เอื้องอั่วพวงมณี คาลันเท calanthe คาลันเท เป็นกล้วยไม้พื้นเมืองของเรานี่เองบางท่านเรียกกล้วยไม้ชนิดนี้ว่า เอื้องน้ำเต้า เนื่องจาก หัวของเจ้า คาลันเท ดันไปมีรูปร่างคล้ายน้ำต้นนี่เอง จึงกลายเป็นที่มาของชื่อที่หลายคนชอบเรียกกัน พบได้ในป่าที่อุดมสมบูรณ์ในประเทศไทย ของเราตั้งแต่เหนือจรดใต้ มันมีเขตกระจาย พันธุ์ในทวีปเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ จึงไม่น่าแปลกใจ ที่เราจะพบคาลันเทได้แทบทุกภาคในบ้านเรา
ลักษณะโดยทั่วไป ของเอื้องอั่วพวงมณี คาลันเทจะมีหัวโผล่ออก มาจากดินให้เราเห็นเป็นจุกเหมือนกับหัวน้ำต้น หัว ของคาลันเทจะทำหน้าที่เก็บอาหารเช่นเดียวกับพืชที่มี หัวใต้ดินทั่วไป แต่คาลันเทบางชนิดก็ไม่มีหัว
ฤดูกาลให้ดอก ของเอื้องอั่วพวงมณี คาลันเทมีฤดูกาลให้ดอกที่ยาวนานมาก ให้ดอกตั้งแต่หลังฤดูฝนเป็นต้นไป ราว ๆ สิงหาคม – กุมภาพันธ์ ของอีกปีกันเลยทีเดียว 1 กอ จะให้ดอกเพียงครั้งเดียว แต่ละพื้นที่ และ ชนิดพันธุ์ซึ่งจะให้ดอกแตกต่างกันไป ดอกของ คาลันเท ใน 1 ช่อดอก จะทยอยบานได้เป็นเดือน ๆ
ลักษณะดินที่ เอื้องอั่วพวงมณี คาลันเท calanthe โปรดปราน
เอื้องอั่วพวงมณี คาลันเท calanthe ดินที่คาลันเทโปรดปรานจะเป็นดินร่วนปนใบไม้ผุ การปลูกเรามักเลียนแบบธรรมชาติโดยผสม มะพร้าว สับลงไปกับดินมาก ๆ เอาแบบว่าเทน้ำลงไปแล้ว น้ำ ไหลออกก้นกระถางได้ทันทีจะดีที่สุด หากคุณปลูก คาลันเท โดยใช้ดินทั้งหมด ดินจะกักเก็บน้ำเป็นจำนวนมากทำให้การละบายน้ำเป็นไปด้วยช้า น้ำอาจ จะขังอยู่ในกระถางอยู่นาน ซึ่งเป็นผลทำให้หัวของ คาลันเท เน่าได้นั่นเอง ดังนั้น เทคนิคการปลูกคาลันเท เราจำ เป็นต้องหาวัสดุปลูกอื่นผสมลงไปด้วย หากคุณเลือกใช้กาบมะพร้าวปลูกคุณควรแช่กาบมะพร้าวสับที่ได้มานั้นลง ในน้ำทิ้งไว้อย่างน้อย 2-3 คืน เพื่อให้ยางมะพร้าวเจือจางลง และ ทำให้กาบมะพร้าวกักเก็บความชื้นได้มากขึ้น หาก คุณไม่แช่กาบมะพร้าว ยางของมะพร้าวจะเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้การเจริญเติบโตของ คาลันเท หยุดชะงักลง
สำหรับเรื่องของแสง คาลันเท ไม่ชอบพื้นที่ที่มีแสงสว่างจัด ควรหลีกเลี่ยงอย่าวางกระถางคาลันเทในบริเวณที่มีแดด ลงตรง ๆ พื้นที่ที่เหมาะสมคือสภาพแสงรำไร
การขยายพันธุ์ เอื้องอั่วพวงมณี คาลันเท calanthe
เอื้องอั่วพวงมณี คาลันเท calanthe การขยายพันธุ์ สามารถทำได้ 3 วิธีดังนี้
- การหักจุกที่หัว ไปชำ หรือ จะแยกหัวก็ได้
- การเพาะเมล็ด คาลันเทถือฝักเพียง 3-4 เดือนเท่านั้น เมื่อฝักของคาลันเทแตกออก ลองเคาะเมล็ดแก่นี้ลงบน กระถางที่เราปลูกคาลันเท พอระยะเวลาผ่านไป เมล็ดเหล่านี้จะงอกเป็นคาลันเทต้นใหม่ แต่ว่าจะงอก เพียง 2 – 3 ต้นเท่านั้น เว้นเสียแต่ว่าสภาพโรงเรือนของคุณจะเหมาะสมกับคาลันเทจริง ๆ ถึงจะยอมงอกออกมาหลาย ต้นให้ชมเชย
