ตารางอายุฝักกล้วยไม้ สำหรับการเพาะกล้วยไม้จากฝักนั้น โดยทั่วไป สวนกล้วยไม้จะทำการจดบันทึกทันทีที่ได้ผสมฝักกล้วยไม้นั้น ๆ และ เริ่มนับวันเวลา หลังจากติดฝักไปแล้ว ซึ่งหลัก ๆ อายุฝักโดยเฉลี่ยจะเป็นไปตามตารางด้านล่างต่อไปนี้
สกุล | ระยะเวลา (เดือน) |
| 7 – 10 7 – 10 14 – 18 10 – 14 8 – 12 7 – 10 8 – 12 4 – 5 1 – 1 1/2 |
ตาราง อายุการถือฝักของกล้วยไม้บางสกุล ระยะเวลาตั้งแต่มีการถ่ายละอองเกสรจนกระทั่งฝักแก่
ในกรณีที่ดอกของต้นที่จะนำมาใช้เป็นพ่อพันธุ์ บานไม่พร้อมกับ ดอกของต้นแม่พันธุ์ สามารถที่จะทำการเก็บเกสรตัวผู้ไว้ได้ โดยนำเอาเกสรตัวผู้มาเก็บในขวดขนาดเล็ก หรือ ปลอกหุ้มยา (capsule) พร้อมทั้งเขียนป้ายไว้ เก็บไว้ในตู้เย็นที่แห้ง อาจนำไปใส่ใน desiccator ก่อนแล้วนำไปเก็บไว้ในตู้เย็น สามารถเก็บรักษาเกสรตัวผู้ได้เป็นปี นอกจากนั้นแล้ว ในกรณีที่กล้วยไม้มีอายุการถือฝักที่นาน การใช้เทคนิคทางการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ สามารถช่วยย่นระยะเวลาการถือฝักได้ ในบางชนิดสามารถย่นระยะเวลาได้ 3 – 4 เดือน กล่าวคือ นำฝักมาเพาะเมื่อฝักมีการพัฒนาไปได้ระยะหนึ่ง ก็สามารถตัดฝักและนำมาเพาะได้โดยไม่ต้องรอให้ฝักแก่
ตารางอายุฝักกล้วยไม้ ระบบการตั้งชื่อกล้วยไม้
ตารางอายุฝักกล้วยไม้ การตั้งชื่อกล้วยไม้ มีหน่วยงานที่ทำหน้าที่รับผิดชอบการตั้งชื่อกล้วยไม้อยู่ หน่วยงานนั้นมีชื่อว่า International Orchid Commission ซึ่งได้แบ่งออกเป็น 3 หน่วยงานย่อย ทำหน้าที่ในการจำแนกพันธุ์กล้วยไม้ การตั้งชื่อกล้วยไม้ และการขึ้นทะเบียนพันธุ์กล้วยไม้ ในการตั้งชื่อกล้วยไม้ โดยทั่วไปแล้วทำได้อยู่ 2 ระบบด้วยกันคือ
- ICBN (International Code of Botanical Nomenclature) เป็นการตั้งชื่อกล้วยไม้ในระบบทางพฤกษศาสตร์ ที่ใช้กันเป็นระบบสากล มีชุดชื่อประกอบด้วย ชื่อสกุล (genus) ตามด้วยชื่อชนิด (species) โดยชื่อสกุลเขียนขึ้นต้นด้วยตัวพิมพ์หรือเขียนใหญ่ ตามด้วยชื่อชนิดเขียนด้วยตัวเล็กแล้วขีดเส้นใต้กำกับ หรือพิมพ์โดยใช้ตัวเอน หรือที่รู้จักกันในชื่อวิทยาศาสตร์ (Latin name) เช่น Dendrobium lindleyi
- ICNCP (International Code of Nomenclature for Cultivated Plant) เป็นการตั้งชื่อกล้วยไม้ที่มนุษย์ได้ทำการคัดเลือก หรือ ได้มาจากการผสมพันธุ์
ตารางอายุฝักกล้วยไม้ สาเหตุที่ไม่สามารถเก็บฝักได้ มีดังนี้
