เอื้องสายม่วง ไม้รุ่น หรือ เอื้องครั่ง (Dendrobium lituiflorum Lindl)

เอื้องสายม่วง ไม้รุ่น เอื้องสายม่วง-ไม้รุ่น

เอื้องสายม่วง ไม้รุ่น ชื่อทางวิทยาศาสตร์คือ Dendrobium lituiflorum Lindl บางท่านเรียกกันว่า สายครั่งยาว มีแหล่งกระจายพันธุ์ในบริเวณ ประเทศไทย พม่า ลาว และ อินเดีย ขึ้นอยู่บนความสูงที่ระดับ 300 เมตรจากระดับน้ำทะเลขึ้นไป ในประเทศไทย มีบันทึกไว้ว่า พบ เอื้องสายม่วง ในเขตภาคเหนือ และ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในบริเวณป่าดิบ และ ป่าสนเขา สำหรับสีสันของ สายม่วง นั้น มีทั้งสีม่วงเข้มไปจนถึงม่วงอ่อน ๆ บางครั้งเรามักพบ สายม่วง ที่มีปากเป็นสีเหลืองหรือดำ แทนที่จะเป็นสีม่วงเข้มแทน เช่นเดียวกับเอื้องสายชนิดอื่น ๆ สายม่วง จะผลัดใบทิ้งเมื่อเริ่มเข้าฤดูหนาว และ พักตัวอยู่อย่างนั้นไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งถึงฤดูร้อน ราว ๆ ช่วงเดือน กุมภาพันธ์ – เมษายน ถึงจะมีดอกให้ชม นับว่าใช้วลาพักตัวอยู่นานถึง 2 – 4 เดือนเลยทีเดียว

ลักษณะที่โดดเด่นของ เอื้องสายม่วง ไม้รุ่น หรือ เอื้องครั่ง

เอื้องสายม่วง ไม้รุ่น มีลักษณะเป็น กล้วยไม้อิงอาศัย ลำต้นรูปคล้ายแท่งดินสอกลม ห้อยลง ยาว 50 – 70 ซม. เส้นผ่านศูนย์กลาง 1 – 1.8 ซม. ใบ รูปไข่แกมขอบ ขนาน กว้าง 1.5 – 2 ซม. ยาว 7 – 10 ซม. ทิ้งใบเมื่อผลิดอก ดอก ออกเดี่ยว หรือ เป็นช่อแขนงสั้น ๆ ตามข้อ กลีบเลี้ยง และ กลีบดอกสีม่วงอมแดง กลีบปาก สีขาวมีขนนุ่ม และ มีแต้ม สีม่วงอมแดงเข้มที่ขอบกลีบ และ กลางกลีบ ดอกบานเต็มที่ กว้าง 6 ซม. พบตามป่าดิบ ที่ระดับความสูง 300 – 800 เมตร ทาง ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันตก ออกดอกช่วงเดือนกุมภาพันธ์ – มีนาคม ของทุกปี

การเลี้ยง เอื้องสายม่วง ไม้รุ่น หรือ เอื้องครั่ง

เอื้องสายม่วง ไม้รุ่น การเลี้ยงดู เอื้องสายม่วง หลาย ๆ ต้นพบว่า สายม่วง เป็นกล้วยไม้ตระกูลหวาย ที่ไม่ชอบเครื่องปลูกที่อมน้ำไว้มาก และ ทำให้แฉะตลอดวันอย่าง สเฟกนั่มมอส หรือ รากชายผ้าสีดา นั้นก็เพราะ สายม่วง ชอบแห้งมากกว่าชื้นเสียอีก ควรใช้เครื่องปลูกที่เป็นวัสดุ กักเก็บความชื้นสูงอย่าง สเฟกนั่มมอส กาบมะพร้าว หรือ รากชายผ้า ในปริมาณที่ 20 – 30% และ ที่เหลือเป็นถ่านหรือเศษไม้แทน ห้ามเด็ดขาดคือ มะพร้าวตุ้ม เพราะมะพร้าวตุ้มจะทำให้รากของ สายม่วง ขาดอากาศหายใจตายได้ อย่าลืมว่า เอื้องสายม่วงนั้นมีรากแบบกึ่งอากาศ ปริมาณของแสงที่ควรได้รับของ เอื้องสายม่วง นั้นควรอยู่ที่ 40 – 60% ช่วงเวลาต้องห้ามที่ไม่ควรได้รับแสงจากดวงอาทิตย์เต็ม ๆ คือช่วง หลัง 11 โมงไปจนถึง บ่าย 2 ครึ่ง เพราะแสงแรงมาก ไม่ว่ากล้วยไม้ต้นไหน ๆ ก็ทนไม่ได้ ยกเว้น ช้างน้าว และ จำพวกทนแดดเท่านั้น

