กลอนครูกล้วยไม้ กลอน-ครู-กล้วยไม้

บทกลอนครูกล้วยไม้ ประพันธ์โดย หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล

กลอนครูกล้วยไม้ เป็นกลอนที่แต่งขึ้นโดยศิลปินแห่งชาติ คือ ท่านหม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ตัวบทกลอนเป็นการเปรียบเปรยระหว่างดอกกล้วยไม้กับความเป็นครู เป็นบทกลอนสั้น ๆ แต่ใจความนั้นลึกซึ้งและงดงาม และกลอน “กล้วยไม้ออกดอกช้า ฉันใด การศึกษาเป็นไป เช่นนั้น แต่ออกดอกคราวไร งามเด่น งานสั่งสอนปลูกปั้น” ก็ได้รับการแต่งโดย ท่านหม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ด้วยเช่นกัน มาเรียนรู้บทกลอนต่าง ๆ และความหมายของบทกลอน “กล้วยไม้มีดอกช้าฉันใด” กัน

กลอนกล้วยไม้จาก มล.ปิ่น มาลากุล

ประวัติของ หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล

หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ท่านเป็นนักเขียน นักวิชาการและนักการเมืองชาวไทย เป็นบุคคลสำคัญของโลกและศิลปินแห่งชาติ เคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม อธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาลัยวิชาการศึกษา และเป็นประธานเตรียมการจัดตั้งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในด้านวรรณกรรมท่านมีผลงานตีพิมพ์มากมาย และ กลอนกล้วยไม้ ครูก็เป็นหนึ่งในผลงานด้านวรรณศิลป์ที่โดดเด่นของท่าน

กลอนครูกล้วยไม้

กลอนกล้วยไม้ของ หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ศิลปินแห่งชาติว่าไว้ดังนี้

โคลงสี่สุภาพ กลอนกล้วยไม้

“กล้วยไม้มีดอกช้า ฉันใด

การศึกษาเป็นไป เช่นนั้น

แต่ดอกออกคราวไร งามเด่น

งานสั่งสอนปลูกปั้น เสร็จแล้วแสนงาม”

ความหมายของ บทกลอน

ความหมายของ กล้วยไม้ออกดอกช้าฉันใด การศึกษาย่อมเป็นไปฉันนั้น

เมื่อลองวิเคราะห์ทีละประโยคแล้ว ในความหมายของ “กล้วยไม้ออกดอกช้าฉันใด การศึกษาเป็นไปเช่นนั้น” คือกล้วยไม้เป็นไม้ที่กว่าจะออกดอกต้องใช้ความพยายามและการดูแลสูง บางสายพันธุ์ออกดอกเพียงปีละครั้ง บางพันธุ์กว่าจะออกดอกนั้นยากและต้องดูแลเป็นปี เหมือนกับการศึกษาที่กว่าเด็กนักเรียนจะได้เรียนรู้ มีความรู้จากหนังสือ รู้จักสังคม รู้จักคุณธรรมและความดีได้นั้น ต้องใช้เวลาศึกษาตั้งแต่โรงเรียนเนอสเซอรี่ไปจนถึงมหาวิทยาลัย ซึ่งใช้เวลาถึง 1 ใน 4 ของชีวิต และครูคือผู้อบรมสั่งสอนเด็กหลายพันชีวิตให้เติบโตเป็นอนาคตของชาติ ต้องมีความอดทนสูง คอยดูแลเอาใจใส่ และเป็นผู้ปลูกฝังความคิด ความอ่าน ให้กับเด็กทุกคน

ความหมายของ แต่ดอกออกคราวไร งามเด่น งานสั่งสอนปลูกปั้น เสร็จแล้วแสนงาม

ในความหมายของ “แต่ดอกออกคราวไร งามเด่น งานสั่งสอนปลูกปั้น เสร็จแล้วแสนงาม” คือ เมื่อไม้ออกดอกอย่างสวยงามแล้ว เปรียบเสมือนนักเรียนที่ได้รับเกียรติบัตรการจบการศึกษาในแต่ละสถาบัน และพร้อมที่จะก้าวจากรั้วออกสู่ชีวิตจริง เพื่อนำความรู้ที่เล่าเรียนนั้นมาประกอบอาชีพและทำประโยชน์ให้กับประเทศชาติ สิ่งนี้คือเป้าหมายสูงสุดของครูบาอาจารย์ กล้วยไม้ออกดอกบานเหมือนนักเรียนที่เติบโตอย่างงดงาม มีความคิด มีความรู้ มีเป้าหมายที่จะทำเพื่อสังคม นั่นคือการอบรมสั่งสอนได้ประสบความสำเร็จเป็นที่เรียบร้อย กลอนการศึกษาคือชีวิต อยากให้ชีวิตงดงามเหมือนดอกกล้วยไม้ จงศึกษาความรู้ไว้ให้มั่น

กล้วยไม้กับครู ความหมายที่ลึกซึ้งสวยงาม

จากกลอน มล.ปิ่น มาลากุล กล้วยไม้ กับครู มีจุดเริ่มต้นมาจากกล้วยไม้นั้นเป็นไม้ที่ออกดอกยาก กว่ากล้วยไม้แต่ละช่อจะผลิดอกออกผลอย่างสวยงาม ต้องใช้ความอดทนสูง ใช้เวลานานและต้องการดูแลเอาใจใส่ไม่น้อย และเป็นพืชที่อยู่ในที่สูง ทนต่อสภาพดินฟ้าอากาศ ไม่ร่วงโรยง่าย เหมือนกับชีวิตของคนเป็นครู ที่ต้องใช้ความอดทนกับนักเรียน แต่ก็ต้องใส่ใจทุกการกระทำ อบรมสั่งสอน ต้องเหนื่อยทั้งกายและใจ ความพยายามของครูเปรียบเสมือนกล้วยไม้ จึงทำให้ดอกกล้วยไม้คือตัวแทนของความเป็นครู จนกลายเป็นสัญลักษณ์ประจำวันครูที่เสียสละและลงแรงเพื่อประโยชน์ของเด็กซึ่งเป็นอนาคตของชาติ

กลอนการศึกษาคือชีวิต ดั่งเช่น กลอนกล้วยไม้ครู ของท่านหม่อมหลวงปิ่น มาลากุล คือบทกลอนที่คงอยู่ตลอดกาล แม้บทประพันธ์จะถูกแต่งเมื่อนานมาแล้ว แต่ความหมายของกลอนที่ท่านแต่งยังคงลึกซึ้งกินใจ และไม่มีวันตาย

เรียนรู้เรื่องราวต่าง ๆ ของกล้วยไม้

Facebook
Twitter
LinkedIn