ตารางอายุฝักกล้วยไม้ หลังจากการทำการผสมพันธุ์กล้วยไม้แล้ว ไม่สามารถเก็บฝักได้อาจมีสาเหตุมาจาก
- ลักษณะทางพันธุกรรม ที่ไม่สามารถเข้ากันได้ของคู่ผสมที่เลือกใช้ เนื่องมาจากความห่างไกลของลักษณะทางพันธุกรรม เช่น การผสม Dendrobium X Vanda หรืออาจเกิดมาจากการที่เกสรตัวผู้เป็นหมัน อันเนื่องมาจากจำนวนชุดของโครโมโซมที่ผิดปกติ เช่น 3X หรือ 5X เป็นต้น
- ต้นที่คัดเลือกมาเป็นต้นพ่อแม่พันธุ์ไม่เหมาะสม เข้ากันไม่ได้ อาจจะเป็นในรูปโครงสร้างของเกสรตัวผู้หรือเกสรตัวเมียก็ได้
- สภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม เช่นฝนตกชุก อากาศหนาวเย็น หรือร้อนจนเกินไป
- มีโรค หรือ แมลงรบกวน
- ให้ปุ๋ย หรือ สารเคมีเข้มข้นมากเกินไป
- น้ำที่ใช้อาจมีค่าความเป็นกรดเป็นด่างไม่เหมาะสม
ตารางอายุฝักกล้วยไม้ ข้อควรปฏิบัติหลังจากการ ผสมพันธุ์กล้วยไม้แล้ว
ตารางอายุฝักกล้วยไม้ ข้อควรปฏิบัติหลังจากการ ผสมพันธุ์กล้วยไม้แล้ว มีดังนี้
- ในการผสมพันธุ์กล้วยไม้ ไม่ควรให้ต้นที่ใช้เป็นแม่พันธุ์ถือฝักมากเกินไป การถือฝักมาก ทำให้อาหารที่ไปเลี้ยงต้นไม่เพียงพอ ฝักมีการพัฒนาได้ไม่ดี ทำให้ฝักหลุดร่วงได้
- กล้วยไม้บางชนิดที่มีความต้องการเรื่องเครื่องปลูก ต้องให้เครื่องปลูกให้เพียงพอ และ ช่วยพยุงต้นให้อยู่ได้
- ควรจะมีการป้องกันฝน ไม่ให้ฝนตกลงมาโดนฝัก หรือ แม้แต่การรดน้ำ ก็ไม่ควรให้น้ำโดนฝัก
- ดูแลต้นแม่พันธุ์ให้แข็งแรงสมบูรณ์อยู่เสมอ
ตารางอายุฝักกล้วยไม้ หลังจากการผสมเกสรไปได้ประมาณ 3 – 4 วัน สามารถตรวจสอบได้ว่า การผสมพันธุ์กล้วยไม้ทำได้สำเร็จ หรือ ไม่ โดยดูจากการขยายขนาดของเส้าเกสร ถ้าการผสมเกิดขึ้นได้ เส้าเกสรจะมีการขยายขนาด และ ต่อมาจะสังเกตเห็นว่าส่วนของรังไข่ (ก้านดอกย่อย หรือ pedicel) มีการเปลี่ยนสีจากขาวเป็นเขียว และ มีการขยายขนาดไปเรื่อย ๆ ในกล้วยไม้ โดยทั่วไปแล้ว การปฏิสนธิจะใช้เวลาค่อนข้างนาน เนื่องมาจากการงอกของละอองเกสรตัวผู้ใช้เวลานานมาก ในสกุล Vanda ระยะเวลาการงอกของละอองเกสรตัวผู้ใช้เวลาประมาณ 2 เดือน และ ใช้เวลาในการพัฒนาของฝักอีกประมาณ 7 – 10 เดือน ฝักถึงจะแก่ พร้อมที่จะเก็บเกี่ยวฝักและนำเมล็ดไปเพาะได้ กล้วยไม้บางชนิดเช่นเอื้องดินใบหมาก (Spathoglosttis) ใช้เวลาตั้งแต่การถ่ายละอองเกสรจนกระทั่งฝักแก่เพียง 30 – 45 วันเท่านั้น