- การเพาะเมล็ด โดยการส่งแล็ปกล้วยไม้ การเพาะคาลันเทวิธีนี้ คุณต้องเก็บฝักคาลันเทก่อนที่ฝักจะแตกออก โดยต้องนับวันนับคืน และ กะระยะเวลาให้พอเหมาะ แล้วจึงนำส่งเพาะพันธุ์ในแล็ปกล้วยไม้ตามสถานที่ต่าง ๆ หลัง จากส่งเพาะแล้วอาจจะใช้เวลาเป็นปี กว่าจะกลายเป็น คาลันเท ต้นใหม่ แต่ด้วยวิธีนี้ คุณจะได้ลูกไม้ คาลันเท ออก มาเป็นจำนวนมหาศาล แน่นอน
การดูแล เอื้องอั่วพวงมณี คาลันเท calanthe
เอื้องอั่วพวงมณี คาลันเท calanthe สำหรับลูกคาลันเทออกขวดใหม่ สามารถใช้กาบมะพร้าวสับนำมาโรยในตะกร้า รดน้ำพอชื้น นำลูกคาลันเทลง ปลูก โดยให้กาบมะพร้าวสับกลบเพียงแค่รากของ คาลันเท เท่านั้น ห้ามฝังโคนลึก ไม่เช่นนั้น คาลันเทจะเน่าตายได้ ให้อนุบาลแบบนี้ไปจนกว่าคาลันเทจะเริ่มงอกรากใหม่ หรือ ผลิใบใหม่ อาจกินเวลายาวนานหลายเดือน ผู้เลี้ยงต้องอดทน และ หมั่นคอยสังเกตเสมอ เมื่อต้นเริ่มโตแล้ว ก็สามารถย้ายไปปลูกในกระถางขนาดเล็กได้
ควรนำลูก คาลันเท ปลูกในบริเวณที่ร่มรำไร อย่าวางในที่ร่มทึบจนเกินไป และ พยายามเลี่ยงแสงที่จัด หรือ แดด ฟาดลงตรง ๆ
– การให้น้ำลูกไม้คาลันเท ให้รดน้ำ 3 – 4 วัน / ครั้ง พยายามอย่าให้เครื่องปลูกแฉะจนเกินไป พยายามให้เครื่องปลูก ชื้น หากในระหว่าง 3 – 4 วันนี้สังเกตว่าเครื่องปลูกแห้งเกินไปก็ให้รดน้ำเพิ่มได้ สำหรับคาลันเทที่โตแล้ว ให้รดน้ำ 1 – 2 วัน ต่อ 1 ครั้ง อย่าให้แฉะจนเกินไป ไม่เช่นนั้นหัว คาลันเท จะเน่าได้ การให้ปุ๋ย ควรให้สัปดาห์ละ 1 ครั้ง
– สำหรับกล้วยไม้รุ่นส่วนใหญ่ มักจะให้ปุ๋ยสูตรเสมอ และ กลางสูงสลับกันไป หากเป็นไม้เล็กอาจจะให้สูตรหน้าสูง เพื่อกระตุ้นให้โตไว แต่สำหรับไม้เล็กแล้ว ควรให้ปุ๋ยบาง ๆ หากให้ปุ๋ยแรงเกินไป กล้วยไม้อาจตายได้
เอื้องอั่วพวงมณี คาลันเท calanthe เป็นกล้วยไม้พื้นเมืองไทย บ้างก็เรียกกล้วยไม้ชนิดนี้ว่า เอื้องน้ำเต้า มีเขตกระจาย พันธุ์ในทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พบได้ในป่าที่อุดมสมบูรณ์ในประเทศไทย ตั้งแต่เหนือจรดใต้ คาลันเทจะมีหัวโผล่ออกมาจากดินเป็นจุกเหมือนกับหัวน้ำเต้า หัวทำหน้าที่เก็บอาหารเช่นเดียวกับพืชที่มีหัวใต้ดินทั่วไป แต่คาลันเทบางชนิดก็ไม่มีหัว ชอบดินร่วนปนใบไม้ผุ การปลูกมักเลียนแบบธรรมชาติโดยผสม มะพร้าว สับลงไปกับดินมาก ๆ หากปลูกโดยใช้ดินทั้งหมด ดินจะกักเก็บน้ำเป็นจำนวนมากทำให้การระบายน้ำเป็นไปได้ช้า มีผลทำให้หัวของคาลันเทเน่าได้ พื้นที่ที่เหมาะสมคือสภาพแสงรำไร