงอย และ Stylis หมายถึง เส้าเกสร เมื่อนำสองคำมารวมกันจะหมายถึง กล้วยไม้ชนิดที่มีเส้าเกสรคล้ายดั่งจะงอยปากนก นั่นเอง คำว่า gigantea หมายถึง ใหญ่มาก รวมกับความหมายของ ริงโค เข้าไปได้ความหมายใหม่ว่า กล้วยไม้ที่มีจะงอยปากเหมือนนกที่ใหญ่มาก นั่นเอง “ช้างกระ” กล้วยไม้ป่าที่มีดอกสวย และ หอม จะเริ่มหอมตอนสาย ๆ และ จะหอมตลบอบอวล ในตอนใกล้ ๆ เที่ยง แต่ดอกจะบานอยู่ราว 2 -3 อาทิตย์ ก็โรยแล้ว ชาวบ้านเรียกกล้วยไม้ช้างกระ เป็นภาษาพื้นเมืองว่า “เอื้องต๊กโต”

กลิ่นหอม ของเอื้องอุดรซัณไฌน์

กลิ่นหอม ของเอื้องอุดรชัณไฌน์ นอกจากชื่อสุดไพเราะ และ กลิ่นแสนหอมแล้ว อุดรซันไฌน์ ยังเป็นกล้วยไม้พันธุ์ลูกผสมที่เป็นหนึ่งในความภาคภูมิใจของชาวจังหวัดอุดรธานี เพราะกล้วยไม้พันธุ์นี้เกิดจากการคิดค้นผสมสายพันธุ์โดยเกษตรกรชาวจังหวัดอุดรธานี ประดิษฐ์ คำเพิ่มพูน เมื่อปี พ.ศ. 2520 กล้วยไม้อุดรซันไฌน์ (Udon Sunshine Or chid) หรือ พันธุ์นางสาวอุดรซันไฌน์ เกิดจากการผสมพันธุ์ระหว่างแวนด้า (Vanda) ได้แก่ แวนด้า เทอเรส (ใบกลม) แวนด้า อินซิกนิส (ใบแบน) แวนด้า สามปอยดง (ใบแบน) และ โจเซฟฟิน แวนเบอร์โรว(Josephine Van Berrow) เป็นต้นแม่ เริ่มให้ดอกในราวปี พ.ศ.2530 และ ได้รับการจดลิขสิทธิ์ที่สมาคมกล้วยไม้โลกประเทศอังกฤษ ในปี พ.ศ.2531 ลักษณะเด่นของอุดรซันไฌน์คือ เป็นกล้วยไม้ที่ไม่มีเกสร และ น้ำหวาน แต่มีกลิ่นหอมรัญจวนแบบไทย ๆ ดอกกล้วยไม้จะให้กลิ่นหอมออกมาจากกลีบดอกในช่วงเช้าตรู่ จนถึงราวบ่ายโมง ต่อมากลิ่นจะเปิด – ปิดในช่วงเวลาดังกล่าว จนกว่าดอกจะเหี่ยวแห้งไป นอกจากดอกจะให้ความหอมเป็นพิเศษแล้ว ยังสามารถเปลี่ยนสีได้ถึง 3 สีคือ เมื่ออากาศเย็นจัดระหว่าง 10 – 15 องศาเซลเซียส ดอกจะเป็นสีแดงสดใส เมื่ออุณหภูมิ 15 – 20 องศาเซลเซียส ดอกจะเป็นสีทอง ถ้าอุณหภูมิสูงขึ้นมากกว่านี้ ดอกจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองสด แต่กลิ่นยังคงที่เหมือนเดิม

กลิ่นหอม ของเอื้องผึ้ง

กลิ่นหอม ของเอื้องผึ้ง ด้วยลักษณะกลิ่นหอมหวานอันพิเศษราวกับน้ำผึ้ง เอื้องผึ้ง จึงถูกขนานนามอีกชื่อว่า Honey fragrant ซึ่งกลิ่นของมันได้รับความสนใจเป็นอย่างมากจากนักสกัดกลิ่น เพื่อนำไปใช้เป็นน้ำหอมอันล้ำค่าในยุค ลักษณะต้นของ เอื้องผึ้ง จะมีผิวลำลูกกล้วยที่คล้ำคือมีสีเขียวเข้ม ใบมีลักษณะกลมรี และ หนา  และ ที่ดูง่ายที่สุด 1 ลำลูกกล้วยจะมีเพียง 1 ใบเท่านั้น เอื้องผึ้ง จะให้ดอกเร็วกว่าเอื้องคำ ดอก เอื้องผึ้ง จะออกดอกในช่วงเดือน กุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายน ดอกมีกลิ่นหอมแรงในช่วงกลางวัน สีเหลืองสดใส ช่อห้วยย้อยชลงยาวตั้งแต่ 15 – 40 ซ.ม. มีจำนวนดอกไม่แน่นจนเกินไป และ พลิ้วไหวได้ง่ายยามต้องลม ดอกบานเต็มที่ขนาด 2 – 3 ซ.ม. แรกบานจะมีสีเหลืองอมเขียว ระยะต่อ ๆ มาสีจะเข้มขึ้น จนเป็นสีเหลืองอมส้มแสด ดอกของ เอื้องผึ้ง บานได้นานสุดราว ๆ 4 – 5 วันนับจากวันที่บานได้เต็มที่แล้ว แต่หากดอกของเอื้องผึ้งถูกน้ำจะบานได้เพียง 2 – 3 วันเท่านั้น เนื่องจากเป็นกล้วยไม้ที่เลี้ยงไม่ยาก ทนต่ออากาศร้อน และ เป็นที่รู้จักแพร่หลายในประเทศไทย เอื้องผึ้ง จึงเป็นกล้วยไม้อีกชนิดที่เป็นที่นิยมเป็นอย่างมากในบ้านเรา แต่กลับกันเอื้องผึ้ง ในธรรมชาติ ลดลงไปกว่า 60% ในผืนป่าภาคเหนือ ซึ่งทำให้ประชากรของมันเบาบางลงกว่าแต่ก่อนอย่างน่าตกใจ !

กลิ่นหอม สำหรับกลิ่นหอมของ กล้วยไม้ที่เราได้นำมาให้ ทุกท่านได้รู้จักกันในวันนี้นั้น เป็นเพียงส่วนหนึ่งของกล้วยไม้ที่มีกลิ่นหอมซึ่งเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ของกล้วยไม้ นั่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นดอกที่สวยงาม ซึ่งเป็นเสน่ห์ของกล้วยไม้แล้ว กลิ่นหอมนี่ก็เป็นสิ่งที่น่าเย้ายวน ชวนหลงใหลเช่นกัน ด้วยกลิ่นหอมที่พิเศษนี้ ได้รับความสนใจเป็นอย่างมากจากนักสกัดกลิ่น เพื่อนำไปใช้เป็นน้ำหอมอันล้ำค่าในยุค

Facebook
Twitter
LinkedIn