การออกขวดกล้วยไม้ การดูแลลูกไม้หลังออกขวด การออกขวดกล้วยไม้ หมายถึง กระบวนการนำกล้วยไม้ที่ขวดที่ได้จากการเพาะพันธุ์เทียม มาทุบขวดให้แตกออก และ นำลูกไม้ในขวดมาผึ่ง และ ปลูกใหม่ในภาชนะใหม่ ที่เหมาะสมกับชนิดของกล้วยไม้ชนิดนั้น ๆ ซึ่งมีผลทำให้ กล้วยไม้เติบโตได้ตามปกติในสภาพแวดล้อมภายนอก จะรู้ได้อย่างไรว่ากล้วยไม้ของเรา พร้อมออกขวดแล้ว ! กล้วยไม้ที่พร้อมออกขวดแล้วนั้น จะมีขนาดใบที่ยาวชนกับเพดานขวด หากพลิกดูก้นขวด จะพบว่า รากของกล้วยไม้นั้น ขดแน่นอยู่เต็มขวด หรือ ในขวดมีปริมาณวุ้นน้อยลง ไม่เพียงพอแก่ลูกไม้ในขวด
การออกขวดกล้วยไม้ การดูแลลูกไม้หลังออกขวด กรณีกล้วยไม้ที่ต้องนำออกขวดก่อนเวลา
การออกขวดกล้วยไม้ การดูแลลูกไม้หลังออกขวด กรณีที่ต้องนำกล้วยไม้ออกขวดก่อนเวลา มีดังนี้
- ลูกไม้ ไม่ยอมโต ถึงแม้จะทิ้งไว้ในขวดนานแล้ว กรณีนี้ให้คิดเลยว่า วุ้นใช้ไม่ได้ จึงควรนำออกมาเลี้ยงด้านนอกจะดีกว่า
- ลูกไม้ในขวดเริ่มมีอาการใบช้ำ หรือ เน่า
- ในขวดมีเชื้อรา สีขาว ๆ หรือ สีดำ ปะปน
- ลูกไม้ในขวด พลิกคว่ำ วุ้นแตกกระจาย ไม่เป็นกลุ่มก้อน
กรณีที่กล่าวถึงข้างต้น ให้เรานำกล้วยไม้ออกขวดได้เลย โดยไม่ต้องรอให้ต้นกล้วยไม้ชนขวด หากรีรอ เหตุการณ์ที่ตามมาคือ กล้วยไม้เหล่านั้น พร้อมตายยกขวด แน่นอน
การเตรียมอุปกรณ์ การออกขวดกล้วยไม้ การดูแลลูกไม้หลังออกขวด
การออกขวดกล้วยไม้ การดูแลลูกไม้หลังออกขวด ให้เตรียมอุปกรณ์ง่าย ๆ ดังนี้
- ตะกร้า กี่ใบก็ได้ เอาไว้ผึ่งลูกไม้
- ลวดเกี่ยว (ใช้กรณีออกขวดหวาย/แวนดาที่รากไม่พันกันจนยุ่งเหยิง )
- ค้อน ไม่ต้องใหญ่มาก เอาแค่ทุบขวดแตกได้
- หนังสือพิมพ์ เอาไว้พันขวดตอนทุบครับ ป้องกันไว้
- ขาดไม่ได้เลย ไม้ขวดที่จะนำมาออกขวด
- กะละมัง หรือ ถังน้ำก็ได้
วิธีการออกขวด ง่าย ๆ ใช้ได้กับกล้วยไม้ทุกสายพันธุ์ มีวิธีการดังนี้
- เตรียมกะละมังสะอาด ใส่น้ำเปล่าสะอาด สำหรับล้างวุ้น
- เขียนป้ายชื่อ สำหรับไม้ที่เราจะออกขวด บางท่านจะเขียนวันที่ , ราคาซื้อ ติดไว้ด้วยก็ได้
- นำขวดที่ต้องการออก มาห่อกระดาษ เตรียมพร้อมทุบ ด้วยค้อนที่เห็น สาเหตุที่ต้องห่อกระดาษนี้ ก็เพื่อให้จับได้สะดวก และ กันเศษแก้วบาดมือ
- เขย่าให้กล้วยไม้ในขวด มาด้านหน้า เพื่อให้มีพื้นที่ในการทุบขวดโดยไม่เป็นอันตราย ต่อลูกไม้ในขวด จากนั้นคว่ำขวดลงให้วุ้นอยู่ด้านบน
- นำค้อนที่ได้เตรียมไว้เคาะสันก้นขวด ด้วยแรง และ จังหวะที่พอเหมาะ จะทำให้หลุดออกมาทั้งแผ่นพอดี