การเลี้ยง เอื้องสายม่วง ไม้รุ่น กรณีไม้ออกขวด และ ไม้ที่ได้มาเป็นต้นที่โตแล้ว

เอื้องสายม่วง ไม้รุ่น เป็นกล้วยไม้ตระกูลหวาย ที่เลี้ยงไม่ยาก เนื่องจากเป็นกล้วยไม้ที่ทนสภาพอากาศร้อนได้ และ ให้ดอกในพื้นที่ราบได้เมื่อถึง ฤดูกาล การดูแลจึงไม่ยุ่งยากนัก โดยปฏิบัติง่าย ๆ ดังนี้

  • กรณีไม้ออกขวด

– ให้นำลูกไม้ออกขวดนั้น ปลูกลงในสเฟกนั่มมอส หรือ วัสดุที่มีสะสมความชื้นได้ทันที เนื่องจากรากของกล้วยไม้สกุลหวาย จะแห้งได้โดยง่าย หากนำผึ่งในตะกร้าโดยไม่มีเครื่องปลูก จะแห้งตายในที่สุด

– หลังจากนี้ให้ดูแลควบคุมความชื้นให้ดี อย่าให้แฉะจนเกินไป ให้ลูกไม้อยู่บริเวณที่มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก ไม่อับ

– ฉีดพ่นปุ๋ยอ่อน ๆ ได้ ใช้สูตรเสมอ สลับกับสูตรตัวหน้าสูง เช่น 21 – 21 – 21 สลับกับ 30 – 20 – 10

– หลังจากผ่านไป 8 – 9 เดือน ลูกไม้จะโตขึ้นมาก และ เริ่มทิ้งใบ อย่าตกใจ เนื่องจากเข้าสู่ฤดูพักตัวก่อนให้ดอก เมื่อพ้นปีแล้ว ลูกไม้ที่ทิ้งใบนี้จะแทงหน่อใหม่ หากกินอิ่มหนำสำราญดี หน่อใหม่จะโตกว่าเดิมหลายเท่าตัว และ พร้อมให้ดอกในปีถัดไป

หมายเหตุ * ในฤดูฝน พึงระวัง หากฝนตกทุกวัน ลูกไม้อาจจะเน่าตายได้ ให้พ่นยากันราอย่างน้อย 2-3 สัปดาห์/ครั้ง

  • กรณีไม้ที่ได้มาเป็นต้นโตแล้ว

– ให้นำ เอื้องสายม่วง ปลูกติดขอนไม้ หรือ กระเช้า หากปลูกติดขอนให้ห้อยหัว สายหลวง ลง การปลูกติดขอนไม้ต้อง มีกาบมะพร้าวที่แช่น้ำมาแล้วอย่างน้อย 2 คืน มาแปะรองระหว่างรากกับขอนไม้ และ มัดให้แน่น ความชื้นจากกาบ มะพร้าวจะช่วยให้รากใหม่แตกเร็วขึ้น และ โตเร็วกว่านำ เอื้องสายม่วง แปะลงบนขอนไม้เปล่า ๆ 

– หากลงกระเช้า ให้จับลำต้นขึ้น ใช้ฟิว หรือ เชือกฟาง บรรจงมัดลำที่ตั้งขึ้น ให้ยึดกับลวดแขวน เครื่องปลูกเป็นมะพร้าวสับ ที่ผ่านการแช่น้ำมาแล้วอย่างน้อย 2 คืน จะช่วยให้รากแตกตาใหม่เร็วขึ้น

เอื้องสายม่วง ไม้รุ่น เอื้องสายม่วง หรือ เอื้องครั่งสายยาวเป็นกล้วยไม้อีกชนิดในกลุ่มเอื้องสาย ซึ่งมักจะออกดอก ช่วงต้นปี ราวเดือน กพ. – เมย. ก่อนออกดอกจะทิ้งใบเหลือแต่ลำลูกกล้วย ขนาดลำลูกกล้วย 0.5 ซม. ยาว 30 ซม. ดอกจะออกที่ปลายตามข้อ จำนวน 2-3 ดอกต่อช่อ ดอกตูมจะมีสีม่วงอมชมพู และ สีม่วงอ่อน ๆ แตกต่างจาก เอื้องสายไหมที่มีสีเขียว ขนาดดอกจะเท้ากัน เมื่อบานเต็มที่ขนาด 4 – 5 ซม. ถือได้ว่า เป็นกล้วยไม้หายาก ตามป่าในธรรมชาติ ปัจจุบันเริ่มหาได้น้อยแล้ว และ มีราคาค่อนข้างสูง จัดเป็นเอื้องสายดอกสวย ที่เหล่านักเลี้ยงกล้วยไม้ ยกให้เป็นกล้วยไม้ที่ดอกสวยอันดับต้น ๆ ในบรรดากล้วยไม้ตระกูลหวาย ส่วนชื่อที่เรียกบางท่านเรียกกันว่า เอื้องครั่ง ในประเทศไทย พบ เอื้องสายม่วง ในเขตภาคเหนือ และ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในบริเวณป่าดิบ และ ป่าสนเขา

Facebook
Twitter
LinkedIn