- จัดการเทต้นกล้วยไม้ออกจากขวด จากนั้นนำไปล้างในกะละมังที่เตรียมไว้ ข้อสำคัญ ล้างวุ้นออกให้หมด จากนั้น นำมาเรียงผึ่งในตะแกรง หรือ ตะกร้า แสงประมาณ 30 – 40 %
- โดยช่วง 2 สัปดาห์แรกนี้ ไม่ควรให้โดนฝน แต่รดน้ำปกติ เช้า – เย็น และ เริ่มให้ปุ๋ยได้ในสัปดาห์ที่ 3 เป็นต้นไป
การออกขวดกล้วยไม้ การดูแลลูกไม้หลังออกขวด มีวิธีการดูแลดังนี้
การออกขวดกล้วยไม้ การดูแลลูกไม้หลังออกขวด เคล็ดลับง่าย ๆ ในการดูแลลูกไม้หลังออกขวด มีดังนี้
- เมื่อออกขวดแล้ว หากเป็นหวาย ให้จับหนีบนิ้วทันที เพราะกล้วยไม้จำพวกหวายหากแห้งมาก มันก็จะเหี่ยว และ ตาย กล้วยไม้จำพวกหวายนั้นแห้งง่ายมาก ต้องระวังเป็นพิเศษ หากเป็นแวนด้า เข็ม ช้าง หรือ กล้วยไม้ที่มีใบ เป็นทรง V จะผึ่งในตะกร้า หรือ หนีบนิ้วก็ได้ ส่วนรองเท้านารี และ ซิมบิเดียมต้องปลูกลงในตะกร้าที่มีเครื่องปลูก ของรองเท้าในสัดส่วนที่พอเหมาะ
- ลูกไม้ ควรให้ปุ๋ยที่เจือจางกว่าไม้ที่แข็งแรงแล้ว
- การให้น้ำ รดน้ำเพียงเวลาเดียว เช่นเดียวกับการให้น้ำกล้วยไม้ทั่วไป โดยรดให้เป็นละอองคล้ายกับ สเปรย์ หรือ ละอองเบา ๆ หากลูกไม้มีไม่มากจะใช้ฟอกกี้ฉีดก็ได้
- หากเป็นไปได้ควรอยู่ในที่ที่มีหลังคากันฝน หลังคาต้องไม่ทึบมาก มีแสงลอดผ่านได้
- ห้ามวางลูกไม้ตากแดดที่แรงจัด หรือ นำไปแขวนในจุดที่ที่มีแสงแดดตอนกลางวันสาดส่องถึง หรือ สถานที่ที่ร้อน จัด มิเช่นนั้น ลูกไม้จะถูกแดดเผาจนตายได้
- พึงระวัง หนู หอยทาก และ แมลงกินพืชต่าง ๆ ให้ดี
- กรณีรองเท้านารี ระวังอย่าถูกฝนจัง ๆ บ่อย ๆ ไม่เช่นนั้น อาจเกิดโรคเน่าได้
- สำหรับคาลันเท แรก ๆ ลูกไม้อาจจะทิ้งใบไม่เหลือหลอ อย่าเพิ่งทิ้ง รอสักพักเมื่อหัวคาลันเทพักตัวได้ดีแล้วจะผลิ ใบใหม่เอง
การออกขวดกล้วยไม้ การดูแลลูกไม้หลังออกขวด ลูกไม้ที่ออกจากขวดนั้น ไม่ว่าชนิดใดก็ตาม เปรียบได้ดั่งเด็กทารกแรกเกิด ซึ่งเดิมที กล้วยไม้ที่อยู่ในขวดจะได้รับความชื้น 100% ทันทีที่ออกจากขวดแล้ว ลูกไม้ต้องทนรับสภาพกับบรรยากาศภายนอกที่มีมวลอากาศหลากหลาย และ ความชื้นที่ไม่ตายตัว ดังนั้นลูกไม้จึงต้องใช้ระยะเวลาในการปรับตัวพอสมควรเลยทีเดียว หากคุณไม่ได้ซื้อลูกไม้ที่ต้องเลี้ยงในสภาพอากาศเย็น ต้องมีลมโกรกตลอดเวลาแล้วละก็ การดูลูกไม้หลังจากออกขวดนั้นก็เป็นเรื่องง่ายดาย เพียงจับเคล็ดง่าย ๆ ที่เรากล่าวไปข้างต้น ก็จะได้ กล้วยไม้ที่สวยงามให้เชยชมกันแล้วนั่นเอง